มายด์แชร์ คาดเม็ดเงินโฆษณาปี 60 ทะลุ 1.2 แสนล้าน โต 12%

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร ได้คาดการณ์ว่าเม็ดเงินโฆษณาในปี 2560 จะมีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี 2559 (เม็ดเงินโฆษณา 107 แสนล้านบาท) และเทียบเท่าปี 2558 หรือมีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท

1_adver

เนื่องจากสินค้าและบริการที่ชะลอการใช้งบโฆษณาในช่วงไตรมาสสุดท้าย เริ่มกลับมาใช้เงินโฆษณาตั้งแต่ช่วงปลายปี ทั้งรถยนต์ สื่อสารโทรคมนาคม

ดิจิทัลทีวี-ออนไลน์ยังเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญ

ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ระบุว่า ดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญ

ในส่วนของดิจิทัลทีวีนั้นมีผู้ชมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่อนาล็อกทีวี (free to air ช่อง 3,5,7,9) ยอดผู้ชมลดลงต่อเนื่อง เมื่อดูจากยอดคนดูทีวี 33 ล้านคน/วัน จะเห็นได้ว่า ในปี 2016 คนดูทีวีอนาล็อก (free to air) ลดลงมา 27 ล้านคน/วัน ในขณะที่ดิจิทัลทีวี ยอดคนดูเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 24 ล้านคน/วัน ถือว่าใกล้เคียงกันมาก

2_adver

นอกจากนี้ ตัวเลขในการใช้เวลาในการรับชมทีวีต่อวันของผู้ชมในเดือนมกราคม ปี 2017 พบว่า จากยอดเฉลี่ย 2.30 ชั่วโมง/ วัน/คน มีการใช้ไปกับดิจิทัลทีวี 1.10 ชั่วโมง/วัน/คน ใช้ไปกับช่องอนาล็อกเดิม 0.56 ชั่วโมง/วัน/คน

3_adver

สื่อออนไลน์แตะ 1 หมื่นล้าน ปี 60

สำหรับสื่อออนไลน์ (สมาคมดิจิตอล – หรือ DAAT) ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2560 จะมีเม็ดเงินรวม 10,533 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% จากปี 2559 ที่มียอดโฆษณาออนไลน์ 9,150 ล้านบาท เป็นผลมาจากการที่แบรนด์สินค้าและบริการให้ความสำคัญกับสื่อโฆษณาออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีสัดส่วน 25% ของการใช้งบโฆษณาทั้งหมด

4_adver

สื่อวิทยุ-สิ่งพิมพ์ยังหนัก

ในขณะที่สื่อวิทยุและสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นสื่อที่ต้องปรับตัวอย่างหนัก ในขณะที่สื่อนอกบ้านยังมีพื่นที่ให้พัฒนาไปได้อีกมาก

เทรนด์แรงปี 60

ผู้บริโภคมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น นั้นหมายความว่าผู้บริโภคเลือกที่จะรับคอนเทนต์ที่ตรงความต้องการของตนมากว่าที่รับคอนเทนต์สำหรับแมสทั่วๆ ไป (The Audience of the Individual)

โลกทั้งใบอยู่ที่ปลายนิ้ว เทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลด้วยความรวดเร็วและเชื่อมโยง (The World on the Fingertips)

นักการตลาดต้องสร้างเนื้อหาที่สำคัญอย่างแท้จริงเพื่อให้ได้รับส่วนร่วมและความไว้วางใจจากผู้บริโภค (Content with a purpose)

การเกิดขึ้นของเจเนอเรชั่นที่ใช้เวลาอยู่บนหน้าจอมือถืออย่างเดียว (Progression to Mobile Only Consumers)

การใช้เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับผู้บริโภค เช่น AR หรือ VR แบรนด์ต้องพิจารณาในเรื่องนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน (Wearable revolution)

ท้ายที่สุดแล้วแบรนด์ต้องปรับตัวและการสื่อสารการตลาดให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อความอยู่รอดในยุคที่สื่อทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน

เผยในวันนี้ถึงความท้าทายที่แบรนด์ยังคงเผชิญในโลกที่สื่อกระจายตัวข้ามแพลตฟอร์มและหน้าจอไปมา (fragmentation) และการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่ใช้เวลาในความสนใจของพวกเขาบนมือถือ

ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์
ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์

word_icon

ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ กล่าวว่า

ผู้บริโภคมีข้อมูลอยู่ในมือทุกที่และตลอดเวลา แต่ขึ้นอยู่ว่าผู้บริโภคจะเลือกรับข้อมูลนั้นมากหรือน้อยขนาดไหน นักการตลาดจึงควรพิจารณาว่าในโลกดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าในยุคนี้ เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่อย่างเรียลไทม์อย่างไร เพื่อให้เกิดความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน

word_icon2