รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการ “ค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซ” จะทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว
นีลสัน เผยผลสำรวจ คาดปี 63 อีคอมเมิร์ชทั่วโลกมีมูลค่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โต 20% กระทบ FMCG ที่โตได้เพียง 4% ส่งผลช้อปปิ้งออนไลน์คึกคัก เนสท์เล่–ยูนิลีเวอร์ จัดเต็มช่องทางขายออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นีลเส็นฟันธง สมาร์ทโฟนโตไม่มีผลต่อ Online Grocery
อัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนมักถูกมองว่าเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตของการค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ผลสำรวจ “Nielsen: What’s Next in Ecommerce 2017” จากบริษัทนีลเส็น เผยว่าการที่ผู้คนใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นไม่ได้แสดงถึงความต้องการต่อกลุ่มสินค้า FMCG หรือ online grocery ที่มากขึ้นแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อของสดออนไลน์กับอัตราการใช้งานสมาร์โฟนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาและเหตุผลของแต่ละตลาดก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย
โดยพบว่า สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่งผลแก่การ “เติบโต” ของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น และเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลกที่เข้าถึงสมาร์ทโฟนและช้อปปิ้งออนไลน์ พบว่า การใช้งานของการซื้อของสดออนไลน์ในประเทศสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำกว่าในประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าสิงคโปร์จะมีอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่สูงกว่าประเทศฝรั่งเศสก็ตาม
เห็นได้จากการเปิดตัวบริการซื้อของสดออนไลน์ของห้างค้าปลีก อย่าง เทสโก้ ออนไลน์ (Tesco online) ที่ประเทศอังกฤษในปี 2539 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายของคนทั้งประเทศ และในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวอังกฤษจึงคุ้นเคยกับการซื้อของสดออนไลน์ไปแล้ว
“การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก”
ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ การไปห้างเพื่อซื้อสินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวสิงคโปร์ เนื่องจากห้างสรรพสินค้าที่ประเทศสิงคโปร์มักตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกและมีผู้คนเดินผ่านตลอดเวลา เช่น ใกล้สถานีรถไฟ
การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน
ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก
สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่งผลแก่การเติบโตของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น
ผลกระทบต่อธุรกิจ FMCG
แม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของยอดขายในอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั่วโลกเพียง 10% แต่หลังจากที่การคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจะมีอัตราการเติบโตรวมกันถึง 20% (CAGR) ภายในปี 2563 พร้อมกลายเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง สี่ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจึงจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ากลุ่มสินค้า FMCG ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะโต 4% (CAGR)
รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการ “ค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซ” จะทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว
ข่าวการร่วมมือกันระหว่าง Danone และ Lazada ทำให้เห็นว่ามีบริษัทกลุ่มสินค้า FMCG ที่เห็นความสำคัญของช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ใช้เป็นกลยุทธ์ขยายธุรกิจมากขึ้น ซึ่งรวมถึง “เนสท์เล่และยูนิลีเวอร์” ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ที่หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางขายออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน
โดยเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเซาท์อีสต์เอเชีย พบว่าผู้บริโภคในภูมิภาคนี้คุ้นเคยกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น โดยมีธุรกิจอย่าง Happy Fresh และ Honestbee หรือแม้กระทั่งซูเปอร์มาร์เก็ตไฮเทคอย่าง Hema Supermarket ของ Alibaba เข้ามาให้บริการ ยืนยันถึงความต้องการต่อการซื้อของสดออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี.
ที่มา : ecommerceIQ พอร์ทัลที่รวบรวมผลการวิจัยและการรายงานทางการตลาดการค้าปลีกออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการสนุบสนุนจากบริษัท aCommerce ผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ทางด้านอีคอมเมิร์ซ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้