กสทช. ขายไอเดียเก็บค่าบริการ Facebook – LINE – Netflix ให้แก่ 10 ประเทศอาเซียน พร้อมตั้งศูนย์ยืนยันข้อมูลทุกประเทศ

เป็นความพยายามมาสักพักใหญ่ๆ แล้ว ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ต้องการเก็บค่าบริการแพลตฟอร์ม OTT หรือ Over-The-Top แต่ที่สุดแล้วไม่ได้มีอะไรคืบหน้ามากนัก

แต่ล่าสุดฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขาธิการ กสทชได้ออกมากล่าวว่า ก่อนที่จะมีการประชุมของผู้นำองค์กรกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคอาเซียน หรือ การประชุม ASEAN Telecommunication Regulator’s Council : ATRC ครั้งที่ 25 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ 20 – 21 .นี้ ในวันนี้ (19 .. 2562)

คณะทำงานด้าน OTT ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ OTT เข้าประเทศของสมาชิก 10 ประเทศในอาเซียน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมต่อไป หลังจากที่เรื่องนี้มีการหารือร่วมกันตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ทว่าการประชุมครั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุป เพราะผู้ให้บริการ OTT ได้แก่ Facebook – LINE – Netflix – Amazon – Walter Disney ต่างให้ความสนใจในการเข้าร่วมประชุมด้วย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้จนกว่าจะมีมติที่ประชุมของ 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งการกำหนดการเก็บค่าบริการ OTT นั้น จะเป็นการกำหนดกรอบกว้าง เพื่อให้แต่ละประเทศลงรายละเอียดที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศเอง 

โดยประเทศไทยได้เสนอเงื่อนไขในการเก็บค่าบริการ OTT 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อค่าบริการของประชาชน 2. ต้องมีรายได้เข้าประเทศ และ 3. ขอให้ OTT ให้ความร่วมมือ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการได้

การขยายตัวของบริการ OTT วันนี้สร้างความท้าทายให้กับผู้กำกับดูแลทั่วโลก เพราะมีประเด็นเชิงนโยบายมากมายตั้งแต่เรื่องการจัดเก็บภาษีของรัฐ ไปจนถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิเช่น การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลและการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย การจัดให้มีอภิปรายและการร่วมมือของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล ผู้ให้บริการเครือข่าย ผู้ให้บริการ OTT และผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ขณะเดียวกันได้มีการเสนอให้ OTT ดำเนินการเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น ด้วยการจ้างบริษัทกลางที่เชี่ยวชาญด้านนี้ในการจัดตั้งเป็น ศูนย์ประสานงานและยืนยันความถูกต้องของข้อมูล เพื่อเป็นศูนย์สำหรับประสานงานกับบริการ OTT ในประเทศอาเซียนศูนย์ละ 1 ประเทศ

แม้ว่าทาง OTT เช่น Facebook จะมีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่ฐากร ยืนยันว่าระยะเวลาตรวจสอบ 1 เดือนนั้นช้าไป หากมีบริษัทกลางเข้ามาดูแลโดยเฉพาะกระบวนการตรวจสอบจะเร็วขึ้นเหลือเพียง 1 – 2 วัน ซึ่งทางเฟซบุ๊กก็ให้ความสนใจและจะคุยกันในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง 

สำหรับการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว OTT สามารถเลือกตัวแทนในประเทศนั้นๆ เพื่อทำหน้าที่ยืนยันข้อมูลได้ทันที โดยกสทชจะเป็นผู้ดูแลอยู่ห่างๆ แต่จะโปรโมทให้ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการและแจ้งข้อมูลเพื่อให้ตรวจสอบได้ โดย OTT ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง

โดยเรื่องนี้มองว่าจะเป็นการทำงานส่งเสริมกับนโยบายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้ เนื่องจากปัจจุบันมีการปลอมแปลงเอกสารและมีการปล่อยข่าวลวงกันจำนวนมากกว่าจะตรวจสอบได้ก็ใช้เวลาเป็นเดือน ความเสียหายจึงเกิดขึ้นมาก

ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่ตระหนักเรื่องนี้ ทุกประเทศในอาเซียนก็มีความกังวลเรื่องนี้ไม่แพ้กัน ขณะที่เฟซ บุ๊กเองก็มีรูปแบบการจ้างบริษัทกลางในการตรวจสอบข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วกว่า 10 บริษัท ดังนั้นจึงควรจะทำกับ 10 ประเทศในอาเซียนด้วย.

Source