อีริคสัน ได้เปิดเผยรายงาน Ericsson Mobility Report และแนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย
- ประเทศไทยจัดเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศอันดับต้นๆ ที่มีตัวเลขผู้ใช้งานโมบายเพิ่มเข้ามาในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2559
- ตัวเลขการใช้งานสมาร์ทโฟนในประเทศไทยคาดว่าจะสูงถึง 50 ล้านเมื่อถึงสิ้นสุดปี พ.ศ. 2559
- เกือบครึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยนั้นใช้เข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิรค์ บริการส่งข้อความและบริการชมวิดีโอออนไลน์เป็นประจำทุกวัน
รายงาน Mobility Report ฉบับล่าสุดของ Ericsson (NASDAQ: ERIC เปิดเผยให้เห็นว่าจำนวนอุปกรณ์ Internet of Things หรือ IoT นั้นกำลังจะแซงหน้าโทรศัพท์มือถือและกลายเป็นอุปกรณ์ที่จะมีการเชื่อมต่อที่มีมากที่สุดภายในปี พ.ศ. 2561
โดยระหว่างปี 2558 – 2561 จำนวนอุปกรณ์ IoT คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 23% ต่อปี โดยอุปกรณ์ IoT ที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายมือถือ เซลลูลาร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า Cellular IoT นั้นคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด โดยจาก 2,800 ล้านเครื่องมือทั้งหมดที่จะมีการเชื่อมต่อในปี 2564 เกือบ 1,600 ล้านเครื่องจะเป็นเครื่องมือ IoT
คามิลล่า โวเทียร์ หัวหน้าของ Ericsson ประเทศไทย กล่าวว่า การที่เทคโนโลยี IoT เติบโตอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากมีการแข่งขันทางด้านราคาของอุปกรณ์สูงขึ้น และมีการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ IoT นั้นได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญของหลายๆ อุตสาหกรรมแล้วด้วย และในขณะเดียวกันเครือข่าย 4G/LTE ครอบคลุมให้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ได้เปิดโอกาสให้หลายๆ อุตสาหกรรมสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่กิจการ สินค้าและบริการ เพื่อมอบประสบการณ์ที่น่าทึ่งให้แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
คนไทยใช้สมาร์ทโฟนแซงโทรพื้นฐานสิ้นปี ’59
ตัวเลขการใช้งานสมาร์ทโฟนในประเทศไทยจะยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะแซงหน้าโทรศัพท์พื้นฐานในปีนี้ (2559) และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2564 ตัวเลขสมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าหรือประมาณ 80 ล้านการใช้งานจากเกือบ 40 ล้านในปี พ.ศ. 2558
โดยทั่วโลก เกือบร้อยละ 80 ของโทรศัพท์ที่ขายไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ล้วนเป็นสมาร์ทโฟนเมื่อเทียบกับประมาณ 75% ของเมื่อไตรมาสสุดท้ายปี พ.ศ. 2558
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ตัวเลขการใช้งานนั้นคาดว่าจะเติบโตขึ้นในอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ 15 % จนถึงปี พ.ศ. 2564
การเติบโตของเครือข่ายบรอดแบนด์โมบายนั้นมีที่มาจากหลายปัจจัยเช่นราคาเครื่องมือที่ถูกลงและความนิยมของแอปพลิเคชั่นที่มีการใช้และส่งดาต้าข้อมูลในปริมาณมาก อย่างเช่นแอปพลิเคชั่น เล่นวิดีโอ
50% ผู้ใช้สมาร์ทโฟนส่งข้อความ-ดูวิดีโอออนไลน์ทุกวัน
ผู้บริโภคนั้นหันมาให้ความสนใจกับการใช้งานแอปพลิเคชั่นบนเครือข่ายจริงหรือ App coverage มากกว่าการโทรเข้าออกหรือบริการด้านวอยซ์ Voice coverage
ปัจจุบันการใช้งานด้านวอยซ์นั้นมีน้อยกว่าร้อยละ 5 ของทราฟฟิกทั้งหมดที่รับส่งบนเครือข่ายโมบาย แม้คุณภาพการใช้บริการวอยซ์ที่ดีจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ประสิทธิภาพของเครือข่ายในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ นั้นคือสิ่งที่ผู้บริโภคต่างต้องการ ดังที่จะเห็นได้ในรายงานว่า ในประเทศไทย เกือบครึ่งของจำนวนผู้บริโภคที่มีเครื่องมือสมาร์ทดีไวซ์นั้นต้องการเข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิรค์ ใช้บริการส่งข้อความและรับชมวิดีโอทางออนไลน์เป็นกิจวัตรประจำวัน
สิ้นปี ’59 คนไทยเข้าถึงโมบายบรอดแบนด์ 100%
รายงานกล่าวว่าตัวเลขการใช้งานโมบายในภูมิภาคนี้จะมีจำนวนมากกว่า 1,200 ล้านรายในปี 2564 ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากกว่า 4% ต่อปี ระหว่างปี 2558 และปี 2564 และที่น่าสนใจอีกคืออัตราการเข้าถึงบริการโมบายบรอดแบนด์ในประเทศไทย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ นั้นจะเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปีนี้
นอกเหนือจากนี้ กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางในภูมิภาคนี้ยังเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนความต้องการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูงในเขตที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างประเทศไทยมาเลเซีย, อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ครัวเรือนไทยเข้าถึงฟิกส์บรอดแบนด์ 40%
โดยตัวเลขการใช้งาน “อินเทอร์เน็ตฟิกซ์บรอดแบนด์” (อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง) ของครัวเรือนไทยและกิจการขนาดเล็กและกลางนั้นมีอัตราการเข้าถึงบริการเกือบร้อยละ 30 ในปี 2015 และคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 40 % ในปี 2021
ตัวเลขการใช้งานเครือข่าย 4G/LTE จะยังคงสูงขึ้นในภูมิภาคนี้และคาดว่าจะสูงถึ ง 100 ล้านรายในปี 2559
โซเชียลมีเดียเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทย
แบ่งปัน-ร่วมมือ
บทวิเคราะห์ในรายงาน ConsumerLab ยังได้แสดงด้วยว่า ผู้บริโภคชาวไทยนั้นกำลังมีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบสังคมเครือข่าย โดยในสังคมเครือข่ายนั้นชาวไทยจะวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น มีการแบ่งปันร่วมมือและบริหารตนเองมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราเข้าสร้างสรรค์และร่วมมือกันและกัน
อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญในสังคมเครือข่ายนั้นคือโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่ทรงพลังและราคาเข้าถึงได้ ซึ่งสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลและสร้างความร่วมมือโดยเครือข่ายโมบายนั้นจะเป็นจะเป็นสื่อกลางด้านความรู้และรากฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ ในอนาคต