2 ข้อดี 2 มาตรการ สำหรับผู้ประกอบการ “บัญชีชุดเดียว”

พอพูดถึงเรื่องการเสียภาษี หลายคนอาจถึงกับต้องยกมือขึ้นมาก่ายหน้าผาก โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำบัญชีตั้งแต่เริ่มแรก พอใกล้สิ้นปีแต่ละทีต้องมาจ้างสำนักงานบัญชีให้มาทำหน้าที่ ตัวเลขที่ลงในบัญชีก็จัดทำขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ด้านการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นหลัก โดยที่ตัวเลขดังกล่าวไม่ได้สะท้อนผลประกอบการที่แท้จริงเลย

การจัดทำบัญชีโดยปกปิดรายได้จริง-แจ้งการขาดทุน ทำบัญชี 2 หรือบัญชี 3 การกระทำเช่นนี้มีความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบและดำเนินคดีหลบเลี่ยงภาษีย้อนหลัง หากตรวจพบย่อมเกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกิจการ รวมถึงธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงเจตนาในการทุจริต นอกจากผลเสียต่อตัวธุรกิจเองแล้ว ยังส่งผลให้รัฐจัดเก็บภาษีได้ไม่ครบถ้วน และการประเมินภาพรวมของเศรษฐกิจเพื่อวางแผนในการช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการให้ตรงกับความต้องการก็เป็นไปได้ยาก “มาตรการบัญชีชุดเดียว” จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้

ข้อดีของ “การจัดทำบัญชีชุดเดียว คือ

  1. ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการได้ตรงจุด และตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการ เพราะมองเห็นภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงและชัดเจน อันส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

2. สร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินให้กับกิจการ ส่งผลให้การทำธุรกรรมและการบริหารเงินของผู้ประกอบการเป็นไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพ

  • บัญชีชุดเดียวถูกต้องตามพระราชบัญญัติการบัญชี
  • เป็นเครื่องมือควบคุมค่าใช้จ่าย และช่วยบริหารกำไร
  • ช่วยให้วางแผนภาษีได้อย่างถูกต้อง
  • ทราบผลการดำเนินกิจการ ฐานะการเงินที่แท้จริง
  • ทราบข้อมูลลำดับก่อนหลัง และจำนวนรายการสินค้า
  • เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น  โดยสามารถใช้บัญชีนี้ยื่นเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่จัดทำบัญชีชุดเดียวนั้น ก็จะมีความเสี่ยงจากการถูกเพ่งเล็งและตรวจสอบจากกรมสรรพากรมากขึ้น เพราะการเข้าร่วมโครงการนี้ เป็นการแสดงถึงความจริงใจและโปร่งใสของผู้ประกอบการ ในรายที่จงใจไม่เข้าร่วมจึงอาจถูกมองว่าหลบเลี่ยงปิดบังผลประกอบการที่แท้จริงได้ ถูกตรวจสอบแล้วพบว่ามีการทำบัญชีไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการอาจมีโทษทั้งจำคุกและโดนปรับได้  หรือกระทั่งปัญหาภายในบริษัท ด้านของหุ้นส่วนเองก็อาจเกิดความหวาดระแวงกันเองเพราะมีบางส่วนไม่ได้ทำบัญชี ก็กลัวว่าหุ้นส่วนอีกฝ่ายหนึ่งมีการปกปิดข้อมูลเพราะมีหลายบัญชี ลุกลามจนถึงขั้นทะเลาะและแตกคอกันในที่สุด

และการมาถึงของระบบ National e Payment นั้นจะช่วยให้ทางกรมสรรพากรเชื่อมโยงข้อมูลทุกรายการที่มีการซื้อและขาย ทำให้สามารถประเมินถึงรายรับและรายจ่ายของผู้ประกอบธุรกิจได้ นับเป็นฝันร้ายที่กำลังคืบคลานมาผู้ประกอบการที่แสดงรายได้เสียภาษีที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจึงมี มาตรการจูงใจนิติบุคคลให้จัดทำบัญชีชุดเดียว (สำหรับผู้ประกอบการที่จดแจ้งกับกรมสรรพากร ระหว่างวันที่ 15 มกราคม – 15 มีนาคม  2559) คือ

1. ไม่ตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เข้าร่วมมาตรการบัญชีชุดเดียวกับกรมสรรพากรจะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง

2. ไม่ต้องจ่ายภาษี 2 ปี

สำหรับผู้ประกอบการ SME ตัวจริงที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่ถึง 30 ล้านบาทจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบบัญชีปี 2559 และในปี 2560 จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท

สำหรับ นิติบุคคลที่มีการจดแจ้งบัญชีชุดเดียวต่อกรมสรรพากร เมื่อ 15 มกราคม – 15 มีนาคม  2559 ที่ผ่านมา รวมทั้งนิติบุคคลจัดตั้งใหม่เพื่อดำเนินธุรกิจแทนบุคคลธรรมดา (จดทะเบียนนิติบุคคลระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2560)

ธนาคารกรุงไทย ก็พร้อมสนับสนุน SME ที่มีคุณสมบัติตามที่กรมสรรพากรและธนาคารกำหนด ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อ KTB SMEs บัญชีเดียว ดอกเบี้ยต่ำสุด 5% ด้วยวงเงินสูงสุด 100 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุน สามารถติดต่อและขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://goo.gl/VCnsFL หรือโทร. 02-111-1111

รายละเอียดเพิ่มเติมของการทำบัญชีชุดเดียวให้ถูกต้องสามารถดูได้ >>> ที่นี่