กระแสรักษ์โลกมาแรง! ดัน “หลอดไม้ไผ่” แจ้งเกิด ไม่ต้องง้อแล้ว “หลอดพลาสติก”

Source : Facebook Thailand Bamboo

กระแสรักษ์โลกกำลังมาแรงยังต่อเนื่อง ไม่เพียงส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวเพื่อรับกับกระแสของผู้บริโภคเท่านั้น ขณะเดียวกันได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจอย่างเช่นหลอดไม้ไผ่ที่เข้ามาทอแทนหลอดพลาสติกถึงราคาจะแพงกว่าอยู่บ้าง แต่ก็ได้ใจผู้บริโภคยุคใหม่มากกว่าเช่นเดียวกัน

จากข้อมูลของ The Ocean Conservancy ระบุว่าเมืองไทยมีหลอดพลาสติกเป็นขยะที่ถูกพบมากที่สุดเป็นอันดับสอง เป็นรองเพียงแค่ขวดพลาสติกเท่านั้น และปัญหาของสัตว์ทะเล ที่ตายเพราะการกินหลอดพลาสติกเข้าไป ยิ่งทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจ ปัญหาของหลอดพลาสติกมากขึ้น 

โดยหนึ่งในวัสดุที่สามารถทดแทนหลอดพลาสติกได้ในวันนี้คือการหันมาใช้หลอดไม้ไผ่ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพราะเป็นวัสดุธรรมชาติ 100% สำหรับในเมืองไทยการทำหลอดไม้ไผ่จำหน่ายยังไม่แพร่หลายมากนัก เพราะต้องใช้ Know-how ในการผลิตหลอดไม้ไผ่ให้ได้มาตรฐาน

Source : Facebook Thailand Bamboo

หากยังมีแบรนด์ไทยอยู่รายหนึ่งที่ค้นพบ Know-how ที่ว่านี้แล้ว นั้นคือ “Thailand Bamboo” ผู้คว่ำหวอดในวงการไม้ไผ่ มากว่า 20 ปี ซึ่งหลักๆ แล้วจะเน้นงานก่อสร้าง เช่น อาคาร รีสอร์ท ส่วนการทำหลอดไม้ไผ่เพิ่งทำมารายได้ราว 2 ปี

ลักษณ์ ทิพย์เจริญผู้ร่วมก่อตั้ง Thailand Bamboo กับสามีธนา ทิพย์เจริญ ได้กล่าวว่า สาเหตุที่รับทำหลอดไม้ไผ่มาจาก 2 ปัจจัยได้แก่ 1.ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และ 2.ต้องการช่วยเหลือชาวบ้านที่ปลูกไม้ไผ่ให้มีรายได้เพิ่ม

เพราะรู้ว่าเมื่อไม้ไผ่ นำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มได้หลายเท่าตัว โดยเฉพาะตลาดในต่างประเทศ มีความต้องการและให้ความสนใจผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่มากกว่า คนไทยที่มองไม้ไผ่เป็นสินค้าราคาถูก 

Source : Facebook Thailand Bamboo

สำหรับการนำไผ่มาทำเป็นหลอดจะมีกระบวนการปลูกที่ไม่เหมือนกัน เพราะการปลูกไผ่มาผลิตของใช้เกี่ยวกับอาหาร สิ่งสำคัญต้องไม่ใช้สารเคมีต่างจากงานไม้ไผ่ใช้ก่อสร้าง จึงได้นำ Know-how ที่คิดขึ้นไปสอนชาวบ้าน

โดยวิธีทำนั้นจะเลือกใช้การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแทน เพราะหลอดทุกอันจะต้องไม่มีเชื้อรา แม้จะเป็นงานชิ้นเล็กแต่ต้องทำให้ได้มาตรฐาน ด้วยต้องดีตราแบรนด์บนหลอดทุกชิ้น 

อย่างไรก็ตามหลอดไม้ไผ่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวต่างชาติมากกว่าโดยเฉพาะในยุโรปล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจาประมาณ 1 แสนหลอด ส่วนในเมืองไทยนั้นแม้ที่ผ่านมาจะมีกระแส เรื่องหลอดพลาสติกอยู่ค่อนข้างมาก หากยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

ด้วยราคาหลอดไม้ไผ่ที่สูงทำให้ยังไม่ได้รับกระแสตอบรับมากนัก เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าหลอดพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปอยู่ค่อนข้างมาก ด้วยเป็นงานทำมือที่มีขั้นตอนการทำที่ต้องใช้เวลา โดยราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนการสั่งซื้อเช่น หลอดไม้ไผ่ 1,000 หลอดอยู่ที่หลอดละ 5 บาท เป็นต้น

เสาวลักษณ์บอกว่าแม้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ทดแทนด้วยอายุการใช้งานนาน เพราะสามารถล้างและนำกลับมาใช้ได้อีก

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยมากขึ้นจึงได้มีการวางแผนการตลาดเชิงรุกมากขึ้น นอกเหนือจากการใช้วิธีบอกกันแบบปากต่อปาก และใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยได้ทำร้านกาแฟไม้ไผ่ ขึ้นที่กรุงเทพฯ บนถนนหัวหมาก ซอย 18 ขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นสถานที่โชว์งาน และให้คนไทยได้รู้จักงานไม้ไผ่มากขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว Thailand Bamboo ยังมีแผนเพิ่มงานชิ้นเล็ก อื่นๆ เช่น ทำแก้วไม้ไผ่ ลำโพงไม้ไผ่ และของใช้อื่น เพื่อให้ไม้ไผ่เข้าไปใกล้ผู้บริโภคมากขึ้นด้วย

Source