Ep.11 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้
ถึงปี 1980 ยามาชินะ นาโอฮารุ ผู้ก่อตั้งบริษัท ก็ก้าวลงจากตำแหน่งประธาน ผู้ที่ขึ้นมาแทนเขาคือ ยามาชินะ มาโคโตะ วัย 35 ปี ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน นำคนหนุ่มสาวเข้ามาบริหารบริษัท และปลดพนักงานเก่ารุ่นพ่อออกเป็นจำนวนมาก ช่วงนี้แหละที่บันไดเริ่มเปิดการผลิต ”กันพลา”
ภายใต้การนำของมาโกโตะ บันไดเริ่มตั้งสาขาในต่างประเทศ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส, อิตาลี หรือที่ออสเตรเลีย และยังมีการวางแผนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เช่น การเปิดโรงงานแห่งที่สองในฮ่องกง และร่วมทุนเปิดโรงงานผลิตของเล่นในจีน และร่วมมือกับบริษัท Imperial Toys (ของกลุ่มบริษัท ก.เจริญ ผู้ค้าของเล่นรายใหญ่ของไทยที่เป็นคู่ค้ากันอยู่) ตั้งบริษัท Bandai and K.C. เพื่อผลิตของเล่น
ช่วงต้นยุค 80 ในญี่ปุ่นตลาดอะนิเมะบูมมาก มีการผลิตอะนิเมะแบบส่งตรงลงม้วนวิดีโอออกมามากมาย (มีชื่อเรียกว่า OVA-Original Video Animation) บันไดที่ช่วงนั้นมีรายได้จากของเล่นลดลง ก็หันเข้าหาตลาดนี้ด้วยเช่นกัน โดยก่อตั้งบริษัท Bandai Visual ขึ้นผลิตอะนิเม และ Emotion เป็นบริษัทจัดจำหน่าย พร้อมทั้งเปิดเชนร้านวิดีโอในชื่ออีโมชั่นด้วย ซึ่งบริษัทนี้เคยได้ดีลเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังของวอลท์ ดิสนี่ย์ในญี่ปุ่นด้วย
ยุค 80 บันไดมีสินค้าจากอะนิเมฮิทที่สร้างจากบิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ ”โชเน็น จัมป์” ไม่ว่าจะเป็น ดราก้อนบอล, คินนิคุแมน (ตุ๊กตุ่น), เซนต์เซย์ย่า (ฟิกเกอร์ชุดคลอธ) ที่ทุกวันนี้ก็ยังทำเงินให้บันไดได้
ของเล่นอีกชุดที่ได้รับความนิยมก็ตือ DXโชโกคิน ที่ช่วงนี้ผลิตออกมาในชื่อของบันได โดยซีรีส์ที่ได้รับความนิยมก็คือเหล่าหุ่นแปลงร่างจากหนังขบวนการ (Super Sentai)
เข็มขัดแปลงร่างก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง พร้อมกับการกลับตืนจอทีวีของไรเดอร์ ในชุด Kamen Rider Black
สินค้าอีกชิ้นที่บันไดออกวางตลาดและได้รับความนิยมในช่วงที่โมเดลได้รับความนิยมอีกชนิดก็คือ High Complete Model (H.C.M.) มันคือฟิกเกอร์หุ่นยนต์พลาสติกเสริมชิ้นส่วนโลหะบางจุดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ในขนาด 1/144 ที่โดดเด่นที่สุดตคือมือที่สามารถขยับนิ้วได้เพื่อใช้ในการจับอาวุธชนิดต่างๆ ออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1984 ในซีรีส์มีทั้งหุ่นจากกันดั้ม และหุ่นจากอะนิเมะหุ่นยนต์เรื่องอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น ทั้งไวฟาม, แอลไกลม์, ซาบุงกุล, มาครอส
และไม่รู้เพราะมาโกโตะมีพื้นฐานในธุระกิจการพิมพ์หรือเปล่า ทำให้บันไดออกสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีพื้นฐานมาจากการพิมพ์ นั่นก็คือ การ์ดดัส มันเป็นการ์ดสำหรับสะสมที่มีต่าต่างๆ บนการ์ดเอามาเล่นแบบประลองกันได้ (ก่อนที่จะมีการ์ดเกมเชิงยุทธวิธีอย่าง Yu-Gi-Ohจะออกมาวางขาย) การ์ดดัสเริ่มออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1988 โดยขายผ่านเครื่องขายการ์ดแบบหยอดเหรียญโดยชุดแรกคือเซนต์เซย์ย่า ก่อนจะตามด้วย ดราก้อนบอล และ SD Gundam หลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีเรื่องดังๆ เรื่องไหนจะไม่ได้ออกเป็นการ์ดดัสมาให้สะสมกันเลย เมืองไทยก็มีคนเอามาพิมพ์ขายเหมือนกัน และแน่นอนการ์ดสะสมนี้ก็ต้องมีใบหายาก พวกพิมพ์พิเศษอย่างการ์ดปริซึ่มด้วยเช่นกัน พวกนี้ก็จะมีราคาสูงขึ้นในหมู่นักสะสม ทุกวันนี้การ์ดดัสก็ก็ยังมีออกมาเรื่อยและพัฒนาตัวเองไปเป็นการ์ดเกมสไตล์ยู–กิ–โอไปได้ ทำให้เท่าที่มีบันทึกไว้ บันไดขายการ์ดดัส ไปได้มากกว่า 11.5 พันล้านใบแล้ว (แค่ปี 1998 เฉพาะการ์ดดัสดราก้อนบอลก็ทำยอดขายไปได้กว่า 2 พันล้านใบแล้ว
เมื่อถึงยุค 90 บันไดจะก้าวไปเติบโตในตลาดอเมริกาได้อย่างเหลือเชื่อ.
ที่มา : facebook.com/Power-Up-Mag