ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา พร้อมทั้งวันหยุดยาว 5 วัน พบว่า
- จะมีเงินสะพัด 5,773.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% สูงสุดในรอบ 5 ปี
- ประชาชนมีการใช้จ่ายเพื่อทำบุญมากขึ้น ทั้งการซื้อของตักบาตร ทำบุญ ถวายเทียนพรรษา ทำทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา ซื้อสลากเสี่ยงโชค รวมไปถึงการเดินทางท่องเที่ยว รับประทานอาหารนอกบ้าน และกลับบ้านต่างจังหวัด
- ในจำนวนนี้เป็นการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเดียว 10,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.05% ของจีดีพี
เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าๆ
- แม้ตัวเลขจะไม่มากนักแต่เป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าประชาชนมั่นใจว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขึ้นแล้วจึงพร้อมที่จะจับจ่ายใช้สอย โดยศูนย์ฯ มองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ หรือเป็นรูปตัวยู ช่วงแอ่งกระทะ โดยคาดว่าไตรมาส 3 เป็นต้นไปเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนขึ้น
- ปัจจุบันประชาชนเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วตั้งแต่ไตรมาส 2 แต่ฟื้นแบบอ่อนๆ
- ไตรมาส 3 เชื่อว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวมากขึ้น จากปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลายลงไป สินค้าเกษตรราคาดีขึ้น ทั้งข้าว ยาง อ้อย มีส่วนทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น กล้าใช้จ่าย ยอดซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น ช่วยหนุนให้บรรยากาศคึกคักขึ้น ขณะที่การท่องเที่ยวยังดีอยู่ และการเบิกจ่ายภาครัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เริ่มลงไปสู่พื้นที่แล้ว ทำให้เศรษฐกิจท้องที่ดีขึ้นตามไปด้วย
- ประชาชนความกังวลเกี่ยวกับกรณีเบร็กซิต และการลงประชามติรัฐธรรมนูญ โดยมองว่าไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น ในช่วงครึ่งปีหลังต้องการให้รัฐบาลเร่งเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นว่ามาตรการเพิ่มวันหยุดยาว มาตรการช้อปช่วยชุมชนนั้นจะมีผลต่อเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมาก โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยว มีสินค้าโอทอป น่าจะทำให้เงินสะพัดในพื้นที่ได้มาก 500-1,000 ล้านบาทในช่วง 1 เดือนที่กำหนด หรือสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้นได้ 0.1-0.3% ของจีดีพีพื้นที่ ใช้ประโยชน์จากมาตรการช้อปโอทอปลดภาษี ขอแนะนำให้ผู้ประกอบการชุมชน ติดป้ายว่าสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ พร้อมโชว์ใบลงทะเบียนกับกรมพัฒนาชุมชน เพื่อให้ประชาชนทราบ ขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบมากขึ้น