บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึก ได้เปิดเผย “ผลวิจัยและจัดอันดับแบรนด์ที่ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสุดสุด ประจำปี 2559” หรือ “Top Thailand Brand Footprint Report 2559” ในกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่มีอัตราการบริโภคสูง หรือ FMCG (Fast Moving Consumer Goods)
แบรนด์ที่ชนะใจผู้บริโภค ในแต่ละกลุ่มประเภทสินค้าที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสูงสุดในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มสินค้า ประกอบไปด้วย มาม่า ครองอันดับ 1 กลุ่มสินค้าอาหาร (Food) คอลเกต ครองอันดับ 1 ในกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม (Health & Beauty บรีส ครองอันดับ 1 กลุ่มสินค้าในครัวเรือน (Home Care) เนสกาแฟ อันดับ 1 ในกลุ่มสินค้าเครื่องดื่ม (Beverage)
ทั้งนี้ การวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นที่ตัวผู้บริโภค หรือ คอนซูเมอร์ พาแนล (Consumer Panel) โดยเน้นครัวเรือนที่เป็นคนเมือง และเขตต่างจังหวัด เพื่อใช้เป็นตัวแทนแสดงผลพฤติกรรมการซื้อของประชากรทั่วประเทศ กว่า 22.2 ล้านครัวเรือน โดยวิธีการเก็บข้อมูลจาก “ตะกร้าสินค้า” ที่ผู้บริโภคจับจ่ายจริง ผ่านเทคโนโลยี “กันตาร์ แอพ-Panel Smart” ที่พัฒนาบน Smartphone รองรับทั้งระบบ IOS และ Android และนำมาวิเคราะห์ประมวลผลด้วยดัชนี CRP หรือ Consumer Reach Point ซึ่งเป็นอัตราการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจริงๆ ในรูปแบบสมาชิกผ่านเครื่องมือ “WPO” (Worldpanel Online) ซึ่ง กันตาร์ เวิร์ลดพาแนลได้พัฒนาขึ้นใช้เองรายเดียวในตลาด
นอกจากนี้ ยังขยายบริการวิจัยพฤติกรรม การซื้อทั้ง Take Home และ Out of Home ไลฟ์สไตล์การบริโภคนอกบ้านอีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 พฤติกรรมนี้ จะมีความแตกต่างกัน กันตาร์ เชื่อว่า ผลวิจัยนี้จะเข้าใจถึงปฏิกิริยาด้านพฤติกรรมของเหล่านักช้อปที่มีการสื่อสารต่อแบรนด์ และกลุ่มสินค้าของท่านทันทีที่มีการบริโภค ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อการวางแผนที่เป็นกลยุทธ์ปลดล็อกสู่การเติบโต และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์
ที่มา : Top Thailand Brand Footprint 2559 โดยบริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ KWP
วิธีสำรวจ ผู้บริโภค ที่เป็นครัวเรือนคนเมือง และต่างจังหวัด เก็บข้อมูลจาก “ตะกร้าสินค้า” ผ่านเทคโนโลยี “กันตาร์ แอพ-Panel Smart” บน Smartphone รองรับระบบ IOS และ Android และนำมาวิเคราะห์ประมวลผล ดัชนี CRP หรือ Consumer Reach Point อัตราการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจริงๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กันตาร์ฯ พัฒนาขึ้นเอง โดยสำรวจทั้งการซื้อ Take Home และ Out of Home การบริโภคนอกบ้าน