มุมมองและพฤติกรรมของนักเดินทางต่อ Air Travel

ในยุคที่อุตสาหกรรมการบินโดนปัจจัยลบต่างๆ ถาโถม ทั้งอัตราค่าน้ำมันที่ผันผวน และปัจจัยทางการเมืองอันก่อให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศต่างๆ รวมถึงปัญหาผู้ก่อการร้ายที่ไม่มีวันจบสิ้น มาดูกันว่านักเดินทาง ผู้โดยสารเขาคิดและแสดงออกกันอย่างไร และอะไรคือสิ่งที่พวกเขาต้องการในเวลานี้

ซินโนเวต บริษัทวิจัยระดับโลก เปิดเผยผลวิจัย “Is flying all that fun? The up and down of air travel” เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา โดยเป็นผลสำรวจจาก 13 ประเทศทั่วโลก คือ บราซิล แคนาดา อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา กับกลุ่มตัวอย่าง 6,898 คน

พบคำตอบที่น่าสนใจมากมาย ดังนี้

อะไรคือสิ่งที่ชื่นชอบที่สุดสำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน
ช่วยให้ถึงที่หมายได้อย่างรวดเร็ว 56%
ได้รับการบริการ ดูแล 10%
เป็นเวลาที่สงบเงียบเพราะไม่ต้องรับโทรศัพท์ แลปท็อป แม้แต่เพื่อน 7%
การได้พบปะพูดคุยกับนักเดินทางคนอื่นๆ ที่น่าสนใจ 5%
อาหารที่เสิร์ฟบนเครื่อง 4%
ดูภาพยนตร์ที่ตั้งตารออยู่แล้ว 4%
ดูลูกเรือที่หน้าตาดี น่าดึงดูด 3%
มีเวลาทำงานที่ไม่ต้องถูกรบกวน 3%
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2%

“เร็ว” ใครๆ ก็ชอบ
กลุ่มตัวอย่างจากทุกประเทศเห็นพ้องต้องกันว่า นี่คือคุณประโยชน์ที่พวกเขาชื่นชอบมากที่สุดจาก Air Travel
สหรัฐอเมริกา 84%
ฝรั่งเศส 79%
แคนาดา 76%
สหราชอาณาจักร 73%
เยอรมัน 70%
ฟิลิปปินส์ 58%
มาเลเซีย 58%
บราซิล 54%
ไทย 47%
อียิปต์ 47%
ไต้หวัน 38%
ฮ่องกง 27%
สหราชอาณาจักร 27%

ถูกเอาใจ ได้รับบริการเป็นเรื่องโปรด
อียิปต์ 42%
ไทย 20%
ฮ่องกง 18%
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 14%
มาเลเซีย 13%
บราซิล 12%
ฟิลิปปินส์ 11%
ไต้หวัน 11%
แคนาดา 4%
สหราชอาณาจักร 3%
ฝรั่งเศส 2%
สหรัฐอเมริกา 2%
เยอรมัน 2%

“อาหาร” สิ่งที่พลาดไม่ได้บนเครื่องบิน???
ฟิลิปปินส์ 12%
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 11%
ไต้หวัน 7%
ไทย 6%
บราซิล 5%
ฮ่องกง 4%
อียิปต์ 3%
มาเลเซีย 3%
เยอรมัน 2%
สหราชอาณาจักร 1%
ฝรั่งเศส 1%
แคนาดา 1%
สหรัฐอเมริกา –

เป็นเรื่องสนุกถ้าจะคุยกับคนนั่งข้างๆ
54% ของผลสำรวจเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างทุกประเทศเห็นด้วยว่าการพูดคุยกับผู้โดยสารที่นั่งข้างๆ เป็นเรื่องสนุก โดยเฉพาะชาวมาเลเซียและฟิลิปปินส์ 77% และ 74% ตามลำดับ ขณะที่คนไทยไม่เห็นด้วยถึง 60% ซึ่งเป็นสัดส่วนพฤติกรรมที่ไม่เห็นด้วยสูงที่สุดในกลุ่มตัวอย่าง และเป็นไปในทิศทางเดียวกับคนไต้หวันและคนฮ่องกงที่ไม่เห็นด้วย 58% และ 57% ตามลำดับ

ที่นั่งโดนใจ
มากกว่า 1 ใน 3 เพียงเล็กน้อย (34%) เห็นด้วยกับความต้องการที่ว่า “ชอบที่จะนั่งข้างกับคนที่เป็นเพศเดียวกันมากกว่า” ซึ่งหากแยกตามเพศแล้วพบว่าผู้หญิงต้องการที่จะนั่งข้างผู้หญิงด้วยกันถึง 44% และตัวเลขพุ่งขึ้นสูงในฮ่องกงด้วยสัดส่วน 78% เพราะผู้หญิงมองว่าผู้ชายส่วนใหญ่จะยึดครองที่วางแขนและชอบลุกเข้าออกห้องน้ำบ่อยครั้ง แต่สำหรับผู้ชายแล้วมีความต้องการที่จะนั่งข้างผู้ชายด้วยกันเองเพียง 24% เท่านั้น โดยกลุ่มตัวอย่างประเทศที่เห็นด้วยในอัตราสูงคือฮ่องกง (65%) มาเลเซีย (57%) ไทย (53%)

เมื่อจำแนกพฤติกรรมแยกย่อยของนักเดินทางชาวไทยพบว่า 50% บอกว่าไม่สนใจว่าคนที่นั่งข้างๆ จะเป็นเพศไหน และ 67% บอกว่าผู้โดยสารควรมีสิทธิ์ในการตัดสินใจเลือกว่าคนที่นั่งข้างๆ จะเป็นเพศไหน 39% บอกว่าที่นั่งที่แย่และคนที่นั่งข้างๆ มีพฤติกรรมไม่ดีจะทำให้เกิดประสบการณ์อันเลวร้ายในการเดินทาง และ 84% บอกว่า ต้องการสิทธิ์ในการเปลี่ยนที่นั่งได้หากมันทำให้เกิดความไม่สบายใจต่อตนเอง

แล้วที่นั่งติดกับเด็กตัวน้อยล่ะ พวกเขาคิดกันอย่างไร
ค่าเฉลี่ย 34% บอกว่า รู้สึกรำคาญที่จะนั่งติดกับเด็ก ขณะที่ชาวเยอรมันดูจะรักเด็กที่สุดเพราะมีเพียง 15% เท่านั้นที่ไม่ต้องการนั่งติดกับเด็ก ส่วนคนไทยก็รักเด็กไม่แพ้กัน เพราะมีสัดส่วนดังกล่าวเพียง 25% ด้านผู้ดีอังกฤษถึง 55% ขอ Say No ที่นั่งติดเด็ก

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยลบของธุรกิจการบินมีอะไรบ้าง
18% ของกลุ่มตัวอย่างชาวไทยบอกว่า จะพิจารณาการเดินทางด้วยวิธีการอื่นแทนโดยสารเครื่องบิน 7% บอกว่าจะเลือกท่องเที่ยวในจุดหมายปลายทางที่ใกล้บ้านมากขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และมี 20% บอกว่าท่องเที่ยวน้อยลงในปีนี้ และ38% มองหาสายการบินที่มีข้อเสนอตั๋วราคาถูกให้กับพวกเขาได้