WHO – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 24 Jul 2022 13:03:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘WHO’ ประกาศให้ ‘โรคฝีดาษลิง’ เป็น ‘ภาวะฉุกเฉิน’ ด้านสุขภาพทั่วโลก https://positioningmag.com/1393690 Sun, 24 Jul 2022 04:19:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393690 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้เปิดใช้งานระดับการแจ้งเตือนสูงสุดสำหรับการระบาดของ โรคฝีดาษลิง ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยประกาศว่าไวรัสเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศที่น่ากังวล

เนื่องจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ประกาศเตือนภัยสูงสุด สำหรับการระบาดของ โรคฝีดาษลิง การประกาศดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า WHO มองว่าการระบาดเป็นภัยคุกคามที่สำคัญเพียงพอต่อสุขภาพของโลกที่จำเป็นต้องมีการตอบสนองและประสานงานกันระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายต่อไปและอาจทวีความรุนแรงขึ้น

“เรามีการระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ผ่านรูปแบบการแพร่เชื้อแบบใหม่ ซึ่งเราเข้าใจน้อยเกินไป ด้วยเหตุผลทั้งหมดเหล่านี้ ฉันได้ตัดสินใจว่าการระบาดของฝีดาษลิงทั่วโลกถือเป็นเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่น่าเป็นห่วงในระดับนานาชาติ”

ข้อมูลของ WHO ระบุว่า มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมากกว่า 16,000 รายในกว่า 70 ประเทศ จนถึงปีนี้ และจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันเพิ่มขึ้นถึง 77% นับจากช่วงปลายเดือนมิถุนายนจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ปัจจุบันยุโรปเป็นศูนย์กลางของการระบาดทั่วโลก ในส่วนของจำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันมีทั้งหมด 5 รายในแอฟริกา โดยจนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตนอกแอฟริกา

สำหรับโรคฝีดาษลิง หรือ (Monkeypox) ไม่ใช่ไวรัสตัวใหม่เหมือนกับ Covid-19 โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบโรคฝีดาษในลิงครั้งแรกในปี 1958 ในลิงที่ถูกเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการวิจัยในเดนมาร์ก และยืนยันกรณีแรกของมนุษย์ที่ติดเชื้อไวรัสในปี 1970 ในประเทศซาอีร์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

โดยส่วนใหญ่ไวรัสแพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางผิวหนังระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายมีความเสี่ยงสูงสุดในขณะนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญโรคฝีดาษของ WHO กล่าวว่า 99% ของกรณีที่มีการรายงานนอกแอฟริกาอยู่ในกลุ่มผู้ชาย และ 98% ของการติดเชื้ออยู่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย อย่างไรก็ตาม WHO และ CDC ได้เน้นย้ำว่าทุกคนสามารถจับโรคฝีดาษได้โดยไม่คำนึงถึงรสนิยมทางเพศ

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ในสเปนและอิตาลีตรวจพบ DNA ไวรัสโรคฝีดาษในน้ำอสุจิจากผู้ป่วยที่เป็นบวก แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่าไวรัสสามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำอสุจิระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ชาวสเปนยังตรวจพบ DNA ของฝีดาษในตัวอย่างน้ำลาย

สำหรับอาการเบื้องต้นของผู้ติดเชื้อ จะคล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ อาทิ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ก่อนจะเกิดผื่นและกลายเป็นตุ่มหนอง

 

]]>
1393690
ข่าวดี! ‘WHO’ เผยจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดอยู่ในระดับ ‘ต่ำสุด’ ในรอบ 2 ปี https://positioningmag.com/1383100 Wed, 27 Apr 2022 08:57:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383100 องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายใหม่ในรอบสัปดาห์ได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020 พร้อมเตือนให้ทั่วโลกอย่าหยุดตรวจหาเชื้อ เพราะอาจขัดขวางความพยายามในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่

จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 15,668 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา โดยจากข้อมูลของ WHO พบว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากจำนวนกว่า 18,000 รายในช่วงสัปดาห์ที่ 17 เมษายน

โดยทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ด้านจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีมากกว่า 4 ล้านราย ตามข้อมูลของ WHO จำนวนดังกล่าวลดลงจากรายงานผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 5 ล้านราย เมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ที่ 17 เม.ย.

“การเสียชีวิตที่ลดลงถือเป็นข่าวดีที่ แต่เราต้องยินดีด้วยความระมัดระวัง” เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าว นอกจากนี้เขายังเตือนว่า หลายประเทศได้ลดการตรวจเชื้อ COVID-19 ซึ่งจำกัดความสามารถของ WHO ในการติดตามผลกระทบของไวรัสและรูปแบบการแพร่กระจายและวิวัฒนาการ

ไวรัสนี้จะไม่หายไปเพียงเพราะประเทศต่าง ๆ หยุดมองหามัน มันยังคงแพร่กระจาย ยังคงเปลี่ยนแปลง และยังคงสังหารอยู่ แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลง แต่เราก็ยังไม่เข้าใจผลที่ตามมาของการติดเชื้อในผู้ที่รอดชีวิตในระยะยาว”

ดร.บิล โรดริเกซ ซีอีโอของ FIND องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการวินิจฉัยโรคทั่วโลก กล่าวว่า WHO เรียกร้องให้ทุกประเทศรักษาระบบเฝ้าระวัง ซึ่งรวมถึงการทดสอบและการจัดลำดับจีโนม โดยอัตราการทดสอบ COVID-19 ทั่วโลกลดลงจาก 70-90% ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการทดสอบที่ลดลงอาจทำให้ความสามารถของโลกในการรักษาโควิดด้วยการบำบัดแบบใหม่ลดลงไปด้วย

ด้าน Maria Van Kerkhove หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้าน COVID-19 ของ WHO เสริมว่า การที่ไม่ได้ตรวจหาเชื้อเหมือนก่อน อาจจำกัดการตรวจสบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน อย่างสายพันธุ์ BA.2 ที่แพร่ระบาดมากขึ้นในขณะนี้ ก็ถือเป็นสายพันธุ์ที่กระตุ้นให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในยุโรปและจีน ซึ่งกำลังต่อสู้กับการระบาดครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020

BA.2 ยังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็น 68.1% ของเคสทั้งหมดที่หมุนเวียนในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 23 เมษายน ตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ตัวแปรย่อยอีกตัวหนึ่งคือ BA.2.12.1 กำลังได้รับความสนใจในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ซึ่งคิดเป็น 28.7% ของผู้ป่วยรายใหม่ ข้อมูล CDC กล่าว

Source

]]>
1383100
WHO เดินหน้าเผยแพร่ ‘เทคโนโลยีวัคซีนโควิด’ สู่ประเทศยากจนให้ผลิตได้เอง https://positioningmag.com/1375555 Sun, 27 Feb 2022 11:13:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375555 องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังสร้างศูนย์ฝึกอบรมระดับโลก เพื่อช่วยประเทศยากจนในการผลิตวัคซีนแอนติบอดี และการรักษามะเร็งโดยใช้เทคโนโลยี messenger RNA หรือ mRNA ที่ใช้ในการผลิตวัคซีน COVID-19

Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO กล่าวว่า WHO กำลังสร้างศูนย์ฝึกอบรมระดับโลกที่แบ่งปันเทคโนโลยี mRNA ที่พัฒนาโดย WHO และพันธมิตรในแอฟริกาใต้ รวมถึงการช่วยเหลือจาก Moderna Inc. โดยศูนย์กลางแห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่ในเกาหลีใต้

“วัคซีนได้ช่วยเปลี่ยนแนวทางของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่ชัยชนะทางวิทยาศาสตร์นี้กลับถูกทำลายลงด้วยความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเครื่องมือช่วยชีวิตเหล่านี้” Tedros Adhanom Ghebreyesus กล่าว

องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันนี้หวังว่าจะไม่เพียงส่งผลในวัคซีนป้องกัน COVID-19 เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการผลิตแอนติบอดี อินซูลิน และการรักษาโรคต่าง ๆ รวมถึงมาเลเรียและมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ดร. โสมยา สวามินาธาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ WHO คาดการณ์ว่า ความพยายามในการสร้างวัคซีนของโมเดอร์นาขึ้นมาใหม่จะแล้วเสร็จช่วงปลายปีหน้าหรือกระทั่งปี 2024 แต่กล่าวว่าไทม์ไลน์อาจสั้นลงได้มากหากผู้ผลิตตกลงที่จะช่วย

ที่ผ่านมา วัคซีนนั้นถูกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดหาประเทศร่ำรวยมากกว่าที่ยากจนทั้งในด้านการขายและการผลิต โดยทั้ง Moderna และ Pfizer-BioNTech ผู้ผลิตวัคซีน mRNA COVID-19 ที่ได้รับอนุญาตทั้งสองรายการ ปฏิเสธที่จะแบ่งปันสูตรวัคซีนหรือความรู้ทางเทคโนโลยีกับ WHO และพันธมิตร

ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำระดับโลกในการเข้าถึงวัคซีน COVID-19 นั้นมหาศาล ปัจจุบันแอฟริกาผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพียง 1% ของโลก และมีเพียง 11% ของประชากรทั้งหมดที่ได้รับวัคซีน ในทางตรงกันข้าม ประเทศในยุโรปอย่างโปรตุเกสมีประชากร 84% ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน และมากกว่า 59% ของคนในประเทศได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว WHO กล่าวว่า 6 ประเทศในแอฟริกา ได้แก่ อียิปต์ เคนยา ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และตูนิเซีย จะได้รับความรู้และความรู้ทางเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีน mRNA COVID-19 และ อีก 5 ประเทศจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางแอฟริกาใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ปากีสถาน เซอร์เบีย และเวียดนาม

Source

]]>
1375555
‘WHO’ เตือน ‘โอมิครอน’ ไม่ใช่สายพันธุ์สุดท้าย หลังผู้ติดเชื้อเพิ่ม 20% ในสัปดาห์เดียว https://positioningmag.com/1370888 Wed, 19 Jan 2022 08:19:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370888 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาพูดถึงการระบาดใหญ่ว่าจะไม่สิ้นสุด เนื่องจากการติดเชื้อในระดับสูงทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่สายพันธุ์ใหม่เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ แม้ว่าการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) จะเริ่มดีขึ้นในบางประเทศ

“เราได้ยินหลายคนพูดว่า โอมิครอนเป็นสายพันธุ์สุดท้ายของ COVID-19 ซึ่งนั่นไม่จริง เพราะเชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายและหมุนเวียนในระดับที่รุนแรงมากไปทั่วโลก” มาเรีย แวน เคอร์คอฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้าน COVID-19 ของ WHO กล่าว

การติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 20% ทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีรายงานผู้ป่วยทั้งหมดเกือบ 19 ล้านรายตามรายงานของ WHO แต่ มาเรีย แวน เคอร์คอฟ ตั้งข้อสังเกตว่ายังมีการติดเชื้อใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในรายงาน ทำให้จำนวนจริงสูงขึ้นมากกว่าที่คาด

“การแพร่เชื้อในระดับสูงทำให้ไวรัสมีโอกาสแพร่พันธุ์และกลายพันธุ์มากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่รูปแบบใหม่จะเกิดขึ้น” ดร.บรูซ เอิลเวิร์ด เจ้าหน้าที่อาวุโสของ WHO เตือน

มาเรีย แวน เคอร์คอฟ กล่าวว่า ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข เช่น ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากากและการเว้นระยะห่างทางสังคม เธอเรียกร้องให้รัฐบาลต่าง ๆ เสริมความแข็งแกร่งให้กับมาตรการเหล่านั้นเพื่อควบคุมไวรัสให้ดีขึ้น และป้องกันคลื่นการติดเชื้อในอนาคต เมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น

“ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ เราจะก้าวไปสู่วิกฤตครั้งต่อไป และเราจำเป็นต้องยุติวิกฤตที่เราอยู่ในขณะนี้และเราสามารถทำได้ในขณะนี้ ดังนั้นอย่าละทิ้งกลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลที่ปกป้องเราและคนที่เรารักให้ปลอดภัย” เธอกล่าว

ดร.แอนโธนี เฟาซี กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์ว่าโอมิครอนจะเป็นเวฟสุดท้ายของการระบาดใหญ่หรือไม่

“ผมหวังว่าจะเป็นอย่างนั้น แต่มันจะเป็นอย่างนั้นก็ต่อเมื่อเราไม่พบตัวแปรอื่นที่หลีกเลี่ยงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของตัวแปรก่อนหน้า” เฟาซี กล่าว

CHINA test covid-19
(Photo by STRINGER / AFP)

ทั้งนี้ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรย์ซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การติดเชื้อรายใหม่กำลังพุ่งถึงจุดสูงสุดในบางประเทศ สร้างความหวังว่าเวฟโอมิครอนที่เลวร้ายที่สุดจะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ระบบบริการสุขภาพยังอยู่ภายใต้แรงกดดันจากเวฟการระบาดดังกล่าว

“ฉันขอให้ทุกคนพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ เพื่อที่คุณจะได้ช่วยลดแรงกดดันจากระบบ นี่ไม่ใช่เวลายอมแพ้”

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเตือนซ้ำ ๆ ว่า การกระจายวัคซีนอย่างไม่เท่าเทียมกันทั่วโลกทำให้อัตราการสร้างภูมิคุ้มกันต่ำในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประชากรจำนวนมากเสี่ยงต่อการเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ องค์การอนามัยโลกได้ตั้งเป้าหมายให้ทุกประเทศฉีดวัคซีน 40% ของประชากรทั้งหมดภายในสิ้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม 92 ประเทศไม่บรรลุเป้าหมายดังกล่าวตามข้อมูลของ WHO

]]>
1370888
‘WHO’ คาด ประชากรยุโรป 50% จะติด ‘โอมิครอน’ ในอีก 2 เดือน https://positioningmag.com/1370131 Wed, 12 Jan 2022 04:19:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370131 Dr. Hans Kluge ผู้อำนวยการ WHO ประจำภูมิภาคยุโรป อ้างข้อมูลจาก Institute for Health Metrics and Evaluation ในซีแอตเทิล ว่า ประชากรมากกว่า 50% ในยุโรปจะติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่แพร่ระบาดในวงกว้างในช่วงสองเดือนข้างหน้า ขณะที่เอเชียกลางจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน

“โอมิครอนกำลังกลายเป็นไวรัสที่ระบาดอย่างรวดเร็วในยุโรปตะวันตกและขณะนี้กำลังแพร่กระจายไปยังคาบสมุทรบอลข่าน โดยภูมิภาคนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 7 ล้านคนในสัปดาห์แรกของปี 2022 เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในช่วงสองสัปดาห์ ด้วยความเร็วในอัตรานี้ ประชากรยุโรปมากกว่า 50% จะติดเชื้อโอไมครอนในอีก 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า

โอมิครอนได้แพร่ระบาดในอัตราความเร็วที่น่าตกใจ ส่งผลให้บางประเทศได้ออกมาตรการการจำกัดทางสังคมอีกครั้งเพื่อพยายามควบคุม อย่างไรก็ตาม หลักฐานเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยกว่าตัวแปรเดลตา แต่ถึงอย่างนั้น ระบบสาธารณสุขของนานาประเทศก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะมีโรงพยาบาลหลายแห่งต้องประกาศสถานการณ์วิกฤติ เนื่องจากขาดแคลนพนักงานและจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จอห์น เบลล์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของรัฐบาลสหราชอาณาจักร กล่าวว่า โอมิครอนไม่ใช่โรคแบบเดิมกับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ แต่จะดูเหมือนไม่รุนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องให้ออกซิเจน และผู้ป่วยหลายคนใช้เวลาค่อนข้างสั้นในการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 วัน

“ฉากอันน่าสยดสยองที่เราเห็นเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว คือ หอผู้ป่วยหนักเต็ม ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร และเราควรประเมินในแง่ร้ายว่ามันจะเกิดขึ้นอีกได้”

ทั้งนี้ Kluge ระบุเมื่อว่า อัตราการเสียชีวิตยังคงที่และยังคงสูงที่สุดในประเทศที่มีอัตราการเกิด COVID-19 สูง

Source

]]>
1370131
WHO เตือนประเทศร่ำรวย อย่า ‘กักตุนวัคซีน’ ฉีดกระตุ้นสู้โอมิครอน กระทบประเทศยากจน https://positioningmag.com/1366359 Fri, 10 Dec 2021 11:23:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366359 องค์การอนามัยโลก เตือนเหล่าประเทศร่ำรวย อย่า ‘กักตุนวัคซีนโควิด’ สำหรับฉีดกระตุ้นเพื่อสกัดสายพันธุ์โอมิครอน เพราะจะส่งผลไปยังประเทศยากจนที่ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ

ประเทศตะวันตกกำลังเริ่มออกมาตรการฉีดวัคซีน ‘เข็มกระตุ้น’ หรือ booster shots โดยมุ่งไปที่ประชนชนกลุ่มเสี่ยง
ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ความน่ากังวลของโอมิครอนที่มีการเเพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้บางประเทศเริ่มขยายการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ยังประชากรกลุ่มอื่นๆ ด้วย

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated Vaccine)

Kate O’Brien ผู้อำนวยการด้านวัคซีนของ WHO กล่าวว่า ในช่วงที่เรากำลังมุ่งหน้าไปสู่สถานการณ์ใดก็ตาม
ที่กำลังจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับโอมิครอน มีความเสี่ยงที่อุปทานของวัคซีนทั่วโลกจะกลับไปสู่ประเทศรายได้สูงที่กักตุนวัคซีนไว้อีกครั้ง ซึ่งนั้นจะไม่เป็นผลดีต่อการป้องกันโรคระบาด เว้นแต่ว่าจะมีการกระจายวัคซีนไปยังทุกประเทศจริงๆ

ปัจจุบันวัคซีนโควิดที่มีอยู่ ประสบผลสำเร็จในการช่วยชะลอการแพร่ระบาดของโควิดและลดจำนวนผู้ป่วยหนักลงได้
เเต่ในประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำนั้น ยังคงเผชิญความเสี่ยงมากกว่าในสถานการณ์ที่มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์
เเละปัญหาสำคัญของโครงการ COVAX คือวัคซีนจำนวนมากที่ได้รับบริจาคจากประเทศร่ำรวย มักจะมีอายุในการเก็บรักษาที่ค่อนข้างสั้น

ด้านไฟเซอร์และไบออนเทค ประกาศว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสูตรของบริษัท 2 เข็ม จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโอมิครอนลดลง อย่างมีนัยสำคัญ แต่การฉีดวัคซีน ‘เข็ม ‘ จะเพิ่มภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น 25 เท่า

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1366359
ราคา ‘น้ำมัน’ ร่วงต่ำสุดในรอบ 2 เดือน เพราะโควิดพันธุ์ใหม่ระบาด อาจกระทบ ‘การเดินทาง’ https://positioningmag.com/1364279 Sun, 28 Nov 2021 12:29:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364279 ราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบกว่าสองเดือน เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้ โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือนว่าสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถต้านวัคซีน ทำให้เกิดความกลัวว่าความต้องการเดินทางจะชะลอตัว สวนทางกับการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ราคาน้ำมันดิบลดลง 10.24 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 13.06% ทำให้ราคาอยู่ที่ 68.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ต่ำกว่าระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีความกังวลว่าการเดินทางจะลดลงและการล็อกดาวน์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้อาจกระทบกับอุปสงค์ ในขณะที่อุปทานกำลังจะเพิ่มขึ้น

“ดูเหมือนว่าการค้นพบตัวแปร COVID-19 ในแอฟริกาใต้ตอนใต้กำลังทำให้ตลาดทั่วโลกตื่นตระหนก เยอรมนีจำกัดการเดินทางจากหลายประเทศในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว สิ่งสุดท้ายที่กลุ่มน้ำมันต้องการก็คือ ภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวของการเดินทางทางอากาศ” จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนของ Again Capital กล่าว

เมื่อวันอังคารที่ Biden Administration ประกาศแผนการที่จะปล่อยน้ำมัน 50 ล้านบาร์เรลจาก Strategic Petroleum Reserve การเคลื่อนไหวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระดับโลก โดยประเทศที่ใช้พลังงานมากในการระงับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของปี 2021 อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร จะออกเงินสำรองบางส่วนเช่นกัน

“การเทขายออกนี้ เกิดจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานล้นเกินจำนวนมากในช่วงต้นปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นจากการปล่อยสำรองน้ำมันเชิงกลยุทธ์ในสหรัฐฯ และประเทศผู้บริโภครายใหญ่อื่น ๆ ที่กำลังจะมีขึ้น บวกกับปริมาณน้ำมันใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

ทั้งนี้ โอเปกและพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันมีกำหนดจะประชุมกันในวันที่ 2 ธันวาคม เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการผลิตในเดือนมกราคมและต่อ ๆ ไป กลุ่มบริษัทได้ค่อย ๆ ผ่อนปรนการลดกำลังการผลิตครั้งประวัติศาสตร์ตามที่ตกลงกันไว้ในเดือนเมษายน 2020 เนื่องจากไวรัส COVID-19 ทำให้อุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมลดลง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม กลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ OPEC+ ได้ส่งคืน 400,000 บาร์เรลต่อวันสู่ตลาดในแต่ละเดือน

กลุ่มบริษัทยังคงค่อย ๆ ลดกำลังการผลิตลง แม้จะมีการเรียกร้องจากทำเนียบขาวและหน่วยงานอื่น ๆ ให้เพิ่มกำลังการผลิตเนื่องจากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี ราคาน้ำมันดิบล่วงหน้า West Texas Intermediate แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีในเดือนตุลาคม ขณะที่ Brent พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี

Source

]]>
1364279
‘WHO’ ชี้ 99% ของผู้ติดเชื้อโควิดเป็นสายพันธุ์ ‘เดลตา’ พร้อมเตือนการ์ดอย่าตก หลังผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5% https://positioningmag.com/1362449 Wed, 17 Nov 2021 08:30:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362449 COVID-19 สายพันธุ์เดลตา ตรวจพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันสายพันธุ์ดังกล่าวกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการติดเชื้อทั่วโลก คิดเป็น 99% เนื่องจากสายพันธุ์เดลตา สามารถแพร่หลายมากกว่าสายพันธุ์อื่น 

มาเรีย แวน เคอร์โฮฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลกด้านโควิด กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เกือบทั้งหมด 900,000 รายทั่วโลก ในช่วง 60 วันที่ผ่านมา มีต้นตอมาจากสายพันธุ์เดลตา โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วทั่วโลกในขณะนี้ มีสัดส่วนหลัก ๆ มาจากฝั่ง ยุโรป โดยคิดเป็น 60% ของจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่มีมากกว่า 3.3 ล้านราย ทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

“สายพันธุ์เดลตามีอิทธิพลมากจริง ๆ และปัจจุบันก็พบว่ามันมีสองรูปแบบที่น่าสนใจ ได้แก่ mu และ lambda ที่เราได้ติดตาม”

สัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มีจำนวนเกือบ 50,000 ราย เพิ่มขึ้น 5% โดยกว่าครึ่งมาจากยุโรป การใช้หน้ากากอนามัยที่ลดลงและการเว้นระยะห่างทางสังคม กลายเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การเข้าสู่ฤดูหนาว จะยิ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยด้านทางเดินหายใจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ซึ่งรวมถึงไข้หวัดใหญ่และเชื้อโรคอื่น ๆ

“การระบาดใหญ่กำลังไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องในขณะนี้” มาเรีย แวน เคอร์โฮฟ กล่าว

ปัจจุบัน บางประเทศในยุโรปกำลังเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรง อาทิ เยอรมนี สร้างสถิติผู้ป่วยใหม่เกือบ 39,300 รายในวันจันทร์เป็นประวัติการณ์โดยเฉลี่ย 7 วัน เพิ่มขึ้นเกือบ 40% จากสัปดาห์ก่อน

ด้าน สหราชอาณาจักร มีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 38,500 ราย ในวันจันทร์โดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 13% จากสัปดาห์ก่อน ค่าเฉลี่ย 7 วันในฝรั่งเศสและอิตาลี ก็เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เช่นกัน

รัสเซีย ยังพบการระบาดของไวรัสในระดับสูงโดยเฉลี่ย 7 วัน โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,199 คน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 7 วัน มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 38,000 ราย ลดลงมากกว่า 2%

Source

]]>
1362449
WHO ขึ้นทะเบียนวัคซีน “Covaxin” ของอินเดียแล้ว! ประสิทธิภาพป้องกัน 78% https://positioningmag.com/1361719 Fri, 12 Nov 2021 09:06:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361719 วัคซีนตัวแรกที่พัฒนาโดยบริษัทอินเดีย “Covaxin” (โคแวกซิน) ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินจาก WHO แล้ว โดยรับรองประสิทธิภาพที่ 78% และยังไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัย ถือเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายตัวที่สามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนต่อจาก Sinovac และ Sinopharm

องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองให้วัคซีน Covaxin หรือรหัสชนิดวัคซีน BBV152 เป็นวัคซีนที่สามารถใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน หลังจากผ่านการทดลองเฟส 3 เรียบร้อย โดยระบุว่าวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 78% หลังฉีดครบสองโดสไปเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน รวมถึงยังไม่มีรายงานข้อกังวลด้านความปลอดภัย

วัคซีน Covaxin เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่เกิดจากความร่วมมือพัฒนาของสามสถาบัน ได้แก่ บริษัท บารัต ไบโอเทค, สภาวิจัยด้านการแพทย์แห่งอินเดีย และ สถาบันไวรัสวิทยาแห่งชาติของอินเดีย

ถือเป็นวัคซีนตัวที่ 8 ที่ได้รับการรับรองจาก WHO ตามหลังวัคซีน Pfizer/BioNTech, Moderna, AstraZeneca, Johnson&Joshnson, Sinopharm และ Sinovac

โดยองค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า วัคซีนเชื้อตายนี้มีความเหมาะสมอย่างมากกับประเทศรายได้ต่ำจนถึงรายได้ปานกลาง เนื่องจากการจัดเก็บง่ายกว่า แตกต่างจากวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีอื่นซึ่งมักจะต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัด ทำให้การขนส่งยากลำบากในประเทศเหล่านั้นและต้นทุนสูง

อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีรายงานข้อกังวลด้านความปลอดภัย แต่ต้องพึงระวังด้วยว่าการทดลองที่ผ่านมาของ Covaxin มีเฉพาะในอินเดียเท่านั้น ทำให้ความหลากหลายด้านชาติพันธุ์ผู้ทดลองใช้วัคซีนจะค่อนข้างต่ำ

รวมถึงผลการทดลองวัคซีนตัวนี้มาจากช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 จนถึงมกราคม 2021 หรือเมื่อเกือบ 1 ปีก่อน ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตา แต่นักวิจัยได้ศึกษาในภายหลัง พบว่าคนไข้บางคนในกลุ่มทดลองดังกล่าวติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอยู่ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้ยังตอบสนองกับ Covaxin แต่ประสิทธิภาพจะต่ำลง

ก่อนหน้าที่ WHO จะรับรอง Covaxin ได้รับการรับรองให้ใช้งานแล้วใน 17 ประเทศ เช่น อินเดีย เนปาล หมู่เกาะมอริเชียส อิหร่าน ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก ปารากวัย กายานา ซิมบับเว เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทยเราก็เคยมีการเปิดเจรจากับบารัต ไบโอเทคเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าตามมา

Source

]]>
1361719
กว่า 50 ประเทศ ‘พลาดเป้า’ ฉีดวัคซีนโควิดยังไม่ถึง 10% ตามที่ WHO หวังไว้ https://positioningmag.com/1354599 Sun, 03 Oct 2021 09:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354599 กว่า 50 ประเทศทั่วโลกพลาดเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดส ให้ได้อย่างน้อย 10% ของประชากร ภายในเดือนก.. ตามที่องค์การอนามัยโลกเคยตั้งความหวังไว้

สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยยากจนชัดเจนขึ้น รวมไปถึงปัญหาความล่าช้าของโครงการ Covax

โดยประเทศที่พลาดเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเเอฟริกา ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครบสองเข็มเเล้วเเค่ 4.4% เท่านั้น

ขณะที่สหราชอาณาจักร เกือบ 66% ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ส่วนสหภาพยุโรปฉีดไปได้เเล้ว 62% และในสหรัฐอเมริกาที่ 55%

จะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ฉีดวัคซีนได้ล่าช้า มักจะเป็นประเทศรายได้ต่ำ เผชิญปัญหาด้านการจัดหาวัคซีน หรือบางประเทศก็มีความขัดเเย้งหรือสงครามกลางเมือง อย่าง เยเมน ซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน และเมียนมา อีกทั้งประเทศอื่นๆ อย่าง เฮติ ก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ซึ่งทำให้การกระจายวัคซีนเป็นเรื่องที่ยากมาก

เเต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีบางเเห่งถือว่ามีฐานะร่ำรวยเเละมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไต้หวัน ที่เผชิญปัญหาการส่งมอบที่ล่าช้าเเละปัญหาอื่นๆ อย่างความขัดเเย้งทางการเมือง ทำให้จนถึงขณะนี้มีอัตราประชากรได้รับวัคซีนโควิดครบสองโดสเเล้วยังไม่ถึง 10%

เช่นเดียวกับเวียดนาม ประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่เคยมียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำเเห่งหนึ่งของโลก จนกระทั่งต้องเจอการระบาดระลอกใหม่ที่ต้องคุมเข้มมาตรการล็อกดาวน์จนต้องปิดโรงงานผลิตไปจำนวนมาก เเละตอนนี้ก็ยังฉีดวัคซีนครบโดสได้ไม่ถึง 10%

ในทวีปแอฟริกา มีเพียง 15 จาก 54 ประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมาย 10% ได้ ขณะที่ยังมีประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของทวีปนี้ที่ได้รับวัคซีนน้อยกว่า 2% ของประชากรทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นยังมี 2 ประเทศอย่าง บุรุนดีเเละเอริเทรีย ที่ยังไม่เริ่มโครงการฉีดวัควีนด้วยซ้ำ

ส่วนประเทศขนาดใหญ่บางประเทศ ที่มีประชากรจำนวนมากก็ไม่ได้บรรลุเป้าหมายนี้มากนัก โดยอียิปต์ มีประชาชนเพียง 5% ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนเอธิโอเปียและไนจีเรียต่างมีไม่ถึง 3%

หลายประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือปานกลาง และสามารถจัดหาวัคซีนโดยตรงจากผู้ผลิต” Matshidiso Moeti ผู้อำนวยการภูมิภาค WHO Africa กล่าว

เมื่อต้นปัที่ผ่านมา ประเทศยากจนต่างๆ ประสบปัญหาความล่าช้าในการรับวัคซีนบริจาคผ่าน Covax ขององค์การอนามัยโลก แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนก..และส..

โดยปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโครงการ Covax คือหลายประเทศในแอฟริกา กำลังพึ่งพาวัคซีนจาก Serum Institute of India ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

อินเดียระงับการส่งออกวัคซีนในเดือนเม.. เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในประเทศ หลังมียอดติดเชื้อพุ่งสูง และผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ต่างประสบปัญหาในการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่วัคซีนที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (G7) รวมถึงอียู ให้คำมั่นว่าจะให้มากกว่า 1,000 ล้านโดสให้กับโครงการ Covax เเต่ตอนนี้ยังมีการส่งมอบน้อยกว่า 15% ดังนั้นเป้าหมายการฉีดวัคซีนครบโดสให้ได้ 40% ของประชากรโลกภายในสิ้นปีขององค์การอนามัยโลกก็ยิ่งจะทำได้ยากขึ้น

 

 

ที่มา : BBC 

 

]]>
1354599