มรสุมการบินไทย

“การบินไทย” เจ็บสาหัส ร่อนลงแรงอย่างเห็นได้ชัดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 จนพนักงานอย่างน้อย 500 คน ต้องถูกจ้างออก เพราะผลขาดทุนเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แม้ในคำชี้แจงผลประกอบการต่อนักลงทุนจะระบุถึงสาเหตุหลักเพราะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 73% และเป็นช่วงโลว์ซีซั่น ที่คนเดินทางลดลง แต่ก็ถือเป็นผลประกอบการที่ลดลงอย่างน่าใจหาย แม้จะส่งสัญญาณมาตั้งแต่ไตรมาสแรกที่ทำกำไรได้เพียง 2,000 ล้านบาทแล้วเท่านั้นก็ตาม

ขณะที่คู่แข่งตลอดกาลของการบินไทยอย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์สไม่เจ็บหนัก และยังทำกำไรได้ถึงกว่า 6,000 ล้านบาท

เกิดอะไรขึ้นกับการบินไทย สายการบินที่เคยเป็นคู่แข่งกับสิงคโปร์แอร์ไลน์สมาแบบสูสี

แม้ทุกสายการบินจะได้รับผลกระทบจากน้ำมัน แต่ “การบินไทย” กำลังออกอาการสาหัสที่สุดในรอบ 48 ปี และชีวิตของ “คน” การบินไทยต้องเข้าสู่สภาพนางฟ้าตกสวรรค์ ไม่ต่างกับสายการบินอื่นๆ เพราะ “เบี้ยเลี้ยง” ที่เป็นรายได้หลักมากกว่าเงินเดือนก็ลดลง

นี่คือผลสะท้อนที่เกิดขึ้นจากบาดแผลเรื้อรังมานานกว่า 10 ปี จาก “ระบบอุปถัมภ์” ที่ทำให้เกิด “คอรัปชั่น” ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ขณะที่สายการบินคู่แข่งมีการบริหารจัดการเข้มแข็ง ทั้งการจัดซื้อเครื่องบิน การบริหารการจัดซื้อน้ำมันโดยซื้อประกันความเสี่ยง (Hedge) และการซื้อล่วงหน้า ทำให้ยังอยู่ในสภาพแข็งแรงได้

เวลาที่ “การบินไทย” กำลังอ่อนแอสุดจากปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้า อาจเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่จะรื้อและทบทวน “จุดอ่อน” ของการบินไทย เพื่อให้ “การบินไทย” ขึ้นสู่ปีที่ 49 ได้อย่างเข้มแข็งกว่าเดิม

รายได้จากเส้นทางบินในแต่ละทวีป เม.ย. – มิ.ย. 51 ของการบินไทย (หน่วย : ล้านบาท)
———————————————————————–
เอเชีย 16,686.31
ยุโรป 12,024.10
แปซิฟิกเหนือ 1,978.59
ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ 4,242.95
แอฟริกา 304.76
————————————————–

ผลประกอบการงวด เม.ย. -มิ.ย. 2551 (หน่วย : ล้านบาท)
—————————————————————
รายการ การบินไทย สิงคโปร์แอร์ไลน์ส
———————————————————————
รายได้ 50,829.56 83,475.00
ค่าใช้จ่าย 59,889.50 77,060.00
กำไร (ขาดทุน) (9,223.89) 6,635.00
————————————————–

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายของการบินไทย งวด เม.ย. – มิ.ย. 51 (หน่วย : บาท)/
ด้านบุคลากร 8,158,368,188
น้ำมันเครื่องบิน 23,557,645,543
บริการทางการบิน 5,361,759,149
สินค้าและพัสดุ 2,294,320,058
เกี่ยวกับนักบินและลูกเรือ 1,778,570,081
ค่าซ่อมแซมและซ่อมบำรุงอากาศยาน 2,977,888,495
ค่าเสื่อมราคา 5,053,600,540
ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่ 778,163,666
เกี่ยวกับการขายและโฆษณา 2,127,110,184
ค่าใช้จ่ายด้านประกันภัย 181,585,691
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่น 2,420,925,656
ค่าตอบแทนกรรมการ 7,509,993
ค่าใช้จ่ายอื่น 159,837,184

คาดรายได้-กำไร (ล้านบาท)
————————————————————————————————————————————-
รายการ ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553
————————————————————————————————————————————-

รายได้จากยอดขาย 210,623 214,873 219,947
กำไรสุทธิ/ขาดทุนสุทธิ -10,719 1,395 3,924
—————————————————————————————————————————————
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์ยูโอบีเคเฮียน

ฐานะการเงินการบินไทย

ปีการเงิน2550
สินทรัพย์รวม 272,086
ส่วนของผู้ถือหุ้น 69,228
ทุนเรือนหุ้น 16,989
รายได้จากการขายและให้บริการ 192,037
กำไรจากการขายและให้บริการ 12,788
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 9,141
กำไรสุทธิ 6,342
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) 19,586

ปีการเงิน 2549
สินทรัพย์รวม 249,034
ส่วนของผู้ถือหุ้น 65,681
ทุนเรือนหุ้น 16,989
รายได้จากการขายและให้บริการ 178,607
กำไรจากการขายและให้บริการ 8,394
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 12,823
กำไรสุทธิ 8,991
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) 18,574

ปีการเงิน 2548
สินทรัพย์รวม 231,638
ส่วนของผู้ถือหุ้น 59,212
ทุนเรือนหุ้น 16,989
รายได้จากการขายและให้บริการ 162,488
กำไรจากการขายและให้บริการ 10,824
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 9,907
กำไรสุทธิ 6,777
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) 18,133

ปีการเงิน 2547
สินทรัพย์รวม 193,211
ส่วนของผู้ถือหุ้น 54,324
ทุนเรือนหุ้น 1,685
รายได้จากการขายและให้บริการ 152,603
กำไรจากการขายและให้บริการ 20,498
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 14,284
กำไรสุทธิ 10,077
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) 19,540

ปีการเงิน 2546
สินทรัพย์รวม 167,978
ส่วนของผู้ถือหุ้น 39,055
ทุนเรือนหุ้น 14,000
รายได้จากการขายและให้บริการ 134,536
กำไรจากการขายและให้บริการ 17,714
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 17,805
กำไรสุทธิ 12,453
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) 17,048

ปีการเงิน 2545
สินทรัพย์รวม 178,410
ส่วนของผู้ถือหุ้น 28,354
ทุนเรือนหุ้น 14,000
รายได้จากการขายและให้บริการ 129,015
กำไรจากการขายและให้บริการ 18,688
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 14,416
กำไรสุทธิ 10,182
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน)

ปีการเงิน 2544
สินทรัพย์รวม 178,262
ส่วนของผู้ถือหุ้น 18,011
ทุนเรือนหุ้น 14,000
รายได้จากการขายและให้บริการ 129,172
กำไรจากการขายและให้บริการ 12,227
กำไรก่อนภาษีเงินได้ 1,229
กำไรสุทธิ 1,929
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน)

หมายเหตุ : หน่วยเป็น ล้านบาท

มรสุมหุ้นการบินไทย (THAI)

กว่า 12 เดือนที่ผ่านมา การบินไทยพบมรสุมทางการเงินหนักหนาที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งมา ด้วย 2 ปัจจัยมหาโหดทั้งราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเพิ่มต้นทุนอย่างสาหัส และค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นต่อเนื่องเพิ่มยอดหนี้สินที่ส่วนใหญ่เป็นสกุลยูโรซึ่งต้องถูกบันทึกเป็นขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนซ้ำเข้าไปอีก

สองมรสุมนี้ทำให้ราคาหุ้น THAI) ลดลงจาก 45 บาท เป็น 15 บาท หรือลดลงถึง 66 % เหลือหนึ่งในสามภายในปีเดียว ทั้งที่ดัชนีรวมตลาดหุ้นไทยหรือ SET Index ปรับลดลงแค่ 20 % เท่านั้น (จากราว 850 จุดเมื่อกลางปีที่แล้ว เป็นราว 680 จุดกลางปีนี้)

กรกฎาคม 2550 @ ราคาหุ้น 45 บาท “พายุใหญ่เริ่มก่อตัว”

ผลประกอบการไตรมาส 3 อ่อนตัว กำไรลดลงถึง 90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จาก 3 ปัจจัยคือ
1. เงินบาทที่แข็งค่าส่งผลให้รายได้รับลดลง
2. ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเกาหลีรายใหญ่หันไปขนส่งทางเรือแทนเพื่อลดต้นทุน ทำให้รายได้จากการขนส่งสินค้าทางอากาศลดลง
3. ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง
จาก 3 ปัจจัยให้เกิดผลกระทบดังนี้
-รายได้ต่อคนต่อกิโลเมตรลดลง 2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็น 2.48 บาท จากเดิม 2.53 บาท
-ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบินเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดถึง 22.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็น 11,585 ล้านบาท จากเดิม 9,457 ล้านบาทต่อไตรมาส

ตุลาคม 2550 @ ราคาหุ้น 40 บาท “เริ่มขึ้นค่าตั๋วและค่าธรรมเนียมน้ำมัน”

เดือนนี้การบินไทยได้เริ่มปรับขึ้นค่าตั๋วโดยสารในเส้นทางบินระหว่างประเทศทุกเส้นทางขึ้นราว 3%
และเริ่มมีการปรับค่าธรรมเนียมน้ำมันในหลายเส้นทางอีกด้วย เช่นเพิ่มขึ้นจาก 65 เหรียญเป็น 75 เหรียญสำหรับเที่ยวบินอเมริกา และเพิ่มขึ้นจาก 50 เหรียญ เป็น 60 เหรียญ สำหรับเที่ยวบินไปนิวซีแลนด์ และอีกหลายเส้นทาง เพื่อผลักภาระต้นทุนไปให้ลูกค้า พยุงอัตรากำไรไว้ในภาวะน้ำมันที่เริ่มจะเป็นขาขึ้นรุนแรง

พฤศจิกายน 2550 @ ราคาหุ้น 37 บาท “หนี้พุ่ง พิษค่าเงินเปลี่ยนกำไรเป็นตัวแดง”

ไตรมาส 4 ประกาศการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 3,360 ล้านบาท ทำให้ผลกำไรจากธุรกิจ 1,333 ล้านบาท (หรือ 0.78 บาท/หุ้น) กลายเป็นขาดทุนสุทธิ 2 ,000 ล้านบาท เนื่องจากมีหนี้สินเป็นสกุลยูโรราว 50% และสกุลเยน 15% ซึ่งค่าเงินทั้ง 2 สกุลแข็งค่าขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา

มกราคม 2551 @ ราคาหุ้น 32 บาท “ปรับบัญชีดึงเงินสดไว้”

มีการปรับรอบปีบัญชีให้เป็นตามปีปฏิทินซึ่งจะเริ่มต้นมกราคมปีนี้ เนื่องจากปกติต้องจ่ายภาษีทุกครึ่งปี ซึ่งครึ่งปีแรกจะมีกำไรดี ต้องจ่ายภาษี แต่ครึ่งปีหลังมักขาดทุน ต้องขอคืนภาษี ทำให้กระแสเงินสดเข้ามาล่าช้า การปรับจะทำให้ผลประกอบการรายครึ่งปีดูไม่ผันผวน ไม่ต้องจ่ายภาษีมากและไม่ต้องรอเคลมคืนมากเช่นกันซึ่งกินเวลานาน
มีการพิจารณาจ่ายโบนัสเฉพาะงวดไตรมาส

กุมภาพันธ์ 2551 @ ราคาหุ้น 32 บาท

“น้ำมันพุ่งแต่ยังจ่ายโบนัส”
ประกาศกำไรสุทธิลดลง 54% จากปีก่อน จากต้นทุนน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นถึง 25% และการจ่ายโบนัสผู้บริหารและพนักงาน

พฤษภาคม 2551 @ ราคาหุ้น 23 บาท

“น้ำมันVSค่าเงิน รุมบั่นกำไรหด”

ไตรมาส 1 กำไรสุทธิ 2,200 ล้านบาท ลดลง 48% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะขาดทุนจากเงินบาทอ่อนค่าเป็นเงิน 664 ล้านบาท และเพราะต้นทุนค่าน้ำมันพุ่งขึ้นถึง 39.6% เมื่อเทียบกับช่วงนี้ของปีที่แล้ว

ที่มา : สรุปจากบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)