The Emsphere – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 21 Nov 2023 14:23:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “EMSPHERE” แหล่งรวมชาวไนต์ไลฟ์ โซนของกิน “เปิด 7 โมง – ปิดตี 3” จัดรถรับส่ง “ทองหล่อ” ชวนมาสร่างที่ห้างฯ https://positioningmag.com/1452780 Tue, 21 Nov 2023 12:35:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452780 ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับวันเปิดศูนย์การค้า “EMSPHERE” (เอ็มสเฟียร์) 1 ธันวาคมนี้ ล่าสุดทางศูนย์ฯ​ ชูจุดเด่นโซนร้านอาหารที่ เปิด 7 โมง ปิดตี 3” รองรับไนต์ไลฟ์ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าจากโซนบาร์บนชั้น 5 หรือลูกค้าที่จบคอนเสิร์ตมาจาก UOB Live ไปจนถึงคนในย่านที่ใช้ชีวิตกลางคืน เตรียมจัดรถชัตเติลรับส่ง “ทองหล่อ” หวังดึงนักเที่ยวมาทานอาหารยามดึกต่อหลังผับปิด

“อรธิรา ภาคสุวรรณ์” กรรมการผู้จัดการอาวุโส เอ็ม ดิสทริค เปิดข้อมูลเพิ่มเติมของ “EMSPHERE” (เอ็มสเฟียร์) จิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายของ “EM DISTRICT” ที่จะเปิดบริการวันแรกวันที่ 1 ธันวาคมนี้

EMSPHERE เป็นศูนย์การค้าที่ฉีกแนวแตกต่างจากเอ็มโพเรียมและเอ็มควอเทียร์ เป็นศูนย์ฯ ที่เน้นกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น จับตลาดแมสมากขึ้น กิจกรรมภายในศูนย์ฯ จึงเน้น 5 องค์ประกอบหลัก คือ ร้านอาหาร, แฟชั่น, นวัตกรรม, ไลฟ์สไตล์ และบันเทิง (ศิลปะ-ดนตรี)

EMSPHERE
ผังชั้นใน EMSPHERE

คอนเซ็ปต์ของ EMSPHERE จะเน้นความเป็น “เมืองที่ไม่เคยหลับใหล” ของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะในย่านที่ตั้งของ EM DISTRICT ถือเป็นย่านไนต์ไลฟ์ที่ศูนย์ฯ จะดึงส่วนนี้มาเป็นจุดขาย

ทำให้บริเวณชั้น G ของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นแหล่งรวมร้านอาหารที่เรียกว่าโซน “EM MARKET” จะ “เปิด 7 โมง – ปิดตี 3” เพื่อรองรับชีวิตไนต์ไลฟ์ โดยโซนนี้จะเป็น Open Plan คือสามารถซื้อของจากร้านไหนก็ได้ในโซน และนั่งตรงไหนก็ได้ ทางศูนย์ฯ จึงเปิดพื้นที่ชั้นนี้ให้ลูกค้าเข้ามาได้ตั้งแต่เช้าจนถึงกลางดึก

ส่วนร้านอาหารไหนจะเปิดแต่เช้าหรือเปิดถึงดึก ต้องรอลุ้นกันอีกทีช่วงเปิดศูนย์ฯ แต่ที่แน่นอนคือ “Gourmet Market” สาขานี้จะเปิด “24 ชั่วโมง”

EMSPHERE
ภาพการก่อสร้างโค้งสุดท้ายก่อนเปิดบริการ

อรธิรากล่าวว่า ด้วยแนวคิดของศูนย์ฯ จะรองรับชีวิตเมืองที่ไม่เคยหลับใหล บนชั้น 5 ของศูนย์ฯ เองก็จะเป็นโซนบาร์-แฮงเอาต์ที่ปิดเวลาตี 1 และอีเวนต์ ฮอลล์ “UOB Live” บนชั้น 6 ก็จะเป็นแหล่งจัดคอนเสิร์ต อีเวนต์ งานประชุม ซึ่งหลายครั้งมักจะเลิกดึก ทำให้ต้องการเปิดโซนร้านอาหารจนถึงดึกด้วยเช่นกันเพื่อรองรับลูกค้า

เท่านั้นยังไม่พอ EMSPHERE ยังต้องการจะเชื่อมโยงกับแหล่งไนต์ไลฟ์ชื่อดังของกรุงเทพฯ อย่าง “ทองหล่อ” จึงมีแผนการตลาด “จอดรถที่ EMSPHERE ฟรี! หลัง 4 ทุ่ม” พร้อมจัด “รถชัตเติล” รับส่งถึงทองหล่อ

แผนนี้จะกระตุ้นให้ลูกค้าที่ ‘มาต่อ’ ทองหล่อ สามารถจอดรถทิ้งไว้ที่ศูนย์ฯ หลังผับปิดหรือเหนื่อยแล้วค่อยกลับมาหาอะไรร้อน ๆ ทานก่อนกลับบ้านได้ที่ EMSPHERE เป็นการเพิ่มทราฟฟิกให้ศูนย์ฯ ในช่วงกลางดึก

“อรธิรา ภาคสุวรรณ์” กรรมการผู้จัดการอาวุโส เอ็ม ดิสทริค

“iberry Group” จัดใหญ่ลงร้านอาหาร 5 ร้าน

สำหรับไฮไลต์ร้านค้าต่าง ๆ ที่จะมาลงใน EMSPHERE มีหลายร้านที่จะมาตั้งในไทยเป็นครั้งแรก ในกลุ่มร้านอาหาร เช่น

  • Bread Street Kitchen and Bar (*โดยกอร์ดอน แรมซีย์ เชฟมิชลิน)
  • Street Pizza (*โดยกอร์ดอน แรมซีย์ เชฟมิชลิน)
  • Naixue ชาไข่มุกหมื่นล้านจากจีน
  • The Matcha Tokyo ร้านมัทฉะออร์แกนิกชื่อดังจากญี่ปุ่น
  • Oh My Godmother ร้านอาหารคอนเซ็ปต์ใหม่โดยคุณปลา iberry Group
รวมร้านค้าไฮไลต์ในศูนย์ฯ

เครือ iberry Group จะมีการลงร้านอาหารถึง 5 ร้านใน EMSPHERE ที่เป็นร้านใหม่คอนเซ็ปต์ใหม่เลยคือ “Oh My Godmother” ร้านแนวฟิวชันฝรั่งเศส อิตาเลียน และเกาหลีเข้าด้วยกัน

ส่วนร้านอื่น ๆ จะมีที่พลิกปรับคอนเซ็ปต์เพื่อมาลง EMSPHERE โดยเฉพาะคือ “ทองสมิทธิ์ ฮอตพอต” เป็นหม้อไฟเนื้อตุ๋น และ “เจริญแกง” ร้านข้าวแกงที่เคยขายแบบเดลิเวอรี่ จะมามีหน้าร้านเป็นแห่งแรกที่นี่

ขณะที่ร้านแบบขยายสาขาใหม่มาคือ “อันเกิม อันก๋า” ร้านอาหารเวียดนาม และ “ฟ้าปลาทาน” ร้านข้าวต้มปลา

โรงกลั่นเนื้อ หนึ่งในร้านสแตนด์อะโลนที่ EMSPHERE ดึงมาขึ้นห้างฯ เป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ อรธิรายังชูความสำเร็จในการดึงร้านอาหารชื่อดังจากทำเลสแตนด์อะโลนมา ‘ขึ้นห้างฯ’ ได้เป็นครั้งแรก เช่น “โรงกลั่นเนื้อ” จากถนนทรงวาด  “Rintaro” ไอศกรีมดังจากพระโขนงและอารีย์  “Beans Coffee Roaster” โรงคั่วกาแฟจากทองหล่อ หรือ “ซาว (Zao)” ร้านขนมจีนเส้นสดจากอุบลฯ และเอกมัย

การกลับมาของ “United Colors of Benetton”

กลุ่มแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ก็มีหลายร้านที่ถือว่าเป็นไฮไลต์เพราะจะเข้าไทยเป็นครั้งแรกเหมือนกัน เช่น “Deus Ex Machina” แบรนด์สุดเท่จากออสเตรเลีย หรือ “National Geographics” ที่จะเปิดร้านในฟีลสายอาร์ตและของสะสม

ที่น่าสนใจคือการกลับมาของ “United Colors of Benetton” แบรนด์อิตาลีที่เคยฮิตจัดในทศวรรษ 1980-90s (รวมถึงในไทยก็ฮิตมากในหมู่วัยรุ่น 90s) ก่อนความนิยมจะค่อย ๆ เฟดหายไปหลังเจอการแข่งขันในตลาดช่วงทศวรรษ 2000s แต่ล่าสุดแบรนด์ปฏิวัติตัวเองกลับมาอีกครั้ง และจะกลับเข้าสู่ตลาดไทยที่ EMSPHERE

United Colors of Benetton

นอกจากนี้จะมีร้านที่แม้ไม่ได้มาครั้งแรก แต่จะอยู่ยาวเป็นครั้งแรกคือ “Casetify” แบรนด์เคสมือถือสุดฮิตที่เคยเปิด Pop-up Store ที่เซ็นทรัลเวิลด์ งานนี้เซ็นสัญญายาว 3 ปีแล้วที่ EMSPHERE

“คนรักรถ” เดินได้ทั้งวัน

ส่วนในหมวด “รถยนต์” ที่เคยมีข่าวว่ารถยนต์ไฟฟ้าเจ้าดังจากสหรัฐฯ จะมาเปิดโชว์รูมที่นี่ แต่ล่าสุดในรายชื่อผู้เช่ากลุ่มรถยนต์ยังไม่ได้มีชื่อ Tesla ปรากฏ

แต่คนรักรถก็ไม่ต้องเศร้า เพราะมีรถหรูหลายค่ายขนกันมาเปิดโชว์รูม ได้แก่ Lotus Cars, Lamborghini, Porsche, Land Rover, Hyundai และ กลุ่มมิลเลนเนียมออโต้ ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่าย BMW และ Mini

วันที่ 1 ธันวาคมนี้ อรธิราระบุว่าความพร้อมของส่วนรีเทล (ไม่รวม UOB Live) จะเปิดทั้งหมด 80% ของพื้นที่ อีก 20% ที่เหลือจะเป็นส่วนบาร์บนชั้น 5 และแบรนด์แฟชั่นบางส่วน ที่จะเปิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567

]]>
1452780
‘เดอะมอลล์ กรุ๊ป’ เดินหน้าผนึก 2 เจ้าสัว ‘เจริญ-ซีพี’ หวังพลิกโฉมบางกะปิ เทียบชั้น ‘The EM District’ https://positioningmag.com/1409677 Wed, 23 Nov 2022 11:36:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409677 ย้อนไปปี 2020 ที่ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้ Rebranding เดอะมอลล์งามวงศ์วาน และ ท่าพระ โดยใช้งบไปสาขาละกว่า 5,000 ล้านบาท ล่าสุด ก็ถึงคิวของเดอะมอลล์ บางกะปิ และ บางแค สองสาขาที่เปิดตัวพร้อมกันตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งทั้งสองสาขานี้ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะถือเป็น แฟลกชิป ของเดอะมอลล์ ทั้งในแง่ของเรเวอร์นิวและทราฟฟิก

ทุ่ม 20,000 ล้านแปลงโฉมใหม่หมด

ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ได้เล่าว่า เมื่อเกือบ 30 ปีก่อนที่เปิดตัว เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยใช้สโลแกน อาณาจักรแห่งความสุขทุกครอบครัว แต่ปัจจุบันมันเชยแล้ว ต้องเป็น ไลฟ์สโตร์ ซึ่งทันสมัยและเหมาะกับคนรุ่นใหม่ ดังนั้น เดอะมอลล์ต้องต้องรีเฟรชตัวเองให้ทันสมัย ทำให้ต้อง Rebranding เป็น M Lifestore โดยเปลี่ยนโลโก้ให้ทันสมัย ภายใต้คอนเซ็ปต์ A Happy Place to live life

โดยทั้ง 2 ศูนย์จะเริ่มทยอยรีโนเวตตั้งแต่ปลายปีนี้ ภายใต้งบ 20,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2023 ซึ่งการรีโนเวตจะเน้น 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่

  • URBAN ได้ยกระดับความครบครันทันสมัยเสมือนยกห้างพารากอนมาไว้ และจะมีการเชื่อมพื้นที่จากสถานีรถไฟฟ้า MRT เข้าสู่ตัวตึกทั้ง 2 สาขา
  • LIFE ได้รวบรวมรูปแบบของความสุขในการใช้ชีวิตที่หลากหลาย และจะเพิ่มแบรนด์ใหม่ ๆ รวมกว่า 1,000 แบรนด์ ใน 8 กลุ่ม รวมถึงจะมีคอนเซ็ปต์ใหม่ ๆ ของแต่ละแบรนด์ด้วย
  • NATURE มีการออกแบบศูนย์ให้ผสมผสานธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพักผ่อนและสันทนาการ

นอกจากนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังได้ใช้งบลงทุนอีก 4,000-5,000 ล้านบาท ในการรีโนเวต พารากอน ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2024

ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

สำหรับเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ มีพื้นที่ 350,000 ตารางเมตร พื้นที่รอบ 10 กิโลเมตร มีประชากรกว่า 2 ล้านคน และมีประชากรดิจิตอลสูงถึง 5 ล้านคน มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่พัก คอนโดมิเนียมมากกว่า 1.2 ล้านยูนิต นอกจากนี้ ยังตั้งอยู่บนถนนลาดพร้าว – บางกะปิ แยกบางกะปิ และลำสาลี ซึ่งกำลังจะมี สถานีลำสาลี ที่เป็นศูนย์รวมการเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าหลัก 3 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง, โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล (แคราย – ลำสาลี)

ส่วนศูนย์การค้าเดอะมอลล์บางแคมีพื้นที่ 350,000 ตารางเมตรเช่นกัน ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม – กาญจนาภิเษก มีประชากรกว่า 1.5 ล้านคน และมีประชากรดิจิตอล 3.5 ล้านคน มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พัก คอนโดมิเนียม มากกว่า 700,000 ยูนิต และอนาคตจะมี รถไฟฟ้าสถานีหลักสอง และ สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเครือข่ายคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพฝั่งตะวันตก

ต้องการปั้นบางกะปิเทียบชั้น The EM District

ศุภลักษณ์ เล่าต่อว่า ย่านบางกะปิถือเป็นย่านที่สำคัญมาก เพราะเป็นทำเลที่เชื่อมทั้งเส้นลาดพร้าว, รามคำแหง, บางกะปิ, นวมินทร์, มีนบุรี และศรีนครินทร์ โดยเฉพาะเมื่อมี รถไฟฟ้า 3 สาย ตัดผ่าน นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางทาง เรือ ผ่านคลองแสนแสบ ซึ่งปัจจุบัน คิดเป็นทราฟฟิกประมาณ 10% ของเดอะมอลล์ บางกะปิ

ดังนั้น เดอะมอลล์ กรุ๊ป จึงหวังที่จะพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็น All in One ที่สมบูรณ์แบบ แบบเดียวกับย่านการค้าดัง ๆ ในต่างประเทศ เหมือนกับการพัฒนา The EM District โดยดึง กลุ่ม AWC ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มีพื้นที่โครงการตะวันนารวมแล้วประมาณ 27 ไร่ และมีพื้นที่ ห้างแม็คโครของเครือซีพีอีก 30 ไร่ เพื่อสร้างย่านการค้า

“นี่เป็นโปรเจกต์ร่วมกันกับคุณเอ๋ วัลลภา ไตรโสรัส ซึ่งเราร่วมมือกันตั้งแต่โปรเจกต์ The EM District แล้ว แต่พอรถไฟฟ้าเสร็จเราเลยมีแผนที่จะพัฒนาชุมชนแถวนั้น โดยจะยกความเป็นเออร์เบิร์น ยกความเจริญเข้ามา ให้คนไม่ต้องเข้าเมือง ครอบคลุมกลุ่มคนทุกระดับ ซึ่งเรายังมีอีกหลายโปรเจกต์ที่คุยกันแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนกับทางซีพีก็เริ่มมีการคุยกันแล้ว”

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ทายาทเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

เชื่อมั่น 2023 ปีทองเดอะมอลล์ กรุ๊ป

สำหรับปี 2023 ศุภลักษณ์ เชื่อมั่นว่าจะเป็น ปีทอง ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป เพราะโปรเจกต์ The EM District ซึ่งเป็นย่านการค้าที่ประกอบด้วยดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์ และล่าสุดกับโครงการดิ เอ็มสเฟียร์ ที่ลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท บนเนื้อที่รวม 50 ไร่ มีพื้นที่ในศูนย์รวมกันกว่า 650,000 ตารางเมตร จะเปิดให้บริการภายใน สิ้นปี 2023 เช่นเดียวกับการรีโนเวตเดอะมอลล์ บางกะปิและบางแค ที่จะแล้วเสร็จในช่วงเดียวกัน

สูตรสำเร็จเดอะมอลล์ คือ โลเคชั่น โลเคชั่น โลเคชั่น ดังนั้น ทุกโปรเจกต์ของเราต้องเป็นทำเลหรือจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เราขยายไม่เยอะเพราะถ้าทำเลไม่ดีเราไม่ทำ เล็ก ๆ เราก็ไม่ทำ เพราะเราไม่แข่งในสนามเล็ก เราจะลงเฉพาะสนามใหญ่ ๆ เท่านั้น เพราะเราต้องการสร้างย่านที่สมบูรณ์”

นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าในปีหน้านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมา ซึ่งจะคิดเป็นสัดส่วน 20% ของ GDP เติบโตจากปี 2022 ที่คิดเป็น 10% ของ GDP ซึ่งยังไม่มี นักท่องเที่ยวจีน และหลังจากที่เดอะมอลล์บางกะปิ และบางแครีโนเวตเสร็จ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มทราฟฟิกอีก 30%

นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ทราฟฟิกของเดอะมอลล์กลับมาเท่ากับปี 2019 และคาดว่าภายในสิ้นปีจะมียอดขายรวม 5 หมื่นล้านบาท ทั้งที่ช่วงไตรมาสแรกยังได้ผลกระทบจากโควิด ดังนั้นปีหน้า เราเชื่อว่าจะเป็นปีทองของเดอะมอลล์ กรุ๊ป”

รีเทลยุคนี้ยาก ต้องครบสมบูรณ์แบบ

ศุภลักษณ์ ย้ำว่า ศูนย์การค้ายุคนี้ต้อง ยิ่งใหญ่ เพียบพร้อม สมบูรณ์แบบ เพราะต้องเอาใจคนให้ได้ทุกเซ็กเมนต์ เพื่อจะเก็บลูกค้าให้ได้ทุกกลุ่ม เนื่องจากลูกค้าคิดแล้วว่าถ้าจะเสียเวลามามันต้องคุ้ม ดังนั้น เดอะมอลล์ต้องตามลูกค้าให้ทัน หรือไม่ก็ต้องเป็นผู้นำเทรนด์ให้ลูกค้า เพราะรอให้ลูกค้ามาบอกว่าต้องการอะไรมันไม่ทัน

“วิชั่นเราต้องก้าวไปก่อนคนอื่น ถ้าเราจะเป็นผู้นำเราต้องไม่เป็นผู้ตาม ดังนั้น เราต้องมีความกล้า ต้องก้าวออกจากกรอบ แน่นอนทุกอย่างมีความเสี่ยง แต่เราเชื่อว่าเรามีประสบการณ์ 40 ปี ที่ผ่านมาทุกวิกฤต และเรามีพันธมิตรที่พร้อมจะไปกับเราจริง ๆ ในทุกสถานการณ์”

]]>
1409677
“อิเกีย สุขุมวิท” เหมาชั้น 3 ของ Emsphere ของครบเหมือนสาขาใหญ่ เตรียมเปิดปลายปี 66 https://positioningmag.com/1389451 Tue, 21 Jun 2022 07:58:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389451 “อิเกีย” (IKEA) แถลงรายละเอียดสาขาใหม่ “The Emsphere สุขุมวิท” สาขาแบบ ‘City Store’ แห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ 12,000 ตร.ม. เหมาทั้งชั้น 3 ของศูนย์การค้า โชว์รูมลงของครบเหมือนสาขาใหญ่ มาร์เก็ตฮอลล์ของแต่งบ้านครบ หิ้วกลับได้เลย ร้านอาหาร-คาเฟ่วิวสวนเบญจสิริ พร้อมเปิดปลายปี 2566

หลังจากมีแย้มๆ ออกมาบ้างแล้วว่าสาขาที่ 4 ของ “อิเกีย” (IKEA) จะอยู่ใน The Emsphere ศูนย์การค้าใหม่ของ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ล่าสุด “ลิโอนี่ ฮอสกิ้น” ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกีย ประเทศไทย และเวียดนาม และ “ศิรินทร์ อาศน์ศิลารัตน์” ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย สุขุมวิท แถลงเปิดรายละเอียดของสาขาในย่านสุขุมวิท จะเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่ตอบรับกับกระแสอีคอมเมิร์ซมากขึ้น

รายละเอียดสาขานี้จะเป็นอิเกียแบบ City Store สาขาแรกในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของ The Emsphere พร้อมพงษ์ โดยเหมาทั้งชั้นพื้นที่ 12,000 ตร.ม. ภายในมีฟังก์ชันที่แทบจะเหมือนกับสาขาในย่านชานเมือง คือ

  • โชว์รูมสินค้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ 2,500 รายการ (ครบเท่ากับสาขาใหญ่)
  • พื้นที่มาร์เก็ตฮอลล์ สินค้าชิ้นเล็ก กลุ่มตกแต่งบ้าน ของใช้ในบ้าน 4,500-5,000 รายการ
  • แผนกออกแบบตกแต่งห้อง
  • พื้นที่ร้านอาหาร วิวสวนเบญจสิริ
  • ที่จอดรถจุด Pick up สินค้า
อิเกีย สุขุมวิท
แผนที่ อิเกีย สุขุมวิท จะเปิดบนศูนย์การค้า The Emsphere

ลิโอนี่กล่าวว่า สิ่งที่ต่างไปของสาขานี้คือ ไม่มีคลังสินค้าของตนเอง จะใช้วิธีโลจิสติกส์สินค้ากลุ่มสินค้าชิ้นเล็กจากสาขาบางใหญ่มาเติมสต็อก ส่วนการสั่งสินค้าชิ้นใหญ่เพื่อเดลิเวอรีไปส่งให้ลูกค้าถึงบ้าน จะส่งออร์เดอร์ให้สาขาบางนาเป็นผู้จัดส่ง

 

City Store หดไซส์เพื่อมาอยู่ใกล้ลูกค้า

โมเดล City Store แบบนี้ “ท้าทาย” มากกับอิเกีย เพราะโมเดลธุรกิจดั้งเดิมของอิเกียคือการหาทำเลชานเมืองซึ่งต้นทุนถูกกว่าและได้พื้นที่ใหญ่จนมีคลังสินค้าในที่เดียวกันได้ รวมกับการให้ลูกค้า ‘Self-Service’ หยิบของจากคลังสินค้าเอง เพื่อประหยัดต้นทุนแรงงาน ซึ่งทำให้อิเกียสามารถขายสินค้าได้ในราคาต่ำมาตลอด

อิเกีย
อิเกีย บางนา (Photo : Shutterstock)

แต่เมื่อเป็นโมเดล City Store ก็จะต้องมีการขนส่งสินค้าเข้ามาบ่อยครั้งเพื่อเติมสต็อก และจะต้องมีบริการหยิบของและเดลิเวอรีกันมากขึ้น

แล้วทำไมอิเกียจะต้องสร้างโมเดลร้านแบบนี้ขึ้นมา? ลิโอนี่กล่าวว่า เกิดจากเมื่อช่วงปี 2017-2018 บริษัทเล็งเห็นแล้วว่ากระแสอีคอมเมิร์ซกำลังมาแรง “แต่ในฐานะร้านเฟอร์นิเจอร์ ลูกค้าของเรายังต้องการมา ‘จับสัมผัสและทดลองสินค้า’ (touch & try) ก่อนจะไปสั่งออนไลน์”

อิเกียแบบ City Store สาขาแรกที่ปารีส (Photo: IKEA)

อิเกียจึงคิดว่าควรจะมีโมเดลร้านที่ทำให้ลูกค้าได้มาดูสินค้าตัวจริงในพื้นที่กลางเมืองซึ่งไม่ต้องใช้เวลาเดินทางมาก ทำให้ลูกค้าสามารถแวะมาได้บ่อยขึ้น จากนั้นลูกค้าสามารถสั่งสินค้าไปส่งที่บ้าน หรือจะสั่งและมารับเองก็ได้ (Click & Collect)

โมเดล City Store จึงเปิดสาขาแรกที่ปารีส ในปี 2019 และมีการเปิดเพิ่มอีกในเมืองต่างๆ เรื่อยมา เช่น เวียนนา ลอนดอน สต็อกโฮล์ม เซี่ยงไฮ้ โดยลิโอนี่กล่าวเสริมด้วยว่า ทางอิเกียเองก็ยังสำรวจรูปแบบและไซส์ที่เหมาะสมของ City Store อยู่ อย่างสาขาสุขุมวิทนี้จะเป็น City Store ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่นับสาขาฮ่องกง เพราะถือว่าเป็นดินแดนที่เป็นเมืองทั้งเกาะ ไม่มีชานเมือง)

 

ชิงส่วนแบ่งตลาดกลางเมืองขึ้นเป็น 10%

สาขาสุขุมวิทนี้ ลิโอนี่มองว่าจะมีผู้มาเยี่ยมชมแตะ 4 ล้านคนต่อปี เนื่องจากมีที่อยู่อาศัยโดยรอบถึง 300,000 ครัวเรือน มีดีมานด์สูงมาก

ปัจจุบันสาขาใหญ่ของอิเกียในไทยจะมี 2 แห่งคือ อิเกีย บางนา (44,000 ตร.ม.) และ อิเกีย บางใหญ่ (50,278 ตร.ม.) โดยสาขาที่ประสบความสำเร็จสูงสุดก็คือบางนา ซึ่งสามารถชิงมาร์เก็ตแชร์คนสมุทรปราการได้ถึง 10% รวมถึงเป็นแหล่งที่ปกติแล้วคนสุขุมวิทจะเดินทางออกไปซื้อด้วย

อย่างไรก็ตาม อิเกียก็ยังมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดเฟอร์นิเจอร์กรุงเทพฯ เพียง 5% จึงเชื่อว่าการนำสาขามาใกล้ลูกค้ามากขึ้น จะทำให้ได้ส่วนแบ่งตลาดกลางกรุงเพิ่มเป็น 10%

 

3 จังหวัดที่อาจได้เปิดเพิ่ม: เชียงใหม่ โคราช ภูเก็ต

เมื่อมีโมเดลแบบ City Store ทำให้การขยายสาขาไปในต่างจังหวัดดูจะเป็นไปได้มากกว่าเดิม เพราะใช้งบลงทุนน้อยกว่าการไปแบบสาขาใหญ่จัดเต็มพร้อมคลังสินค้าที่ต้องลงทุนก่อสร้าง แต่การเปิดสาขาเล็กจะเป็นการเช่าพื้นที่

อิเกีย สุขุมวิท
(จากซ้าย) “ลิโอนี่ ฮอสกิ้น” ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจค้าปลีก อิเกีย ประเทศไทย และเวียดนาม และ “ศิรินทร์ อาศน์ศิลารัตน์” ผู้จัดการสโตร์ อิเกีย สุขุมวิท

ลิโอนี่ระบุว่า จังหวัดที่มีความเป็นไปได้ในระยะยาวคือ เชียงใหม่ โคราช และภูเก็ต เพราะถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ตามความมุ่งหวังของอิเกียที่จะครอบคลุมให้ได้ทุกภาค (แม้ว่าการสั่งซื้อออนไลน์จะจัดส่งได้ทั่วประเทศ แต่ดังที่กล่าวไปว่าสินค้าเฟอร์นิเจอร์เป็นสิ่งที่ลูกค้าอยากจะชมของก่อน)

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ยังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจาก COVID-19 ทำให้ยังฟันธงไม่ได้ว่าแต่ละสาขาต่างจังหวัดนั้นจะมาเมื่อไหร่ แต่ที่เป็นไปได้ที่สุดคือ “ภูเก็ต”

“ภูเก็ตน่าสนใจมากเพราะฟื้นตัวเร็วจากการท่องเที่ยว และเรามีสาขาประเภท Pick-up point อยู่แล้ว พื้นที่เล็กๆ ประมาณ 2,000 ตร.ม. เท่านั้น แต่ปรากฏว่าคนภูเก็ตชอบเรามาก ทำให้สาขานี้เริ่มจะมีความไฮบริด ไม่ใช่แค่จุดรับสินค้าที่สั่งออนไลน์ แต่สามารถขายของได้” ลิโอนี่กล่าว

อิเกีย ภูเก็ต สาขาขนาดเล็กพื้นที่กว่า 2,000 ตร.ม. แต่ได้รับความนิยมสูง

การเปิด City Store ของอิเกียยังมาพร้อมกับการทำราคาส่งเดลิเวอรีให้ถูกลงด้วย โดยเริ่มมาตั้งแต่มกราคม 2565 ที่ราคาจัดส่งต่างๆ ปรับลดหรือมีโปรโมชัน เช่น ค่าส่งพัสดุสินค้าชิ้นเล็กน้ำหนักไม่เกิน 24 กิโลกรัม ค่าส่งเหมา 99 บาท, ค่าส่งสินค้าชิ้นใหญ่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เริ่มต้น 290 บาท จากปกติ 570 บาท, ค่าส่งสินค้าชิ้นใหญ่ไปโคราชลดเหลือ 590 บาท จากสมัยก่อนราคา 2,000+ บาท

 

อิเกีย สาขาที่ 5 จะมาหรือไม่?

สรุปแล้วอิเกียกำลังจะมีครบ 4 สาขา คือ บางนา บางใหญ่ ภูเก็ต และสุขุมวิท แล้วจะมีสาขาที่ 5 หรือไม่ หลังจากมีข่าวมากมายของอิเกียกับพาร์ทเนอร์หลายบริษัท

ศิรินทร์กล่าวถึงข่าวก่อนหน้านี้ที่มีการคาดการณ์ว่าอิเกียจะเปิดสาขากับเซ็นทรัล พระราม 2 ขณะนี้อิเกียยังอยู่ระหว่างเจรจา ยังเป็นการให้ความสนใจ แต่ยังไม่มีการตกลงกันอย่างเป็นทางการ

รวมถึงข่าวสาขาโซนเหนือของกรุงเทพฯ ด้วย ลิโอนี่ตอบแบบกว้างๆ ว่าอิเกียมีความสนใจโซนเหนือของกรุงเทพฯ แต่ขอไม่ระบุว่าจะเป็นที่ดินใด กับพาร์ทเนอร์รายใด โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างเร็วที่สุดก็ปี 2568 เพราะต้องการให้เศรษฐกิจไทยฟื้นได้มากกว่านี้ก่อน

]]>
1389451