Nike มีดราม่า หยิบธงอเมริกายุคทาสติดรองเท้าทำสังคมประท้วงรับวันชาติ

แทนที่จะสร้างกระแสบวกจากแคมเปญวันชาติสหรัฐฯ 4 .. ปีล่าสุด แต่แบรนด์ดังอย่างไนกี้ (Nike) กลับเจอดราม่าชามโตเมื่อผ่าไปนำรูปธงอเมริกายุคค้าทาสมาติดที่รองเท้า เป็นเหตุให้มีผู้ประท้วงชวนสังคมคว่ำบาตร Nike ฐานตัดใจเก็บรองเท้าเจ้าปัญหาออกจากชั้นโดยไม่เห็นค่าของความคิดเสรี ล่าสุดราคารองเท้าต้องห้ามรุ่นนี้ราคาพุ่งกระฉูดเกิน 7 หมื่นบาท กลายเป็นของหายากในพริบตา

ปรากฏการณ์นี้ทำให้หุ้น Nike ลดลงน้อยกว่า 1% ทันทีที่ข่าวถูกประกาศ เป็นการลดลงหลังจากหุ้น Nike เพิ่มขึ้นเมื่อวันจันทร์เกือบ 2% เบ็ดเสร็จแล้วหุ้น Nike พุ่งขึ้น 15% ในภาพรวมปีนี้ส่งผลให้ราคาตลาดของบริษัททะลุหลัก 134,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะนี้ #BoycottNike เป็นแฮชแท็กที่ร้อนแรงยิ่งขึ้นบน Twitter แม้ Nike จะออกมาแจงว่าเก็บสินค้าไปเพราะธงชาตินี้เป็นเวอร์ชั่นเก่า ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบ่งแยกที่อาจกระทบภาพแบรนด์ Nike ในระยะยาว

ธงเจ้าปัญหา

สื่อเมริกันรายงานว่า Nike ตัดสินใจเก็บรองเท้ากีฬารุ่นใหม่ที่ประดับลายธงชาติอเมริกายุคแรกออกจากชั้นวาง หลังจากที่ Colin Kaepernick อดีตผู้เล่นอเมริกันฟุตบอลชื่อดังซึ่งเคยเป็นพรีเซ็นเตอร์ Nike เตือนว่าเป็นการรื้อฟื้นยุคค้าทาส เนื่องจากธง “Betsy Ross” ซึ่งมีภาพดาว 13 ดวงเรียงกันเป็นวงกลมนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงการปฏิวัติอเมริกา ภายหลังธงนี้ถูกเปลี่ยนเป็นธงปัจจุบันที่มีภาพดาว 50 ดวงเพื่อเป็นตัวแทนของ 50 มลรัฐ

Colin Kaepernick

ทั้งที่รองเท้าถูกกำหนดให้วางจำหน่ายในการฉลองวันหยุดที่ 4 กรกฎาคม มีรายงานว่า Kaepernick บอกกับ Nike ว่าไม่ควรขายผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ซึ่งเขาและหลายคนเห็นว่าเป็นการล่วงละเมิด ทำให้ Nike ตัดสินใจเก็บรองเท้าออกจากชั้นตั้งแต่ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

ธง Betsy Ross บนรองเท้านั้นถูกมองว่าเชื่อมโยงกับการเป็นทาส ตัวธงถูกออกแบบในปี 1770 เพื่อเป็นตัวแทนของอาณานิคมทั้ง 13 แห่ง นับแต่นั้นมาธงนี้จึงมีภาพเกี่ยวข้องกับอำนาจสูงสุดของคนผิวขาว กรณีบาดหมางที่เคยเกิดขึ้นคือปี 2016 ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนในรัฐมิชิแกนออกมาขอโทษสังคมหลังจากนักเรียนมัธยมซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาวเลือกโบกธง Betsy Ross ระหว่างเกมฟุตบอล ซึ่งในขณะนั้น มีข่าวว่าธง Betsy Ross ถูกจัดสรรโดยกลุ่มหัวรุนแรงบางกลุ่มซึ่งหวังโจมตีแนวคิดสนับสนุนความหลากหลายในสหรัฐอเมริกา

Nike กล่าวในแถลงการณ์เพียงว่า บริษัทเลือกที่จะไม่จำหน่ายรองเท้ารุ่น Air Max 1 Quick Strike Fourth ของเดือนกรกฎาคมเนื่องจากการพิมพ์ลายธงชาติอเมริกันเวอร์ชั่นเก่า ซึ่งแม้จะพยายามดึงรองเท้าเหล่านี้ออกจากตลาด พร้อมกับขอให้ผู้ค้าปลีกพันธมิตรส่งรองเท้าคืนหลังจากส่งออกไปแล้ว แต่สำนัก WSJ พบว่ามีรองเท้ารุ่นนี้ 1 คู่ที่ถูกนำไปวางจำหน่ายบนร้านขายต่อรองเท้ากีฬาออนไลน์ชื่อ StockX ด้วยราคาราคาสูงถึง 2,500 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 76,500 บาท

ประท้วง Nike ไม่มีจุดยืน

ผู้บริโภคและนักการเมืองอเมริกันบางคนแสดงความไม่พอใจกับการตัดสินใจของ Nike โดยบอกว่า Kaepernick ไม่ควรมีอำนาจมากถึงขนาดสั่งดึงผลิตภัณฑ์ออกจากชั้นวางได้ ความไม่พอใจนี้เกิดขึ้นหลังจากข่าวราคารองเท้าพุ่งกระฉูด ส่งให้แฮชแท็ก #BoycottNike ขึ้นเป็นเทรนด์แรงบน Twitter

ก่อนหน้านี้ Kaepernick เป็นนักกีฬาที่แสดงออกเรื่องสิทธิพลเมืองอย่างโดดเด่น Kaepernick เคยตัดสินใจไม่เข้าร่วมยืนเคารพธงชาติในช่วงเกมการแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่องในปี 2016 ของ NFL เพื่อประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมทางเชื้อชาติ การกระทำของเขาได้รับการปกป้องอย่างกว้างขวางว่าเป็นการใช้เสรีภาพในการพูด เวลานั้น Nike ก็โหนกระแสด้วยการเลือก Kaepernick เป็นพรีเซ็นเตอร์เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของสโลแกน “Just Do It” เพื่อตอกย้ำสาระของข้อความนี้ว่าเกี่ยวข้องกับการเอาชนะความทุกข์ยาก

แต่แนวคิดของ Kaepernick ที่โน้มน้าวให้ Nike เลิกขายรองเท้ารุ่นนี้ไม่ตรงใจคนอเมริกันบางคน ที่เห็นัดือวุฒิสมาชิก Ted Cruz (R-Texas) ที่กล่าวใน Twitter ว่า จะไม่ซื้อสินค้า Nike อีกต่อไปเพราะการไม่เห็นค่าของการแสดงความเห็นเสรี แถมยังตั้งแฮชแท็กว่า #WalkAwayFromNike เพื่อชวนให้ผู้ที่เห็นด้วยเลิกเป็นลูกค้า Nike

ยังมีกรณีของผู้ว่าการรัฐแอริโซนา Doug Ducey ที่กล่าวว่าจะสั่งให้หน่วยงานการค้าของรัฐถอนมาตรการจูงใจทางการเงินทั้งหมดที่จะเสนอให้ Nike ตั้งหน่วยงานในรัฐเพราะรองเท้าถูกยกเลิกจำหน่าย ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งนี้เคยมีการประเมินว่าจะสร้างงานประมาณ 500 ตำแหน่งทีเดียว

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Nike เก็บสินค้าจากชั้นวางเพราะปัญหาการเมือง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Nike เพิ่งดึงรองเท้าอีกรุ่นออกจากตลาดประเทศจีน ยังมีกรณีของ Undercover นักออกแบบรองเท้าชาวญี่ปุ่นที่สร้างลวดลายที่แสดงถึงการสนับสนุนการประท้วงในฮ่องกง ึ่งส่วนใหญ่กลายเป็นกระแสร้อนบนโลกโซเชียลในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง.

Source