สไปรท์ ซ่าประชดสังคม ชวนผู้บริโภคพูดเรื่องจริงแบบใส ๆ

สมัยนี้ โกหกหน้าตายเชยไปแล้ว เพราะใครทำอะไรก็รู้กันหมด ไม่ต้องแอ๊บ เป็นไอเดียที่สไปรท์หยิบมาใช้กับแคมเปญใหม่ล่าสุดในไทยสไปรท์ ซ่า ใส ไม่แอ๊บโดยเลือกนำคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ซอฟต์ดริ้งก์สีใส มาผสมกับประโยคเด็ด วลีโดน ที่เป็นปรากฏการณ์ของคนยุคดิจิทัลที่เห็นกันบ่อยในสื่อและโลกโซเชียล มาพิมพ์ลงบนกระป๋องสไปรท์

แคมเปญของสไปรท์รอบนี้ถือเป็นอีกครั้งที่โคคาโคลาเจ้าของแบรนด์หยิบเอากลยุทธ์ Mass Customization เพื่อหวัง Engagement จากผู้บริโภคในโลกโซเชียลโดยตรงด้วยการเปิดประเด็นเชิงประชดประชัน (Irony) ผ่านคลิปโฆษณาเวอร์ชั่น ได้แก่โลกโซเชียลมีทุกสิ่ง ยกเว้นเรื่องจริง” “ไปทำอะไร (กับหน้า) มา นึกหรอว่าโลกไม่รู้และขาวจริงใน 7 วัน ฝันไปหรอเธอ

โลกโซเชียลมีทุกสิ่ง ยกเว้นเรื่องจริง!?

ไปทำอะไร (กับหน้า) มา นึกหรอว่าโลกไม่รู้

ขาวจริงใน 7 วัน ฝันไปหรอเธอ

แต่ละเรื่องที่ประชดมาเป็นตอน เชื่อพูดทีโดนใจคนเป็นหลักร้อยถึงหลักล้าน

โคคาโคลาเคยทำไอเดียคล้ายๆ กันนี้ใช้ได้ผลมาแล้วจาก Share a Coke ในปี 2015 แต่ครั้งนั้นไม่ได้มาแนวประชดประชัน แต่เน้นสร้างความสัมพันธ์โดยเลือกใช้ Emoji พร้อมข้อความแสดงความรู้สึกบนกระป๋องและขวด เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเอ็นเกจและใช้โค้กเป็นสื่อแทนความรู้สึกระหว่างกัน หรือจะสื่อถึงความรู้สึกของตนเองก็ได้เช่น

อีกทั้งมีแคมเปญที่เปิดให้ลูกค้าพิมพ์ชื่อตัวเองบนกระป๋องโค้กที่ใช้ชื่อ Share a Coke เช่นกัน ซึ่งเริ่มครั้งแรกที่ประเทศออสเตรเลียในปี 2014 ก่อนจะได้รับความนิยมและแพร่หลายไปกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งฮิตมากในไทย ที่ทำให้ภาพคนไปต่อแถวรอพิมพ์ชื่อลงบนกระป๋องโค้กและเพิ่มยอดขายในทุกช่องทางจำหน่าย เพราะผู้บริโภคต้องการสิทธิ์ในการพิมพ์ชื่อลงบนกระป๋อง 

แคมเปญสำหรับสไปรท์ครั้งนี้กระบวนการไม่ต่างกันแต่เปลี่ยน Feel ด้วยการปรับข้อความให้เข้ายุค และตรงกลุ่มผู้ดื่มสไปรท์ซึ่งโดยมากเป็นกลุ่มวัยรุ่น และทำแคมเปญที่ได้อินไซต์ของกลุ่มเป้าหมายจากโลกโซเชียลโดยตรงของคนไทย ที่ชอบเกิดดราม่าสารพัดเรื่องจากโซเชียล มาทำเป็นแคมเปญประชดสนุกๆ ขำๆ สไตล์ไทยแท้ๆ ซึ่งเห็นความแตกต่างได้ชัดจากแคมเปญในประเทศอื่น เช่นก่อนหน้านี้ในอเมริกาสไปรท์เลือกใช้แคมเปญสำหรับฤดูร้อนเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักวัยรุ่นด้วยการใช้ไอคอนของไอดอลในกลุ่มนักร้องนักดนตรีแร็ปซึ่งได้รับการตอบรับจากวัยรุ่นที่หันไปนิยมดนตรีแนวนี้กันมาก

ผู้บริโภคไทยอาจจะไม่ค่อยได้เห็นโฆษณาสไปรท์ในทีวีเท่าไรนัก เพราะกลุ่มเป้าหมายหลักของสไปรท์ซึ่งโดยมากเป็นคนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มที่แทบจะไม่อยู่หน้าจอทีวีแต่เสพสื่อดิจิทัลผ่านช่องทางอื่นตามยุคสมัย แต่ใครเป็นแฟนยูทูบหรือเว็บไซต์ดังๆ จะมีโอกาสเห็นคลิปโฆษณาทั้ง 3 ตอนนี้ได้บ่อยๆ เพราะเป็นช่องทางหลักที่โคคาโคลาเลือกใช้

ทั้งนี้แท้จริงแล้วสไปรท์เป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการทำโฆษณาหนักมาก และทำการตลาดโดยใช้สื่อแบบผสมผสานหลายรูปแบบเพื่อโปรโมตแบรนด์อย่างหนัก โดยเฉพาะการทำโฆษณาเพื่อให้ถึงกลุ่มวัยรุ่น เพราะเชื่อการทำโฆษณาและโปรโมชั่นเป็นวิธีที่ทำให้สไปรท์เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักและเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วโลก โดยโฆษณาเหล่านั้นจะนำเสนอด้วยภาพลักษณ์ของสินค้าที่แตกต่างจากน้ำอัดลมแบรนด์อื่น

ตัวอย่างเช่นแคมเปญในไทยที่ผ่านๆ มานอกจากธีมของแคมเปญที่เลือกมาเล่นให้เข้ากับกระแสที่เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละยุค ทุกครั้งที่มีทำโฆษณาบุคลิกของแบรนด์ที่นำเสนอสู่ผู้บริโภคของสไปรท์จะยังคงคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ไว้อย่างเหนียวแน่น 

ทั้งการเป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่ดื่มแล้วสดชื่นหรือเหมาะที่จะเป็น Refreshment Drink มีความกวนๆ เล็กน้อยอยู่เสมอ เพื่อให้เข้ากับกลุ่มวัยของกลุ่มเป้าหมายหลักพร้อมด้วยสัญลักษณ์สีเขียวที่ต้องมีอยู่ในบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นขวดหรือกระป๋อง.