แนะ 5 กลยุทธ์สู้ศึกค้าปลีกในยุคโมบายคอมเมิร์ซ

บริษัท แมนฮัตตัน แอสโซซิเอสท์ อินคอปเปอร์เรท (แนสแนค: แมนฮัตตัน) ผู้ให้บริการด้านซัพพลายเชนเชิงพาณิชย์ คาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจการค้าปลีกที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เน้นการซื้อสินค้าแบบเป็นส่วนตัวมากขึ้น และความแพร่หลายของการใช้บริการโมบายคอมเมิร์ช นำไปสู่ความท้าทายและเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม และกลยุทธ์ของการค้าปลีกในปี 2016 ไปจนถึงปี 2017

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงเป็นภูมิภาคทีมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกที่รวดเร็ว ทางด้านตลาดแรงงานซึ่งรายได้การเติบโตเป็นไปตามที่คาดคิดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในด้านการใช้จ่ายซื้อสินค้าของผู้บริโภค และการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วของร้านค้าปลีก ที่ต้องการตอบสนองต่อความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าอีกด้วย

ริชาร์ด ไรท์, กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมนฮัตตัน แอสโซซิเอสท์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เมื่อลูกค้ามีความต้องการในการซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น ความคาดหวังในการได้รับประสบการณ์การซื้อสินค้าที่เป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น และการเพิ่มขึ้นของการใช้สมาร์ทโฟนในการซื้อสินค้า เป็นผลให้ธุรกิจค้าปลีกมีการปรับเปลี่ยนขั้นพื้นฐานภายในช่วงเวลา 12 เดือนที่จะมาถึงนี้ ปัจจัย 5 ข้อที่ธุรกิจค้าปลีกควรคำนึงถึง ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การช่วยให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ แต่ยังช่วยผลักดันให้ธุรกิจเติบโต และสร้างผลกำไรได้มหาศาล

1. เปิดประสบการณ์ใหม่ในการช้อปปิ้งรูปแบบส่วนตัว

ปิดฉากการซื้อสินค้าแบบไม่มีความรู้ใดๆ เกี่ยวกับสินค้าไปโดยสิ้นเชิง เมื่อย้อนกลับไปดูก่อนหน้ายุคดิจิทัล ที่การซื้อสินค้าแบบส่วนตัวเป็นที่นิยมและประสบความสำเร็จ บรรดาร้านค้าปลีกทั้งหลาย ต่างหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้า เพื่อรองรับความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นของลูกค้า และการให้บริการในการซื้อสินค้าแบบส่วนตัว เพื่อนำเสนอความแตกต่างจากที่ลูกค้าเคยสัมผัสมา

แต่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะเป็นอย่างไรต่อไป? นับตั้งแต่พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป แนวคิดสร้างสรรค์ การคิดค้นสูตรอาหารของแต่ละคน ไปจนถึงการจดรายการส่วนประกอบอาหารจากซูเปอร์มาร์เก็ตจากที่เคยประสบมา ลูกค้ามักได้แรงบันดาลใจมาจากแฟชั่นที่เป็นที่แนะนำ ร้านค้าปลีกต่างๆ จึงมีโอกาสในการปรับเปลี่ยนภายในร้านค้าของตน

เพื่อรับมือกับการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ร้านค้าปลีกจึงควรนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้เพื่อยกระดับการให้บริการ และบริหารจัดการให้เกิดกำไร นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมยังทำให้พนักงานมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างคุณค่าของแบรนด์ และส่งมอบประสบการณ์การให้บริการแบบส่วนตัวได้ในทุกช่องทาง

2. กำหนดหน้าที่ของพนักงานขายในร้านค้า

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าลดราคา หรือสินค้าแบรนด์เนม ร้านค้าปลีกต้องเข้าใจวิธีการสำคัญในการสร้างประสบการณ์ในการซื้อสินค้า และเมื่อลูกค้าให้ความสนใจ พนักงานขายของร้านค้า จะต้องให้ความรู้ และมีทักษะ ในการส่งมอบประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้ หากมีความผิดพลาดอาจส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจ และมีการร้องเรียนตามมา

ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาความไม่พอใจดังกล่าวได้ ด้วยการให้ความรู้แก่พนักงาน ซึ่งพนักงานไม่ควรรู้เพียงแค่ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ แต่เพื่อมอบประสบการณ์การซื้อสินค้าที่ดีให้แก่ลูกค้า พวกเขาจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสต๊อกสินค้า คลังสินค้าและช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งหมด เพื่อให้พนักงานขายสามารถขายสินค้าที่มีอยู่ได้ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่การขายสินค้าที่มีอยู่ในร้านค้าเท่านั้น การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้า และความสามารถในการจัดส่งสินค้า เช่น สามารถจัดส่งได้ในวันถัดไปหลังจากที่สั่งซื้อสินค้า โดยจังส่งให้ที่บ้านจะยิ่งทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น

ภาพจาก : https://www.theguardian.com/business/2014/sep/02/online-shopping-mobiles-overtakes-desktop
ภาพจาก : https://www.theguardian.com/business/2014/sep/02/online-shopping-mobiles-overtakes-desktop

3. ยอมรับในพลังของเจนเนอเรชั่นวาย

จากผลสำรวจพบว่า เจนเนอเรชั่นวาย มีการเชื่อมต่อกับโลกดิจิตัลในอัตราที่สูงขึ้น นั่นหมายความว่า พวกเขาปฏิบัติตัวต่อสมาร์ทโฟน เสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว โดยมักเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งความสามารถในการตอบสนองความต้องการได้แบบทันทีจากโลกออนไลน์เหล่านี้ ทำให้รู้ถึงความต้องการของนักช้อปออนไลน์ที่นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น

ในนี้ที่เป็นยุคเจนเนอเรชั่นวาย เราสามารถนำประสบการณ์ที่รับรู้จากความต้องการของผู้บริโภค มาช่วยพัฒนากลยุทธ์ในการทำธุรกิจค้าปลีกได้ดียิ่งขึ้น ในประเทศไทยคิดเป็นอัตราส่วน 32% ของกลุ่มคนในยุคเจนวาย ที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดระบบการใช้เงินแบบใหม่ นั้นคือ Cashless systems หรือระบบไร้เงินสด และหากร้านค้าปลีกไม่สามารถนำเสนอความสะดวกสบายในระบบชำระเงิน ก็มีโอกาสสูงมากที่จะไม่ได้รับความสนใจจากลูกค้าในกลุ่มเจนวาย

ภาพจาก : https://www.entrepreneur.com/article/241096
ภาพจาก : https://www.entrepreneur.com/article/241096

4. การนำเทคโนโลยีจากสมาร์ทโฟนมาใช้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จทางการค้า

จากผลสำรวจพบกว่า มียอดการซื้อสินค้าผ่านทางสมารท์โฟนถึง 66% มากกว่าจำนวนสถิติของผู้ซื้อสินค้าตามร้านค้าทั่วไป นี่คือความสำเร็จของร้านค้าที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ อย่างไรก็ตาม บทบาทสำคัญของสมาร์ทโฟนที่มีมากกว่านั้นคือ การเป็นช่องทางการชำระเงินค่าสินค้าซึ่งนับเป็นช่องทางที่มีศักยภาพ มากกว่าช่องทางอื่นๆ

นอกจากนี้ ไม่จำเป็นที่การใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตต้องมีให้บริการแก่ลูกค้าเท่านั้น พนักงานขาย ก็สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในการส่งมอบประสบการณ์ในการซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี เพิ่มประสบการณ์การซื้อขายแบบครบวงจรโดยใช้ช่องทางดิจิทัล พนักงานขาย สามารถเข้าถึงแคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ ซึ่งมีประวัติการเข้าชมสินค้าของลูกค้า โดยสามารถดูได้จากช่องทางประวัติสินค้าที่เคยซื้อแล้ว รายการสินค้าที่ต้องการ ตะกร้าสินค้าออนไลน์ และประวัติการคืนสินค้า เป็นต้น ความสามารถต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้เกิดความง่ายในการเลือกซื้อสินค้า และมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะเช็กจำนวนสินค้าคงเหลือได้

3_mobile_commerce

5. การจัดส่งที่รวดเร็ว และการรับคืนสินค้า

การซื้อสินค้าทางช่องทางออนไลน์ และซื้อสินค้าจากร้านค้า ราคาคือสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อจะคำนึงถึงเป็นอันดับแรก โดยวัดได้ 67% ของผู้ซื้อทั้งหมด

สิ่งที่สำคัญถัดมาคือการจัดส่งที่รวดเร็ว วัดได้ที่ 51% และความยืดหยุ่นในการคืนสินค้าอยู่ที่ 42% จัดเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ

จากข้อมูลนี้สามารถสรุปได้ว่า ร้านค้าปลีกส่วนใหญ่ไม่ได้แข่งขันกันที่ราคา จะเน้นการแข่งขันทางด้านความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า นี่คือนโยบายที่จะช่วยตอบแทนลูกค้า และเป็นความสะดวกสบายที่ร้านค้าจะมอบให้แก่ลูกค้าได้

หากเราให้ความสำคัญกับ 5 กลยุทธ์นี้ จะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเพิ่มความเชื่อมั่น ผลกำไร และเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจได้อีกด้วย และเมื่อมีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกทาง จะสามารถทำให้ธุรกิจค้าปลีก ประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่ปี 2016 นี้ เป็นต้นไป