ผ่าตัวตน เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้ง Huawei

แม้ว่า Ren Zhengfei (เหริน เจิ้งเฟย) ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร อาณาจักร Huawei Technologies ได้ออกมาระบุว่า สหรัฐฯ ประเมินหัวเว่ย” ต่ำเกินไป

แม้ว่าหัวเว่ยจะถูกสหรัฐอเมริกาสั่งแบน ห้ามบริษัทอเมริกันจำหน่ายหรือโอนเทคโนโลยีให้กับหัวเว่ย หนำซ้ำกูเกิลยังเดินตามนโยบาย ส่งผลให้ผู้ใช้อุปกรณ์หัวเว่ย ไม่สามารถเข้าถึงบริการของกูเกิล เช่น จีเมลกูเกิล แมปยูทูบได้อีก

แต่เหรินก็ยืนยันว่าการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯ กับหัวเว่ยเป็นปัญหาที่คุกรุ่นมานานหลายปี หลังจากหัวเว่ยสามารถพัฒนาเทคโนโลยี 5G จนล้ำหน้าแซงคู่แข่งไปไกล

เหรินเคยพูดถึงชีวิตตัวเองให้โลกได้ฟังเมื่อปี 2015 ในงานประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ครั้งนั้น เหรินยังเอ่ยปากทำนองว่ามองสหรัฐฯ เป็นเพื่อน พร้อมกับชื่นชมอุดมการณ์สำคัญของแดนลุงแซมเรื่องการเปิดกว้าง แต่ความหอมหวานนี้จางหายไปแล้วเพราะล่าสุดผู้ก่อตั้งหัวเว่ยยอมรับว่าเริ่มเตรียมการรับมือการโจมตีมานานหลายปี และสงครามการค้าครั้งนี้ระหว่างหัวเว่ยและสหรัฐฯ นั้นไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลย

Chinese President Xi Jinping is shown around the offices of Huawei Technologies by company founder Ren Zhengfei in London on Oct. 21, 2015. (Reuters)

ก่อนการขึ้นเวที World Economic Forum ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Huawei อย่าง เหรินเคยถูกมองเป็น “ไอเท็มลับเพราะนักธุรกิจจีนรายนี้ออกสื่อน้อยมากนับครั้งได้ แต่เหรินยืนยันบนเวทีนี้ว่าเขาไม่ใช่คนลึกลับ หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้จงใจให้ลึกลับ ทั้งหมดนี้เหรินไม่ลืมถ่อมตนด้วยการบอกว่าตัวเองไม่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ และไม่ได้เป็นเซียนการเงิน แต่สิ่งที่ทำให้ Huawei ยิ่งใหญ่อย่างวันนี้ได้คือความมุ่งมั่นตั้งใจล้วนๆ

เหรินเคยให้สัมภาษณ์ Linda Yueh นักข่าว BBC แบบมีอารมณ์ขันโดยเล่าถึงบ้านเกิดตัวเองแบบสมถะว่าเรามีเกลือสำหรับปรุงอาหาร ดังนั้นเราจึงถือว่าร่ำรวยแล้วในยุคนั้น” 

เหริน เกิดวันที่ 25 ตุลาคม 1944 ในครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นครู เด็กชายเหริน เจิ้งเฟย ต้องเดินทางข้ามเขาไปโรงเรียนในเมืองที่ห่างไกล ก่อนที่ปี 1963 จึงได้มาศึกษาต่อที่ Chongqing Institute of Civil Engineering and Architecture หลังจากเรียนจบจึงทำงานเป็นวิศวกรในธุรกิจก่อสร้างจนถึงปี 1974

เหริน แสดงความมั่นใจว่าการเข้าร่วมกับกองทัพจีนไม่ใช่ข้อผิดพลาด และเป็นเรื่องดีของชีวิตแม้จะยอมรับว่าเข้าร่วมกองทัพจีนโดยบังเอิญ โดยก่อนหน้านี้ เหริน พยายามบอกโลกว่าหัวเว่ยไม่มีอะไร มีแต่ความรักให้สหรัฐฯทั้งหมดนี้สะท้อนพลังมองบวกของเจ้าพ่อหัวเว่ยที่พยายามโชว์ให้โลกเห็น

เหริน เล่าถึงช่วงทศวรรษ 1970 ซึ่งรัฐบาลจีนต้องการแจกผ้าให้ประชาชนอย่างเพียงพอ ทำให้รัฐบาลสร้างโรงงานผลิตผ้าใยสังเคราะห์ขึ้น แต่เนื่องจากโรงงานขาดบุคลากรที่มีความรู้ ดังนั้นรัฐบาลจึงเลือกทหาร ซึ่งเคยศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อขอความช่วยเหลือในการทำโครงการนี้ 

เหริน บอกว่านั่นคือวิธีที่ผมได้เข้าไปในกองทัพซึ่งอดีตนักศึกษาวิศวกรรมโยธายืนยันว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ

ตามประวัติ เหริน เข้าร่วมในบริษัท Engineering Corps ของกองทัพ โดยที่ยังเป็นทหาร ต่อมาจึงได้รับการรับเลือกให้รับผิดชอบดูแลการก่อสร้างโรงงานผลิตเส้นใยผ้า และเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1982

เหริน ไม่ได้แสดงความพยายามในการคิดบวกสำหรับกรณีเข้าร่วมกองทัพจีนเท่านั้น แต่ยังโชว์การคิดบวกกับสหรัฐฯ มาตลอดด้วย ทั้งที่เริ่มเจ็บปวดจากมาตรการสหรัฐฯ แล้ว เหรินเคยย้ำว่าไม่เคยคิดเลยว่าสหรัฐฯ จะไม่ยุติธรรมกับหัวเว่ยพร้อมกับบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของสหรัฐอเมริกาคือการเปิดกว้าง”

พร้อมกับย้ำชัดเจนว่า หัวเว่ยจะไม่มองคนรอบข้างในฐานะคู่แข่ง แต่จะมองเป็นเพื่อนแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ เหรินเปรียบเทียบได้น่าสนใจว่าเหมือน หัวเว่ยแบ่งแตงโม 1 ลูกออกเป็น 8 ชิ้น และหัวเว่ยต้องการเพียงชิ้นเดียวก็พอ

เมื่อถูกถามว่า หัวเว่ยเคยถูกขอให้ใช้อุปกรณ์เครือข่ายเพื่อดักฟังการสื่อสารในจีนหรือที่อื่นหรือไม่ เหรินยืนยันว่าไม่เคยถูกขอเลยสักครั้ง 

ไม่มีทางที่เราจะสามารถเจาะเข้าไปในระบบของประชาชน และเราไม่เคยได้รับการร้องขอจากรัฐบาลจีน

เจ้าพ่อ หัวเว่ยย้ำชัดถ้อยชัดคำ 

หนึ่งในเคล็ดลับสู่ความสำเร็จของหัวเว่ยในมุมมองของ เหริน คือความมุ่งมั่นอย่างมากในการให้บริการลูกค้าทุกระดับทุกพื้นที่ทั่วโลก ผลคือ หัวเว่ยไม่เลือกตลาดและไม่ท้อถอย จนสามารถเติบโตและดำเนินงานใน 170 ประเทศ 

ประเด็นนี้ เหรินย้ำว่าไม่เคยหยุดให้บริการแม้ว่าพนักงานของตัวเองจะต้องเผชิญกับอันตราย ตัวอย่างบางส่วนที่เหรินหยิบยกมาคือกรณีมีภัยพิบัติสึนามิ สงครามกลางเมือง และแผ่นดินไหว ทุกที่ หัวเว่ยไม่อิดออดที่จะไปให้บริการ

เจ้าพ่อหัวเว่ยบอกว่าภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่ออนาคตของหัวเว่ย ไม่ใช่สงคราม ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ ไม่ใช่คู่แข่ง และไม่ใช่รัฐบาลสหรัฐฯ แต่เป็นตัวเราเอง

แต่เหรินยอมรับว่าหวั่นใจที่เห็นหัวเว่ยเติบโตเร็วเกินไปและทำเงินมากเกินพอดี เหริน บอกว่าหัวเว่ยเป็นแค่หญ้าต้นเล็ก แต่กำลังพยายามที่จะเติบโตไปเป็นต้นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นบ่อนทำลายตัวเองได้

ส่วนตัวแล้ว เหรินยืนยันว่าเขาไม่ใช่คนลึกลับอะไร แต่ที่ไม่ออกสื่อเป็นเพราะตัวเองไม่ใช่คนเก่ง ซึ่งหากจะพูดภาษาชาวบ้าน เหรินพยายามถ่อมตัวว่าไม่ต้องการโชว์โง่ให้ใครเห็น

ผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเทคโนโลยี และก็ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการเงิน ดังนั้นหากไม่รู้ลึกรู้จริง การไม่ปรากฏตัวก็ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเหรินอธิบายมิฉะนั้นคนอื่นอาจจะเห็นว่าหลังกางเกงคุณสกปรกมากขนาดไหน ผมเองก็หวังจะไม่โชว์ความโลว์โปรไฟล์ออกมาเหมือนกัน

การออกสื่อครั้งล่าสุดของเหริน ตอกย้ำว่าแนวทางหลักของหัวเว่ย ทำให้การต่อสู้ระหว่างหัวเว่ยและสหรัฐอเมริกานั้นต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปฏิเสธหนักแน่นว่าไม่มีทางใดที่สหรัฐอเมริกาจะสามารถยับยั้งความทะเยอทะยานไม่ให้หัวเว่ยขยายตัวครองโลกได้

ผมยอมเสียสละตัวเองและครอบครัว เพื่อเป้าหมายที่จะยืนหยัดอยู่เหนือสุดของโลกหัวเว่ยกล่าวในวัย 74 ปี กับผู้สื่อข่าวชาวจีนเมื่อวันอังคารที่ 21 ..ที่ผ่านมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ (to stand on top of the world) ความขัดแย้งกับสหรัฐฯ ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จุดนี้ทำให้ Ren Zhengfei คือผู้ก่อตั้ง Huawei

ยอมรับว่าเตรียมตัวรับการโจมตีจากสหรัฐฯ มานานแล้ว เรียกว่าทุกอย่างถูกคาดการณ์ไว้หมดเรียบร้อยโรงเรียนจีน.

ที่มา