Switzerland – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Apr 2024 04:27:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UBS เตรียมปลดพนักงาน 5 ระลอกในปีนี้ ตามแผนลดต้นทุน นักวิเคราะห์คาดอาจต้องปลดพนักงาน 30,000 คนเป็นอย่างน้อย https://positioningmag.com/1470486 Mon, 22 Apr 2024 01:42:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470486 ยูบีเอส (UBS) สถาบันการเงินรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์มีแผนที่จะปลดพนักงาน 5 ระลอกในปีนี้ เนื่องจากต้องการที่จะลดต้นทุน รวมถึงจำนวนพนักงานที่เพิ่มมามากเกินไปหลังจากที่ได้มีการควบรวมกิจการกับเครดิตสวิส (Credit Suisse) ในปี 2023 ที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงหนังสือพิมพ์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์อย่าง SonntagsZeitung ว่า UBS สถาบันการเงินรายใหญ่สุดของประเทศนั้นกำลังเตรียมที่จะปลดพนักงาน 5 ระลอกในปี 2024 นี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการ Credit Suisse

SonntagsZeitung ได้รายงานว่า UBS นั้นมีแผนที่จะปลดพนักงาน 5 ระลอกในปีนี้ โดยจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ และสื่อรายดังกล่าวได้อ้างแหล่งข่าวภายในว่าอดีตพนักงานของ Credit Suisse ประมาณ 50-60% จะถูกปลดภายใต้แผนการดังกล่าว

คาดว่ารอบการปลดพนักงานหลังจากเดือนมิถุนายนคือ สิงหาคม กันยายน ตุลาคม และพฤศจิกายน และพนักงานที่จะได้รับผลกระทบนั้นมีแทบทุกฝ่ายทั่วโลก

ก่อนหน้าที่จะมีการควบรวมกิจการ Credit Suisse เข้ามา UBS มีพนักงานราวๆ 45,000 คน แต่หลังจากควบรวมกิจการแล้วนั้นจำนวนพนักงานมีมากถึง 120,000 คน

แผนการปลดพนักงานของ UBS ครั้งนี้ตามหลังมาจากแผนการลดต้นทุน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐที่สถาบันการเงินรายนี้ประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2023 ที่ผ่านมา แต่ SonntagsZeitung ได้ชี้ว่าสถาบันการเงินรายใหญ่ของสวิตเซอร์แลนด์อาจประหยัดต้นทุนมากถึง 13,200 ล้านเหรียญจากแผนดังกล่าว

สาเหตุที่ทำให้ UBS ต้องเร่งปลดพนักงานไวขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ได้เร่งให้สถาบันการเงินรายนี้ต้องเร่งเพิ่มเงินทุนสำรองจากขนาดธุรกิจที่ใหญ่มากขึ้นหลังการควบรวมกิจการ

นักวิเคราะห์คาดว่าหลังจากการควบรวมกิจการของ Credit Suisse สำเร็จจะทำให้ UBS ต้องปลดพนักงานออกมากถึง 30,000 ถึง 35,000 คนทั่วโลก เพื่อที่จะลดต้นทุนดังกล่าว

]]>
1470486
‘สิงคโปร์’ และ ‘ซูริก’ ครองแชมป์เมืองค่าครองชีพแพงสุดในปี 2023 ส่วนกรุงเทพฯ ใกล้เคียงกับโอซาก้า https://positioningmag.com/1454075 Fri, 01 Dec 2023 02:50:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454075 Economist Intelligence Unit หน่วยงานในนิตยสารชื่อดัง The Economist ได้ออกรายงานเมืองที่มีค่าครองชีพแพงสุดในปี 2023 ในปีนี้ ซูริก และ สิงคโปร์ ครองแชมป์ร่วมกัน ขณะที่ไทยนั้นมีค่าครองชีพใกล้เคียงกับเมืองโอซาก้าของญี่ปุ่นแล้ว

Economist Intelligence Unit หรือ EIU ได้เปิดเผยดัชนีค่าครองชีพในปี 2023 พบว่ายังเป็นอีกปีที่ทั่วโลกประสบปัญหาเงินเฟ้อที่ยังมีอัตราที่สูง โดยเมืองที่ครองแชมป์เมืองค่าครองชีพแพงสุดในปีนี้นั้นประกอบไปด้วยสิงคโปร์และซูริก ซึ่งมีค่าครองชีพแพงกว่านิวยอร์กซิตี้ด้วยซ้ำ

ในรายงานของ EIU ยังได้กล่าวถึงค่าเฉลี่ยของค่าครองชีพทั่วโลกกว่า 200 รายการนั้นได้เพิ่มขึ้น 7.4% ลดลงจาก 8.1% ในปี 2022 ที่ผ่านมา แต่แนวโน้มดังกล่าวยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2017-2021

เมืองที่มีค่าครองชีพแพงสุดจากรายงานของ EIU

  1. ซูริก และ สิงคโปร์ (มีคะแนนเท่ากัน)
  2. เจนีวา และ นิวยอร์ก (มีคะแนนเท่ากัน)
  3. ฮ่องกง
  4. ลอสแอนเจลิส
  5. ปารีส
  6. เทลอาวีฟ
  7. โคเปนเฮเกน
  8. ซานฟรานซิสโก

ปัญหาค่าครองชีพที่สูงยังทำให้สิงคโปร์อัตราการเกิดของประชากรลดต่ำลง แม้ว่ารัฐบาลต้องออกมาตรการส่งเสริมให้คนมีลูก แต่ก็ยังไม่จูงใจทำให้ชาวสิงคโปร์เท่าไหร่นัก

สิงคโปร์ถือว่าติดอันดับเมืองค่าครองชีพแพงสุดของ EIU มาแล้ว 9 ครั้งในรอบ 11 ปีที่ผ่านมา รวมถึงในปี 2022 ที่ผ่านมา EIU ยังจัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นเมืองที่ ค่าครองชีพแพงที่สุด โดยครองตำแหน่งสูงสุดร่วมกับนิวยอร์กซิตี้อีกด้วย

ไม่เพียงแค่ค่าครองชีพที่สูงเท่านั้นแต่ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด สิงคโปร์ถือว่าเป็นอีกประเทศที่มีค่าเช่ารวมถึงราคาบ้านที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากด้วย

นอกจากนี้ปัญหาค่าครองชีพซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับตัวเลขของอัตราเงินเฟ้อยังทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกนั้นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะปราบตัวเลขเงินเฟ้อให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติให้ได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวในรายงานของ EIU ชี้ว่าส่งผลทำให้หลายเมืองนั้นมีอันดับตกลงมา เช่น นิวยอร์กซิตี้

สำหรับประเทศไทยนั้น EIU ได้รายงานว่าเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครนั้นมีค่าครองชีพใกล้เคียงกับเมืองโอซาก้าของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันเมืองใหญ่ของไทยอย่างเชียงใหม่นั้นมีค่าครองชีพใกล้เคียงกับกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย หรือแม้แต่นครฉ่งชิ่งของประเทศจีน

]]>
1454075
มาทำความรู้จักเครดิตสวิส สถาบันการเงินใหญ่ ที่อาจสร้างความสั่นสะเทือนต่อระบบการเงินโลก https://positioningmag.com/1423468 Thu, 16 Mar 2023 04:22:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423468 มาทำความรู้จักกับ เครดิตสวิส (Credit Suisse) สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์ได้เตรียมที่จะขอใช้สภาพคล่องจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์มากถึง 50,000 ล้านฟรังก์สวิส หรือคิดเป็นเงินไทยมากถึง 1.85 ล้านล้านบาท เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน รวมถึงลูกค้าที่ใช้บริการ

โดยแผนการการกู้ยืมเงินของ Credit Suisse อยู่ภายใต้โครงการจัดหาเงินกู้แบบครอบคลุมและการจัดหาสภาพคล่องในระยะสั้นของธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากหุ้นของสถาบันการเงินรายนี้ตกลงอย่างหนักในช่วงการซื้อขายเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นหลังปิดตลาดลดลงไปมากถึง 24%

ราคาหุ้นที่ตกลงอย่างหนักของ Credit Suisse เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นในหุ้นกลุ่มธนาคารทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้นได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการล้มของ Silicon Valley Bank (SVB) ทำให้ท้ายที่สุดหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของสหรัฐอเมริกาต้องออกมาตรการอุ้มผู้ฝากเงินทั้งหมดในธนาคารรายดังกล่าว

เหตุการณ์ของ SVB ยังทำให้หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินกังวลว่าผลจากการล้มของ SVB อาจกระจายไปทั่วโลกได้ แม้ว่าจะมีมาตรการที่รวดเร็วออกมาจากฝั่งสหรัฐฯ แล้วก็ตาม

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ต้นทุนการเงินของธนาคารหลายแห่งสูงขึ้น จนทำให้ความอ่อนแอของสถาบันการเงินเหล่านี้โผล่ออกมา

ซึ่งความสำคัญของ Credit Suisse ถือเป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินโลก (GSIB) ซึ่งรายชื่อดังกล่าวมี 30 ธนาคาร ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ธนาคารในประเทศจีน

ความอ่อนแอของ Credit Suisse นั้นต้องไล่มาตั้งแต่เหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากช่วงวิกฤตการเงินปี 2007-2009 วิกฤตการเงินในทวีปยุโรปในช่วงปี 2010-2011 ทำให้สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 2 ของสวิตเซอร์แลนด์นั้นมีความอ่อนแอลงอย่างมาก

ปี 2021 Credit Suisse ยังต้องรับสภาพจากผลขาดทุนของการล่มสลายของ Greensill Capital ที่เป็นกองทุนที่เน้นด้านการปล่อยสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสถาบันการเงินจากสวิตเซอร์แลนด์รายนี้ได้รับผลกระทบไปถึง 1,720 ล้านเหรียญสหรัฐ

และในช่วงปีดังกล่าวเองนั้น สถาบันการเงินรายนี้ยังมาเจ็บหนักกับการปล่อยกู้ให้กับกองทุนบริหารความเสี่ยงชื่อดังอย่าง Archegos Capital Management ที่สถาบันการเงินรายนี้ต้องรับรู้ถึงผลขาดทุนมากถึง 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ซึ่งการรับรู้ของผลที่ขาดทุนอย่างหนักในปี 2021 ทำให้ Credit Suisse ต้องใช้ยาแรงในการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการขายธุรกิจที่ไม่ทำกำไร หรือสร้างความเสี่ยงให้กับสถาบันการเงินรายนี้ออกไปล็อตใหญ่

ขณะที่ในปี 2022 สถาบันการเงินรายนี้จะมีการเพิ่มทุนครั้งใหญ่ จนทำให้มีอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่มากถึง 14% และที่ผ่านมา Credit Suisse ยังได้รื้อโครงสร้างภายในอีกรอบ โดยเตรียมที่จะ IPO ธุรกิจวาณิชธนกิจ (Credit Suisse First Boston) ในตลาดหลักทรัพย์หลังจากนี้ รวมถึงการปรับการบริหารภายในชุดใหญ่ก็ตาม

อย่างไรก็ดีการปรับโครงสร้างของ Credit Suisse ก็ไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในเวลานี้เท่าไหร่นัก ซึ่งผลประกอบการในปี 2022 ที่ผ่านมาขาดทุนมากถึง 7,300 ล้านฟรังก์สวิส แม้ว่านักวิเคราะห์จะมีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 สถาบันการเงินรายดังกล่าวจะกลับมามีกำไรก็ตาม

ทำให้ท้ายที่สุดสถาบันการเงินรายนี้ต้องใช้กลไกของแบงก์ชาติสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นดังกล่าวกลับมาอีกครั้ง

ที่มา – Reuters [1], [2]

]]>
1423468