จับตาเทรนด์การท่องเที่ยวไทย 2559 โอกาสที่สดใสของธุรกิจ Online Travel Agency

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวไทยเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาจากทางยุโรป และสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่ค่อยนิ่งอยู่บ้าง แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างชาติก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
 
ในประเทศไทย จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติตลอดปี 2558 มีจำนวน 29.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 20.4 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2557 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 24.8 ล้านคน คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2559 ไม่ต่ำกว่า 31 ล้านคน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยมากที่สุด คือนักท่องเที่ยวในแถบเอเชียตะวันออกอย่าง จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี เดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าน่าจะมาท่องเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 8 ล้านคน ในปี 2559 นี้
 
 
นับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทยมีจำนวนสูงเป็นอันดับที่ 1 อย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในปีที่ 2557 ที่นักท่องเที่ยวจีนหดตัวค่อนข้างมากในช่วงครึ่งปีแรก แต่ก็ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับที่ 1 ของนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางผ่านบริษัทนำเที่ยว และได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับที่ 5 ของนักท่องเที่ยวจีนทั้งหมด 
 
ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากฝั่งยุโรป จะนิยมมาท่องเที่ยวในไทยช่วงต้นปีกับปลายปี ดังกราฟข้างล่าง โดยมีรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนใกล้เคียงกันจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ช่วยให้การวางแผนทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวจากยุโรปทำได้ง่ายขึ้น
 
 
นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านสายการบินมากขึ้น
 
จากการเปิดตัวของสายการบินราคาประหยัดในหลากหลายเส้นทางช่วยกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางผ่านสายการบินภายในประเทศ เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ถึง 23.19 เปอร์เซ็นต์ โดยจุดหมายปลายทางยอดนิยมอย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ ก็มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นของจำนวนนักเดินทาง มีเพียงสนามบินเชียงรายที่มีจำนวนนักเดินทางที่ลดลง 8.46 เปอร์เซ็นต์ เพราะได้รับผลกระทบจากข่าวแผ่นดินไหวเมื่อปีก่อนส่งผลให้นักเดินทางจากต่างชาติลดน้อยลง
 
 
ดัชนีราคาห้องพักโรงแรมในแถบเอเชียราคาลดลง
 
 
ข้อมูลจาก Hotel Price Index™ (HPI™) เผยว่าราคาที่พักในโรงแรมทั่วเอเชียในปี 2558 ลดลงโดยเฉลี่ยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์จากปี 2557 ทำให้จุดหมายปลายทางในทวีปเอเชีย ดึงดูดความสนใจจากนักเดินทางทั่วโลก โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศยอดนิยมทั้ง 10 ของคนไทยก็มีราคาต่ำลงอย่างน้อย 3 เปอร์เซ็นต์     
 
1. โตเกียว (ญี่ปุ่น) 
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 4,472 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 5,328 บาท ลดลง 16%
 
2. โอซากา (ญี่ปุ่น)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 3,740 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 3,933 บาท ลดลง 5%
 
3. สิงคโปร์
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 4,659 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 5,698 บาท ลดลง 18%
 
4. ฮ่องกง
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 4,831 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 5,194 บาท ลดลง 7%
 
5. โซล (เกาหลีใต้)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 3,195 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 4,173 บาท ลดลง 23%
 
6. กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 2,026 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 2,795 บาท ลดลง 28%
 
7. ลอนดอน (อังกฤษ)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 8,334 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 10,080 บาท ลดลง 17%
 
8. ปารีส (ฝรั่งเศส)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 6,259 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 7,784 บาท ลดลง 20%
 
9. เสียมราฐ (กัมพูชา)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 1,802 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 1,782 บาท เพิ่มขึ้น 1%
 
10. นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)
ราคาเฉลี่ยปี 2558 = 8,648 บาท ราคาเฉลี่ยปี 2557 = 8,941 บาท ลดลง 3%
 
สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการลดราคามากคือ นิวยอร์ก (อันดับ 10) ที่ราคาโรงแรมลดลงเพียง 3%, โอซากา (อันดับ 2) ที่ลดลง 5% และฮ่องกง (อันดับ 4) ที่ลดลงเพียง 7% โดยจุดหมายปลายทางต่างประเทศที่คนไทยนิยมที่ราคาโรงแรมไม่ลดลงเลยคือ เสียมราฐ ซึ่งกลับมีราคาห้องพักเพิ่มขึ้น 1% จาก 1,782 บาท เป็น 1,802 บาท  
 
โอกาสของธุรกิจ Online Travel Agency (OTA)
 
เอเย่นต์รับจองตั๋วเครื่องบินและที่พักแบบออนไลน์ (OTA) ถือว่าเป็นตัวกลางที่มีบทบาทในธุรกิจการท่องเที่ยวยุคใหม่ เพราะตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคดิจิตอล ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญการจองตั๋วผ่านทาง OTA มักจะมีโปรโมชั่นราคาที่พิเศษกว่าการจองตั๋วโดยตรงแบบปกติจากทางสายการบินเองอีกด้วย ทำให้ที่ผ่านมามี OTA หลายรายที่ตบเท้าเข้ามาทำการตลาดในประเทศไทย
 
 
ล่าสุด Traveloka บริษัทจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และถือเป็น OTA ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เข้ามาทำการตลาดในไทยเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้ Traveloka มีสาขารวมทั้งหมด 6 ประเทศ (ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) ให้บริการในการรับจองครอบคลุมสายการบินในไทยครบทุกสายการบิน สามารถใช้งานผ่านเว็บไซต์ และ Mobile Application ที่มีให้ดาวน์โหลดทั้งระบบ iOS และ Android
 
เจาะจุดเด่นของ Traveloka
 
โปรโมชั่นแรง! ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา มีการออกโปรโมชั่นส่วนลดกระชากใจ ลด 50% ทุกเส้นทาง ทุกเที่ยวบิน หรือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างญี่ปุ่นก็มีการออกโปรฯ มายั่วใจในราคาสุดคุ้ม รวมถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ความต้องการในการเดินทางและท่องเที่ยวเพิ่มสูงกว่าช่วงปกตินั้น Traveloka ก็มีโปรฯ ออกมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน  
 
จองง่าย จ่ายสะดวก นอกจากช่องทางการจองผ่านเว็บฯ และโมบายแอปพลิเคชั่นแล้ว ยังมี TravelokaQuick ช่วยคุณทำการจอง ชำระ และรับเอกสารการจองได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที! จองเสร็จสามารถเลือกรูปแบบการชำระเงินได้หลากหลายช่องทางอีกด้วย
 
ครอบคลุมทุกสายการบิน ไม่รวมสายการบินเหมาลำหรือ สายการบินรายเล็กมากๆ
 
ราคาจริงใจ เห็นเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น ไม่มีค่าธรรมเนียมการจอง ชำระตามราคาที่แสดง
 
จุดที่ยังต้องพัฒนา
 
จำนวนเส้นทางเที่ยวบินไปแถบยุโรปค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็น Startup ที่เน้นในแถบเอเชียเป็นหลัก
 
เวลาในการแสดงผลขณะหาข้อมูลสายการบินยังช้าอยู่ ถ้าเทียบกับการจองตรงกับสายการบิน เนื่องจากว่าทางระบบต้องไปเก็บข้อมูลจากทุกสายการบินในครั้งเดียว
 
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยโดยรวมแล้ว Traveloka แม้จะเป็นสตาร์ทอัพหน้าใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2555 และเข้ามาทำการตลาดในไทยเมื่อปลายปี 2558 ที่ผ่านมา แต่จากจุดแข็งที่มีอยู่ บวกกับการท่องเที่ยวโลกที่คาดว่าจะขยายตัว, สเถียรภาพการเมืองภายและนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ  ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้บริษัทรับจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมแบบออนไลน์อย่าง Traveloka มีโอกาสที่สดใสในการแข่งขันในธุรกิจท่องเที่ยวนี้อย่างแน่นอน
 
 
 
ข้อมูลอ้างอิงจาก: 
เว็บไซต์กรมการท่องเที่ยว http://newdot2.samartmultimedia.com
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง http://www.immigration.go.th
เว็บไซต์บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด http://www.airportthai.co.th
 

ข้อมูลเพิ่มเติม
เว็บไซต์ทราเวลโลก้า: www.traveloka.com
เฟซบุ๊ก: facebook.com/Traveloka