นอกจากละครย้อนหลัง รายการเกมโชว์ จากทีวีช่องต่างๆ เอ็มวีเพลงจากค่ายเพลง ที่เป็นคอนเทนต์หลักของ YouTube แล้ว บรรดา “ครีเอเตอร์” ที่สร้างตัวจากศูนย์จนมีคนติดตามเป็นหลักหมื่นหลักแสน ก็เป็นอีกหนึ่งคอนเทนต์สำคัญที่จะสร้างความหลากหลาย และดึงดูดให้คนมาเข้าแพลตฟอร์มวิดีโอรายใหญ่ของโลก
YouTube เข่้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ปัจจุบันไทยติดอันดับ Top 1 ใน10 ของประเทศที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก จากพฤติกรรมของคนไทยทีชื่นชอบดูวิดีโอคลิป และทำให้มีครีเอเตอร์รายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เดฟ โพเวล ผู้อำนวยการฝ่าย Online Partnership and Development ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ YouTube บอกว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดไทยเติบโตรวดเร็วมาก
เมื่อดูจากพฤติกรรมของคนไทยจะดูเมื่ออยากดู ไม่มีช่วงเวลาพิเศษ โดย 65% จะดูผ่านมือถือ จำนวเวลาในการดูผ่านมือถือเพิ่ม 90% ของทุกปี และมีอัตราการเติบโตของ content เพิ่มขึ้น 167% ของทุกปี
การับชมรายการก็หลากหลายมากขึ้น จากเดิมนิยมดูละครย้อนหลัง เอ็มวีเพลง เริ่มขยายไปที่รายการประภทอื่น เช่น สอนร้องเพลง สอนเต้น สอนทำอาหาร จนทำให้ในปีที่ผ่านมามีช่องบน YouTube ที่มีผู้ติดตามครบ 100,000 คน วันละ 1 ช่อง ปัจจุบันมี 600 ช่องแล้วที่มีคนดูเกิน 1 แสนคน และมีช่องที่มีผู้ติดตามครบ 1ล้านคน เดือนละ 2 ช่อง
การสนับสนุนครีเอเตอร์เป็นหนึ่งในภารกิจของ YouTube ทั้งการจัดครีเอเตอร์แคมป์ เพื่อเทรนการทำวิดีโอคลิป การสร้างเครือข่ายครีเอเตอร์ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด รวมทั้ง YouTube FanFest เป็นกิจกรรมพบปะแฟนคลับ หรือ Meet & Greet ทั้งการแสดงเหล่าครีเอเตอร์ดาวรุ่งคนดังจากไทยและต่างประเทศ และได้พบปะกับแฟนคลับ จัดกันทีี่ห้างสยามพารากอน เรียกว่าเป็นการสร้าง awareness ให้ได้รับจดจำ ดึงดูดทั้งครีเอเตอร์เดิมให้ขยันสร้างเนื้อหาให้โดนใจ ขณะเดียวกันก็ดึงดูดครีเอเตอร์หน้าใหม่ๆ เข้ามา ว่ากันว่าแฟนคลับของครีเอเตอร์เหล่านี้ ไม่แพ้นักร้องหรือดาราดังทีเดียว ยิ่งครีเอเตอร์โด่งดังเป็นที่ชื่นชอบมากเท่าไหร่ ดึงดูดสปอนเซอร์ให้เข้ามา รายได้จากโฆษณาก็ตามมา