คนไทยมีความสุขในการทำงานอันดับ 3 ในเอเชีย

จ๊อบส์ ดีบี เผยรายงานดัชนีความสุขของพนักงานประจำปี 2016 คนไทยมีความสุขในการทำงานเป็นอันดับที่ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับคนทำงานอีก 7 ประเทศในเอเชีย โดยการสำรวจนี้จัดทำในฮ่องกง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย เป็นประเทศที่จ็อบส์ดีบี และจ๊อบส์สตรีททำตลาดอยู่

1work 2work

คะแนนความสุขเฉลี่ยมาจากผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยทั้ง 1,957 คน อยู่ที่ 5.74 (จาก 11 ระดับคะแนน ) ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศที่คนทำงานมีความสุขกับการทำงาน รองจากฟิลิปปินส์ (6.25) และอินโดนีเซีย (6.16) ทั้งนี้ประเทศไทยมีดัชนีความสุขจากการทำงานเป็นอันดับที่สามซึ่งวัดจากจำนวนคนตอบแบบสอบถามที่มีทัศนะคติเป็นกลางไปจนถึงมีความสุขกับงาน

3work

สำหรับความสุขในการทำงานในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่าประเทศไทยอยู่ในระดับกลาง ๆ แต่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.66 เมื่อเทียบกับอีก 7 ประเทศ โดยอินโดนีเซียมีดัชนีความสุขระดับสูงสุดในกลุ่มนี้ที่คะแนน 6.58 ตามมาด้วยเวียดนามและฟิลิปปินส์ที่ 6.30 และ 6.18 ตามลำดับ รั้งท้ายด้วยสิงคโปร์ที่ 4.93 และยังเป็นประเทศเดียวที่ได้คะแนนต่ำกว่า 5.00 ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐาน

นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) กล่าวว่ารายงานดัชนีความสุขดังกล่าวให้ข้อมูลแก่องค์กรธุรกิจต่างๆเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานลาออกหรือยังคงอยู่ในองค์กรไปจนถึงนโยบายและการพัฒนาระบบต่างๆที่องค์กรสามารถกำหนดขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ดียิ่งขึ้นผลสำรวจนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่เกี่ยวกับงานหรือปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มหรือลดความสุขในการทำงานอีกด้วย

4work

เมื่อมาดูสายงานที่มีความสุขในการทำงานมากที่สุด อันดับหนึ่งได้แก่ กลุ่มงานบริหารด้วยคะแนน 6.38 รองลงมางานท่องเที่ยว งานโรงแรม งานอาหารและเครื่องดื่ม อันดับที่ 3 งานธุรการ งานฝ่ายบุคคล อันดับที่ 4 งานวิศวกรรม และอันดับที่ 5 กลุ่มงานบัญชี งานธนาคาร แลการเงิน

5work

ระยะเวลาเท่าไหร่ที่พนักงานมีความสุขในการทำงานมากที่สุด ผลสำรวจพบว่าพนักงานที่มีความพึงพอใจต่องานมากที่สุดคือกลุ่มที่ทำงานปัจจุบันมาประมาณ 3-5 ปี โดยเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในงานบริหาร งานท่องเที่ยว งานโรงแรมงานอาหารและเครื่องดื่ม และงานธุรการงานทรัพยากรบุคคล และทำงานอยู่ในธุรกิจก่อสร้าง/สถาปัตยกรรม ธุรกิจโรงแรม บริการ/จัดเลี้ยงและธุรกิจการแพทย์/เภสัชกรรม

6work

สำหรับตำแหน่งงานที่มีความสุขในการทำงานมากที่สุด พบว่าผู้บริหารระดับสูงมีความสุขในการทำงานมากที่สุด เพราะได้ดูแลภาพรวมของบริษัท และได้เห็นการเติบโตของบริษัท รองลงมาระดับเจ้าหน้าที่ ระดับผู้จัดการ ระดับพนักงาน และระดับหัวหน้างานจะมีความสุขน้อยที่สุดเพราะว่ามีแรงกดดันจากทั้งผู้บริหารด้านบน และต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง ทำให้เกิดแรงกดดันหลายฝ่าย

พนักงานที่ให้คะแนนความสุขต่ำที่สุดเป็นพนักงานที่เพิ่งเริ่มงาน (ส่วนใหญ่ทำงานในองค์กรมาน้อยกว่า 1 ปี) ในสายงานขนส่ง งานไอทีและงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ ในธุรกิจประกันภัยธุรกิจสารเคมี/พลาสติก/กระดาษ/ปิโตรเคมีและธุรกิจยานยนต์ เมื่อพิจารณาเป็นรายภูมิภาคพบว่าพนักงานที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือระบุว่ามีความพึงพอใจต่อการทำงานน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับพนักงานในภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ

7work

จากการสำรวจปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขในที่ทำงาน พบว่าคนไทยให้ความสำคัญกับสถานที่ทำงานที่เดินทางสะดวกและทำงานที่ไหนก็ได้ที่ตนเองต้องการ ความมีชื่อเสียงขององค์กร และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  โดยปัจจัยเหล่านี้เป็นผลมาจากสภาพการจราจรในเมืองใหญ่ๆของประเทศและลักษณะการสร้างความสัมพันธ์ในสังคมของคนไทย

ขณะที่ปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขจนถึงขั้นลาออกจากบริษัทคือการมีผู้นำที่ขาดคุณสมบัติในการสร้างแรงบันดาลใจไม่ได้รับการส่งเสริมให้เติบโตในหน้าที่การงานและไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแม้ปัจจัยเหล่านี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ทำให้พนักงานมีความสุขแต่อาจมีผลต่อการตัดสินใจของพนักงานว่าจะอยู่ด้วยความภักดีต่อองค์กรหรือจะไปแสวงหาโอกาสใหม่ๆ

8work

แต่ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้านี้ 34% มองหาโอกาสที่ดีกว่าหรือหางานใหม่เพื่อเพิ่มความสุขในการทำงาน อีก 19% เลือกทำงานในตำแหน่งเดิมต่อ แต่ได้รับการขึ้นเงินเดือน ในขณะที่ 8% บอกว่าพวกเขาจะมีความสุขมากกว่านี้ถ้าได้รับการยอมรับในความสามารถหรือได้เลื่อนตำแหน่ง

ได้เห็นดัชนีความสุขของตนเอง

จากผลสำรวจดัชนีชี้วัดความสุขนี้ แสดงให้เห็นถึง 2 มุมมองก็คือทั้งตัวผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงปัจจับที่จะสร้างความสุขในการทำงานให้กับพนักงานลงไปถึงแต่ละสายงานและตำแหน่งงานเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทในระยะยาวมีความผูกพันกับองค์กรและทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน

ในส่วนของตัวพนักงานเองนั้นได้เห็นดัชนีความสุขของตนเอง เพื่อที่จะชี้วัดการทำงานในปัจจุบันและอนาคตได้ รวมถึงการวางแผนเปลี่ยนสายงานตอ่ไปในอนาคตได้ เมื่อมองเห็นแนวโน้มความสุขในการทำงานลดลง