ลอรีอัลฯ แบรนด์สตอร์ม 2018 หนุนเด็กเรียนรู้ ผลพลอยได้ x2 ได้ทั้งแผนการตลาด และคนทำงาน

“Invent the Professional Salon Experience of the Future” หรือ “สร้างประสบการณ์ซาลอนมืออาชีพแห่งอนาคต” คือโจทย์ของการแข่งขันลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2018 (L’oreal Brandstorm 2018) ครั้งที่ 15 ในประเทศไทย เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับโลกที่ปารีส

การแข่งขันในครั้งนี้ต่างจาก 14 ปีที่ผ่านมาซึ่งมีการจัดแข่งขันประกวดแผนธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องเพราะมีการเพิ่มรูปแบบการแข่งขันแบบ Pitching หรือขายไอเดียจริงแบบธุรกิจสตาร์ทอัพในเวลาเพียง 5 นาที โดยหลังจาก 5 นาทีนั้นทีมไหนที่มีความโดดเด่นก็จะได้นำเสนอผลงานอีกครั้งบนเวที เพื่อชิงรางวัลชนะเลิศต่อหน้าคณะกรรมการ

คณะกรรมการประกอบด้วย นาตาลี เกอร์ชไตน์เคอโรวดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัดอวนิช บาจาจ ผู้จัดการทั่วไป แผนกผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด กฤษฏิ์ จิระเกียรติวัฒนา แฮร์สไตลิส และเจ้าของธุรกิจร้านทำผมชื่อดังไฮฟ์ซาลอน (Hive Salon) และ ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงาน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งน้องๆ จากทีม Brainstrongคือกลุ่มที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้

ทีม Brainstrong เป็นนักศึกษาจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรนานาชาติ (BBA)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ นางสาวเปมิกา มาศอาณา เอกสาขาการตลาด, นางสาวภัณฑิลา จินดาสถาพร เอกสาขาการตลาดและนางสาวพิชชาภา ถิรมานิต เอกสาขาบัญชีรับเงินรางวัลเงินสดกว่า 100,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ และเป็นตัวแทนประเทศไทยแข่งขันต่อใน “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2018” ระดับโลก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยผลงานของทีมใช้ชื่อว่า “L’Oreal True You”

น้องๆ ทีม Brainstrong เผยเคล็ดลับการเอาชนะกรรมการที่ไทยว่าต้องค้นหาข้อมูลจำนวนมาก พร้อมกับเดินหน้าหาประสบการณ์ตรง ด้วยการเข้าไปทำผมที่ แต่กลับไม่ได้ทรงผมที่ถูกใจอันเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ประสบการณ์และความสามารถของช่างทำผมที่ไม่มากพอ การไม่รู้จักเส้นผมของตนเองมากพอ ไม่รู้ว่าตนเองจะเข้ากับทรงผมทรงไหน เป็นต้น

จึงนำมาเป็นไอเดียสร้างผลงานนวัตกรรม “L’Oreal True You” ขึ้นมา

“L’Oreal True You” แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนของลูกค้า ซึ่งต้องทำให้เห็นก่อนว่าตนเองเหมาะกับทรงผมทรงไหน โดยอาศัยเทคโนโลยีเสมือนจริง ลูกค้าสามารถเห็นเลยว่ารูปหน้าเหมาะสมกับทรงผมไหนและเสริมด้วยคำแนะนำเพิ่มเติมของช่างทำผม

ส่วนที่สอง คือ การใช้แสกนเนอร์ตรวจสอบสภาพเส้นผมซึ่งแยกออกไปอีก 4 ระดับ สีผมธรรมชาติของลูกค้าความหนาหรือบางของเส้นผมความชุ่มชื้น และความยืดหยุ่นของเส้นผม เพื่อให้ลูกค้ารู้จักเส้นผมของตนเองมากขึ้นและทำให้ช่างทำผมจะดูแลได้อย่างถูกต้อง

เป้าหมายของทีม คือต้องการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าในการเข้าไปใช้บริการในร้านทำผมได้มากที่สุด รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าและช่างทำผม โดยลดช่องว่างความเข้าใจเรื่องเส้นผมและแบบผมที่ต้องการให้มากที่สุด

นอกจากนั้นทีม Brainstrong ยังตอบโจทย์ในเรื่องของ CSR อีกด้วย เพราะตัวเทคโนโลยีนอกจากใช้ประเมินสภาพเส้นผม ยังสามารถประเมินปริมาณของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ควรใช้อย่างพอดี ไม่เหลือสารเคมีหรือขยะที่ย่อยสลายยาก อันเกิดจากหลอดสี ฟรอยด์แร็ปผม และอื่นๆ ที่มี เพราะเมื่อคำนวนจากผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่จะใช้จริงอย่างพอดีก็จะสามารถลดได้ถึง 19 ล้านตันต่อปีเลยทีเดียว

ความเห็นของทางลอรีอัล ประเทศไทยก็เห็นด้วยในหลายๆ ประการ และตัดสินให้ทีม Brainstrong เป็นทีมที่ชนะและเป็นตัวแทนประเทศไทยเพราะนอกจากจะมองขาดทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี CSR และที่สำคัญคือการประยุกต์ทั้งร้านทำผมแบบเก่าและแบบใหม่เข้าด้วยกัน เช่น มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยด้วยแต่ก็ต้องคงความคลาสสิคของช่างทำผมไว้ เพื่อทำให้ช่องว่างระหว่างลูกค้ากับช่างทำผมน้อยลงโดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง

อีกทั้งยังประยุกต์สิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ เช่น แอพพลิเคชั่นของลอรีอัลอย่าง Style my hairที่น้องๆ คิดอยากพัฒนาให้เป็น One Stop แอพพลิเคชั่น ให้ลูกค้าและช่างทำผมมาคุยกัน

รวมทั้งรีวิวร้านทำผม รีวิวผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม ข้อมูลแฟชั่นของทรงผม และอีกมากมาย เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับผมมารวมในที่เดียวกัน

ล้ำสุดๆ สมกับเป็นเด็กยุค 4.0 จริงๆ เรียกได้ว่าทางลอรีอัลก็รับไปเต็มๆ สำหรับการจัดแข่งขันโครงการนี้ขึ้นมา นอกจากจะได้ทั้งการได้ไอเดียจากแผนการประกวดตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เช่นการนำแผนธุรกิจที่ชนะการประกวดที่ผ่านมาบางปี มาปรับใช้กับกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างการปรับบูทขาย Lancomeในสนามบินเพื่อให้ดึงดูดลูกค้ามากขึ้น ยังถือว่าลอรีอัลได้ทำการสต๊อกบุคลากรระดับหัวกะทิไว้อีกด้วย

เพราะเยาวชนที่ร่วมแข่งขันที่มีความโดดเด่นของโครงการนี้จะได้รับสิทธิ์การพิจารณาเข้าโครงการ Management Trainee (ผู้จัดการฝึกหัด) ของลอรีอัล ประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีประมาณกว่า 10% ของจำนวนนักศึกษาที่เข้าแข่งขันแบรนด์สตอร์มได้รับโอกาสทำงานทั้งในและนอกประเทศกับลอรีอัล

ส่วนน้อง ๆ ทีม Brainstrongตอนนี้ก็อยู่ในช่วงรีเสิร์ชหาข้อมูลของทางปารีสให้มากขึ้นเพื่อเตรียมตัวไปคว้ารางวัลระดับโลกในนามของคนไทยให้ได้ เหมือนกับปีที่แล้วที่มีทีม Chemericalจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ไปคว้ารางวัลชนะเลิศมาในสาขา Brand Award ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เด็กรุ่นใหม่มีเป้าหมายชัดเจน น้อง ๆ ทีม Brainstrongเองก็ได้ตั้ง Mindset แล้วว่าจะต้องชนะการประกวดคว้ารางวัลระดับโลกนี้ให้ได้ ฉะนั้นในฐานะคนไทยก็ร่วมส่งแรงและกำลังใจไปเชียร์น้องๆ กันได้เลย.