นอกจากใช้เวลาตรวจคนไข้ยังจัดเวลาบินไปอัพเดทเทรนด์ความงามถึงประเทศเกาหลีที่งาน Korea International Medical & Hospital Equipment Show 2018
พญ.ณัฐชญา ไมตรีเวช ผู้บริหารณัฐชญาคลินิก มาอัพเดทเทรนด์ความงามว่า ในเรื่องนวัตกรรม และสินค้าในงาน ยังคงเน้นในเรื่องของไหม โดยมีหลากหลายชนิด และมีการใช้ PRP (Platelet Rich Plasma) เช่นเดิม ซึ่ง เป็นการนำเลือดมาปั่นแยก และฉีดเข้าที่ผิวหรือผม แต่เลือดของแต่ละคนมันมีสารต่างกัน ถ้าคนไหนโทรม ร่างกายอ่อนแอ ส่วนประกอบของเลือดก็จะไม่เหมือนคนแข็งแรง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ บางคนทำแล้วเห็นผลสวย แต่บางคนทำแล้วไม่แตกต่าง เทคโนโลยี PRP จึงเป็นเทคโนโลยีที่ยังเหมือนเดิมและยังไม่สามารถการันตรีผลที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ยังได้เข้าเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรเฉพาะความสวยความงาม ต่าง เห็นได้ว่า รัฐบาลประเทศเกาหลีเค้าสนับสนุนจริงจัง เขาตั้งให้ประเทศเขาเป็น IDOL เลยว่า “คิดถึงความงาม คิดถึงเกาหลี” มันทำให้เกิดการพัฒนาทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย มีแผนกสอนทำ treatment แผนกพยาบาลดูแลความงาม. แผนกนี้เป็นพยาบาลที่จะมาอยู่คลินิกความงามโดยตรงมีแผนกที่สอนช่างทำเครื่องมือแพทย์ มันทำให้เครื่องมือแพทย์เขามีคนดูแล มีคนพัฒนาเครื่องและระบบต่าง ๆ แต่ของประเทศไทยเราไม่มี ส่วนใหญ่เป็นช่างแล้วมาศึกษาเอง ไม่ใช่คนเราไม่เก่ง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ศึกษาเองต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นเมื่อมันใช้เวลาเราก็จะไม่ได้คนที่มีคุณภาพมาทันใช้ และกว่าจะผ่าน Learning Curve ประเทศไทยจริง ๆ คนไทยเก่ง ทั้งหมอและทีม support ต่าง ๆ ขนาดไม่ได้เรียนโดยตรง ยังทำได้ขนาดนี้ ยังมีหลายชาติที่มาใช้บริการด้านความงามของเรา แต่ถ้าเทียบกัน ก็ยังแพ้เกาหลี เพราะเราขาดการสนับสนุน ซึ่งประเทศไทยทำตรงนี้จริงจังมั่นใจว่าเราเหนือกว่าเขา เพราะว่าเรื่องเทคนิค เรื่องศิลปะ เรื่องของความรู้ความเข้าใจ ของเราไม่แพ้แน่นอน ในส่วนการบริหารงาน คลินิกก็เราค่อนข้างจะมี Direction ที่ชัดเจนอยู่คือ เน้นที่ความปลอดภัย ไม่ใช่การขายฝัน ทำยังไง ให้สวย ลดเสี่ยง และ มีความรับผิดชอบกับงานกับลูกค้า โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ บุคลากรต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ ไม่ใช่หมอคนเดียวที่เป็นพระเอก ทุกคนในองค์กร ล้วนเป็นส่วนประกอบ เหมือนคน ถ้ามีหัวใจอย่างเดียว ก็เป็นคนไม่ได้ ต้องมี สมอง ตับ ไต ไส้ พุง แขนขา เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะต้องไปด้วยกัน
ทุกๆที่ มีจุดเด่น จุดด้อย การไปศึกษาดูงานต่าง ๆ ไม่ใช่ไปลอก หรือเรียนแบบ แต่ต้องเอามาปรับใช้ให้เหมาะสม เช่น ซิลิโคนจมูกนิ่มๆ ของเกาหลี บางทีก็ไม่เหมาะกับเนื้อเยื้อคนไทย เอามาใส่ก็อาจจะงอได้ แต่บางเทคนิคก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ เรื่องของการแพทย์ได้ชื่อว่า การประกอบโรคศิลปะ ไม่ได้แปลว่าใครเก่งกว่าใคร แต่คนที่รู้เยอะ และปรับใช้ได้เก่ง ก็จะได้เปรียบค่ะ พญ.ณัฐชญา กล่าวทิ้งท้าย