“เงินติดล้อ” สน “แบงกิ้ง เอเย่นต์” เดินเกมเขย่าองค์กร สร้างค่านิยม 7 ข้อ ปรับพนักงานให้ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจระยะยาว

การสร้างวัฒนธรรมองค์กร” ที่แข็งแกร่งมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในการหล่อหลอมคนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างทันการณ์ เพราะไม่ว่าจะธุรกิจจะลงทุนด้านเทคโนโลยีด้วยเงินจำนวนมากเพียงใด หากแต่พนักงานไม่พร้อมเรียนรู้ ทดลอง นำมาใช้ การขับเคลื่อนคงไม่ใช่เรื่องง่าย

ดังนั้นเมื่อ 3 ปีก่อน เงินติดล้อ ที่อยู่ในธุรกิจสินเชื่อรถยนต์จึงเชื่อว่าการบินตรงไปอเมริกาเพื่อศึกษา know-how จาก Zappos ที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัฒนธรรมขับเคลื่อนองค์กร จนกลายเป็นเว็บไซต์ขายรองเท้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ก่อนจะใช้เวลาอีก 1 ปีในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่เรียกว่า ‘Why’ and ‘How’ รวมถึงค่านิยมองค์กร 7 ข้อ ทั้งหมดนี้ถูกนำมาปรับใช้กับพนักงานกว่า 5,000 คน โดยเริ่มจากการให้ผู้บริหารทำเป็นตัวอย่าง ก่อนจะนำไปสู่พนักงานในระดับถัดมา ตั้งแต่สรรหาพนักงาน การประเมินงาน ไปจนถึงการปรับบทลงโทษ

ขณะเดียวกันได้มีการนำแนวคิดการทำงาน agile รวมทั้ง scrum มาใช้ รวมไปถึงได้ออกแบบพื้นที่ทำงานของสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ให้พี้นที่ส่วนกลางคิดเป็น 30% นอกจากนี้แล้วยังมีสวัดดิการใหม่ๆ ให้กับพนักงานทั้งทุนเรียนต่อระดับปริญญาโท การส่งไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ รวมไปถึงสินเชื่อช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

อาฑิตยา พูนวัตถุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายนายหน้าประกันภัย บริษัท เงินติดล้อ จำกัด อธิบายว่า เดิมตอนที่ยังไม่ได้สร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นจริงเป็นจัง มีบ้างที่พนักงานมองลูกค้าไม่มีทางเลือก จึงไม่ได้อธิบายข้อมูลและดูแลเท่าที่ควร แต่ตอนนี้พนักงงานก็จะเข้าใจถึงองค์กร ก็กระตือรือร้นดูแลลูกค้าเป็นทางดี

ในส่วนของธุรกิจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Siam Asia Credit Access PTE LTD ซึ่งถือหุ้นโดยกองทุน CVC Capital Partners Asia Fund IV (CVC) และ Equity Patners Limited (EPL) ได้เข้ามาถือหุ้น 50% โดยซื้อต่อจากธนาคารกรุงศรี

การเข้ามาของผู้ถือหุ้นใหม่เงินติดล้อระบุว่า ไม่ได้เข้ามากำหนดทิศทางในการบริการ เพราะเห็นว่าทิศทางในปัจุบันดำเนินไปในทางที่ดีอยู่แล้ว แต่ถือเป็นเรื่องดีมากกว่า เพราะผู้ถือหุ่นใหม่มีการทำธุรกิจที่คล้ายๆ กันในเอเชีย ซึ่งสามารถนำ know-how เทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ได้

ปิยะศักดิ์ อุกฤษฏ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเงินติดล้อจำกัด กล่าวว่า  สิ้นปี 2018 เงินติดล้อมียอดสินเชื่อคงค้าง 39,713 ล้านบาท โดยสามารถแบ่งสัดส่วนสินเชื่อ 2 รูปแบบ คือคิดจากมูลค่าจำนวนเงินพอร์ตสินเชื่อหลักประกอบด้วย สินเชื่อทะเบียนรถยนต์และรถกระบะคิดเป็นสัดส่วน 63% สินเชื่อทะเบียนรถสิบล้อรถแทรกเตอร์คิดเป็น 20% และสินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์คิดเป็น 9% 

หากคิดจากจำนวนทะเบียนรถ สินเชื่อทะเบียนรถจักรยานยนต์จะมีสัดส่วนเป็น 58% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด ซึ่งฐานลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท มีจำนวนบัญชีลูกค้า 450,000 บัญชี

สำหรับในปีนี้ตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อ 6% คิดเป็นยอดสินเชื่อใหม่ 35,000 ล้านบาท บัญชีเพิ่มเป็น 560,000 บัญชี ตั้งเป้าเปิดสาขาเพิ่ม 187 สาขา ส่งผลให้จำนวนสาขาเพิ่มเป็น 1,000 สาขา  สิ้นปีนี้ โดยจะขยายในกรุงเทพและภาคใต้ หลัง 2 ปีก่อนเน้นขยายในภาคเหนือและภาคอีสาน

ด้านธุรกิจประกันรถยนต์ตั้งเป้าหมายเติบโต 25-30% หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 2,700 ล้านบาท จากปีก่อนที่ 1,700 ล้านบาท มีลูกค้าประมาณ 200,000 กรมธรรม์ ทั้งประกันรถยนต์อุบัติเหตุส่วนบุคคล จากเบี้ยประกันทั้งระบบที่ 1.2 แสนล้านบาท

เรื่อง Banking Agent ที่กำลังได้รับความสนใจจากแวดวงธนาคาร ซึ่งเงินติดล้อเองก็มีผู้ถือหุ้นเป็นธนาคารเช่นเดียวกัน กำลังอยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และความเสี่ยงอยู่ ด้วยเรายังไม่เคยรับฝากเงินสด แต่จริงๆ ก็ไม่ยากหากเราจะทำ แต่ต้องขอดูทิศทางก่อน