ระเบิดศึก OS

สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับ “สมาร์ทโฟน” คือ Operation System หรือ OS หรือระบบปฏิบัติการของเครื่อง เช่นเดียวกับที่คอมพิวเตอร์พีซีต้องมี OS จึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่ทำให้สมาร์ทโฟน รุ่ง หรือร่วงได้ และความหอมหวนของสมาร์ทโฟน ทำให้มีทั้งผู้เล่นรายเก่า และใหม่ กระโดดเข้าสู่ตลาด OS แบบไม่มีใครถอย

หากจะเปรียบเทียบกันแล้ว OS เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน และมีอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ “สมาร์ทโฟน” เครื่องนี้น่าเล่น น่าใช้มากขึ้น คือ Applications ซึ่งเปรียบเสมือนเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในตัวบ้าน

ทั้ง OS และ Applications จึงกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีผู้เล่นจำนวนมากในขณะนี้

จากจำนวนเครื่องพีซีในโลกปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1 พันล้านเครื่อง แต่โทรศัพท์มือถือในโลกมีอยู่ประมาณ 4 พันล้านเครื่อง ซึ่งจากการวิจัยของหลายสำนัก พบว่า จำนวนครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 2 พันล้านเครื่อง มีโอกาสที่จะเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนภายใน 2-3 ปีข้างหน้านี้

ผู้เล่นรายใหญ่ในโลกเทคโนโลยี จึงโดดลงมาแข่งขันในธุรกิจ OS ในสมาร์ทโฟนอย่างเต็มตัว โดยเฉพาะไมโครซอฟท์ ที่มี “วินโดวส์โมบายล์” ออกมาหลายเวอร์ชั่น ที่อาศัยจุดแข็งความเป็นซอฟต์แวร์ OS ที่คนทั้งโลกคุ้นเคยตั้งแต่ใช้พีซีคอมพิวเตอร์

การออกแรงครั้งล่าสุดของไมโครซอฟท์ คือการออนทัวร์ ทำอีเวนต์ Below the line ในเอเชีย 4 ประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีประสบการณ์การใช้วินโดวส์โมบายล์ที่ไมโครซอฟท์กำลังทำตลาดเวอร์ชั่น 6.1 ก่อนจะไปต่อถึงเวอร์ชั่น 6.5 และเวอร์ 7.0 ในเร็วๆ นี้

ในมุมของไมโครซอฟท์คือ “สมาร์ทโฟน” ไม่ได้อยู่ในตลาดเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นตลาดใหญ่ มีเทรนด์ใหม่เกิดขึ้น ในการใช้อินเทอร์เน็ต การส่งข้อความ และชุมชนออนไลน์

กลยุทธ์ของไมโครซอฟท์ ต้องผลักดันให้ OS ถูกนำไปใช้ในแบรนด์มือถือมากที่สุด ซึ่งเวลานี้มียี่ห้อมือถือที่เลือกใช้ OS ของค่ายไมโครซอฟท์ เช่น เอเซอร์ อัสซุส ซัมซุง แอลจี โซนี่อีริคสัน

สิ่งที่วินโดวส์โมบายล์ต้องทำเพื่อให้เข้ากับแนวโน้มของตลาด คือการพยายามทำให้ Friendly กับผู้ใช้งานทั่วไปมากขึ้น จากเดิมที่เน้นสำหรับคนทำงาน และนักธุรกิจมากกว่า

ซึ่งเป็นสัญญาณให้ “Symbian” OS มือถือที่โนเกียใช้มานาน และมีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดตามแบรนด์ของโนเกีย ต้องปรับตัว จากเดิมที่ให้คุณสมบัติการใช้งานด้านเสียง เพิ่มประโยชน์ในการส่งข้อความและใช้งานมัลติมีเดียมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อผลิตภัณฑ์ของโนเกีย โดยเฉพาะในกลุ่มรุ่น N Series Flagship ของโนเกียในการยึดฐานที่มั่นใจตลาดสมาร์ทโฟน

OS ที่กำลังมาแรงบุกในตลาด Mass ที่ต้องจับตาคือ Android ที่เปิดกว้างเต็มที่รับทั้งนักพัฒนา Apps ใหม่ๆ กับค่ายแบรนด์มือถือที่หวังยอดขายในกลุ่ม Mass ที่สำคัญยังนำจุดแข็งเรื่องการใช้งานง่าย และเพื่อความบันเทิง

ความแข็งแรงของ Android จากที่มีเจ้าของเป็น “กูเกิล” ทำให้พันธมิตรธุรกิจต่างเชื่อมั่นเต็มที่ว่า OS นี้จะช่วยสร้างยอดขายได้ไม่ยาก เพราะเป้าหมายของกูเกิลที่ชัดเจนคือการเปิดกว้างให้เกิด Apps ใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อธุรกิจของกูเกิล จากการเป็นฐานข้อมูลที่ใหญ่ของโลก และสุดท้ายคำตอบอยู่ที่การขายโฆษณาได้มากขึ้นของกูเกิล

เวลานี้ OS สำหรับ “สมาร์ทโฟน” จึงกำลังเพิ่มมูลค่า ยักษ์ในโลกไอทีไม่โดดลงมาเล่นคงไม่ได้

วัดระดับ OS

OS ข้อดี ข้อเสีย

Symbian ใช้กันมากในโลกตามสัดส่วนของแบรนด์โนเกีย ค่อนข้างซับซ้อน และทำงานช้า

iPhone ใช้งานง่าย/บราวเซอร์เน็ตโมบายล์ ไม่สามารถใช้ Copy and paste ปิดกั้น Apps อื่น ๆ

RIMBlackBerry ใช้อีเมล แชตออนไลน์ได้ดี ทางเลือกไม่มาก/เว็บบราวเซอร์ไม่ดีนัก

Windows Mobile มีทางเลือกมาก เพราะมือถือหลายแบรนด์ใช้ การเข้าถึงยาก และเว็บบราวเซอร์ไม่ดีนัก ออกแบบเพื่อการใช้ทำงานคล้ายวินโดวส์ในพีซี

Android -เปิดกว้างรับพันธมิตรทั้งมือถือ ขาดฟังก์ชันสำหรับการใช้งานทางธุรกิจ
และ Apps ใหม่ ๆ

ส่วนแบ่งตลาด OS (ณ สิ้นปี 2008)
Symbian 47%
iPhone 17%
BlackBerry 15%
Windows Mobile 14%
Linux 5%
Others 2%

ระบบปฏิบัติการ iPhone OS
แอพฯ สโตร์ App Store
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. เกม
2. เอนเตอร์เทนเมนต์
3. มีประโยชน์ใช้สอย
แบรนด์ที่ใช้ ไอโฟน

ระบบปฏิบัติการ Android
แอพฯ สโตร์ Android Market Place
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. เกม*
2. เครื่องมือจัดการ
3. เอนเตอร์เทนเมนต์
แบรนด์ที่ใช้ เอชทีซี

ระบบปฏิบัติการ RIM
แอพฯ สโตร์ Blackberry App World
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. แชต
2. Social Network
แบรนด์ที่ใช้ แบล็คเบอร์รี่

ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile 6.1 และ 6.5
แอพฯ สโตร์ Windows Marketplace for Mobile
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. มีประโยชน์ใช้สอย*
2. เกม
3. แชต
แบรนด์ที่ใช้ เอชทีซี, เอเซอร์, ซัมซุง, เอชพี, โซนี่ อิริคสัน, แอลจี, อัสซุส

ระบบปฏิบัติการ Windows Mobile 7
แอพฯ สโตร์ Skymarket
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน) ยังไม่เปิดตัว แต่มีข่าวว่าจะเปิด แพลตฟอร์มพร้อมมาร์เก็ต และแอพฯ ประมาณ 18,000 Apps
แบรนด์ที่ใช้

ระบบปฏิบัติการ Symbian
แอพฯ สโตร์ Ovi Store
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. มีประโยชน์ใช้สอย
2. เกม
3. วอลเปเปอร์
แบรนด์ที่ใช้ โนเกีย

ระบบปฏิบัติการ Symbian
แอพฯ สโตร์ Samsung Mobile
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. เครื่องมือจัดการ
2. เกม
3. วอลเปเปอร์
แบรนด์ที่ใช้ ซัมซุง

ระบบปฏิบัติการ
แอพฯ สโตร์
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
แบรนด์ที่ใช้

ระบบปฏิบัติการ Palm Pre
แอพฯ สโตร์ App Catalog
กลุ่มแอพฯ ยอดฮิต (เสียเงิน)
1. เอนเตอร์เทนเมนต์
2. มีประโยชน์ใช้สอย
3. Social Networking
แบรนด์ที่ใช้ ปาล์ม