แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีประเทศไหนที่ออก “สกุลเงินดิจิทัล” (Cryptocurrency) ของตนเองมาใช้อย่างจริงจัง แถมสกุลเงินดิจิทัลที่อยู่ในตลาดอย่างบิตคอยน์ หรืออีเทอเรี่ยม นั้นก็ยังอยู่ในวงจำกัด ทั้งในแง่ของการนำมาใช้ประโยชน์จริง หรือเป็นสื่อกลางทางการเงินใหม่แห่งโลกทุนนิยม
แต่ในความเป็นจริง ก็ปฏิเสธได้ยากว่า การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัล มีแรงผลักที่อาจจะทำให้สกุลเงินเหล่านี้ “ต้องเกิด” แต่อาจจะเกิดในลักษณะที่รัฐหรือธนาคารกลางเป็นผู้ผลิตขึ้นมาเอง หรือจะเป็นเอกชนที่มีความสามารถในการสร้างระบบสกุลเงินที่มีความแข็งแรง อุดรอยรั่วด้านความไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งอันนี้ก็ต้องตามดูกันต่อไป
ทำไมสกุลเงินดิจิทัลต้องเกิด?
หากย้อนไปในช่วงก่อนปี 1930 เงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายส่วนใหญ่มีการอ้างอิงจากมูลค่าของทองคำและค่าเงินจากประเทศต่างๆ แต่พอนับตั้งแต่ปี 1971 พลเมืองสหรัฐฯ สามารถใช้ธนบัตรได้เป็นครั้งแรกเป็นสกุลเงินเดียวที่ไม่ขึ้นอยู่กับ ทองคำและค่าเงิน และถึงทุกวันนี้ค่าเงิน ยูเอสดอลล่าร์สหรัฐนั้น ก็ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลสหรัฐฯ แบบที่ทั่วโลกยอมรับและมีความน่าเชื่อถือ
อย่างไรก็ตาม แม้รูปแบบของค่าเงินจะแผ่กระจายไปทั่วโลก แต่เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดปัญหาเสถียรภาพในระบบการเงินประเทศ เช่น ประเทศเวเนซุเอลาที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจ เผชิญกับเงินเฟ้อสูงมากเกือบ 1 ล้านเปอร์เซ็นต์ในปี 2561 ก็ทำให้เงินโบลีเวีย (Bolevar) ซึ่งเป็นสกุลเงินท้องถิ่นแทบไม่มีค่า แม้จะซื้อเบอร์เกอร์เพียงชิ้นเดียว ก็ยังยาก
แต่ถ้าลองจินตนาการดูว่า ถ้ามีระบบเงินกลางที่ได้รับการยอมรับแบบที่เรายอมรับบัตร Visa และ MasterCard สามารถทำให้เราซื้อเบอร์เกอร์หรืออื่นๆ ได้โดยตรงในอัตราราคาคงที่ โดยไม่ต้องอิงค่าเงินของประเทศไหนๆ ทุกอย่างสามารถซื้อในราคามาตรฐานเดียว ไม่ต้องอิงเรทราคากลางผ่านสกุลเงินที่ผันผวน ก็คงจะเป็นอะไรที่พิเศษอย่างยิ่ง
ความแตกต่างระหว่าง “สกุลเงินตามกฎหมาย” กับ “สกุลเงินที่ได้รับการรับรองการเข้ารหัสดิจิทัล”
อันที่จริงสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรนัก โดยเป็นสกุลเงินที่สร้างขึ้นจากกลไกคณิตศาสตร์ที่กำหนดจำนวนไว้จำกัด และต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ถอดรหัสเพื่อนำเงินออกจากกลไก
แต่เป้าหมายของสกุลเงินดิจิทัลนี้ ก็เพื่อลดการรวมศูนย์ของระบบการชำระเงินผ่านสถาบันการเงิน โดยสามารถกระจายไปยังผู้ใช้งานในเครือข่ายสกุลเงินนั้นๆ ได้ ที่มีระบบเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คอยติดตามการเคลื่อนไหวของเงินตั้งแต่การชำระ/โอนเงินได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย เพราะเมื่อไม่มีตัวกลาง ก็จะสามารถป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลต่างๆ ไปได้ในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่ายๆ คือ สกุลเงินดิจิทัลจะช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการทำธุรกรรมการเงิน ต้นทุนต่ำ และปลอดภัยสุดๆ
อย่างไรก็ตาม สกุลเงินดิจิทัลที่ออกมาหลากสายพันธุ์ ก็มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่น่ากังวลในเชิงของความน่าเชื่อถือ และก็กระทบเป็นภาพใหญ่ให้แก่วงการนี้ แถมธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังไม่รับรองว่าบรรดาสกุลเงินดิจิทัลที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะที่เปิดตัวจากเอกชนจะสามารถใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย เพราะยังมีคุณสมบัติที่ยังไม่ครบของการเป็นสื่อกลางในการชำระเงิน
“การเข้ารหัสด้วยซีเรียลนัมเบอร์” เส้นทางสู่ “สกุลเงินที่ถูกกฎหมาย”
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า สกุลเงินดิจิทัลจะพบกับทางตันโดยทั้งหมด วิธีการหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สกุลเงินดิจิทัล มีสถานะการเป็นเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ คือ “การเข้ารหัสด้วยซีเรียลนัมเบอร์”
หมายถึงอะไร?
โดยธรรมชาติของแต่ละสกุลเงินจะมีชื่อพิเศษของตัวเอง รวมถึงการออกแบบและสี ดอลลาร์, ยูโร, เงินหยวน, ปอนด์อังกฤษ, ดอลลาร์ญี่ปุ่น, Tugrik, เปโซ, รูปี, ดีนาร์, ริงกิต หรือแม้แต่เงินบาทไทย แต่สิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ของทุกๆ สกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีบางอย่างเหมือนกัน นั่นคือ “หมายเลขซีเรียล” (Serial Number) บนธนบัตรหรือเหรียญ
อย่างที่ทราบกันดีว่าบทบาทของ “หมายเลขซีเรียล” เหล่านี้นั้นจะสำคัญมากในโลกของอาชญากรรม เพราะมันจะช่วยตรวจสอบและติดตามบุคคลและองค์กรในด้านของเงินทุนที่ไหลเข้าไหลออกได้อย่างชัดเจน ตัดโอกาสที่จะเกิดขึ้นร้ายแรงต่างๆ เช่น เดียวกับโจรที่ต้องการเงินเพื่อซื้อปืนไปปล้น ดังนั้นการตัดโซ่ทุนออก จะช่วยลดการเกิดอาชญากรรมได้อย่างมาก ซึ่งตรงนี้เป็นวิธีการที่รัฐบาลทั่วโลกเขาใช้ในการต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรม
ฉะนั้นหลักการของการเข้ารหัสด้วยซีเรียลนัมเบอร์ จึงไม่ต่างอะไรกับการทำงานของสถาบันการเงินและธนาคารอื่นๆ ที่มีการออกธนบัตร และมีตัวเลขซีเรียลนัมเบอร์ที่ชัดเจน ซึ่งทำให้สามารถติดตามธุรกรรม หรือแหล่งเงินว่ามาจากแหล่งใด จากเลขที่ไหนที่ถูกบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดการติดตาม “ต้นทาง” และ “ปลายทาง” ได้โดยง่ายหากเกิดเหตุทางอาชญากรรมใดๆ ก็ตาม
ทว่า รูปแบบของสกุลเงินดิจิทัลที่มีในปัจจุบัน อาจจะยังไม่มีคุณสมบัติที่ว่ามาเท่าไรนัก
KRATSCOIN สกุลเงินที่มาพร้อมซีเรียลนัมเบอร์
สกุลเงินดิจิทัลน้องใหม่ภายใต้ชื่อ “KRATSCOIN” (KTC) กำลังถูกพูดถึงในวงของคริปโทเคอร์เรนซี่ เพราะมีการออกแบบซีเรียลนัมเบอร์เข้าไปกับเหรียญที่ขุดได้ แน่นอนว่า ด้วยหมายเลขซีเรียลของ KRATSCOIN (KTC) จะสามารถแก้ปัญหาของอาชญากรรมทางการเงินที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดหรือกำจัดการทุจริตการฟอกเงินที่ผิดกฎหมายและการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้ายได้อีกด้วย หากก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดสกุลเงินดิจิทัล
พูดง่ายๆ KRATSCOIN จะช่วยทำให้รัฐบาลติดตามการทำธุรกรรมเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านการตรวจเช็คหมายเลขซีเรียลจากหน่วย KTC แต่ละหน่วยในระบบของ Blockchain ของ KRATSCOIN ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีในระบบ Blockchain ของ Bitcoin ไม่ใช่แค่เรื่องของการติดตามที่มาที่ไปด้านธุกรรมทางการเงิน หรือการใช้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนใหม่เท่านั้น แต่ในหลายประเทศแถบเอเชียที่มีการเปิดเหมืองคอยน์ให้คนขุดกันแบบผิดกฎหมาย สร้างผลกระทบให้เกิดแก่ภาคพลังงาน โดยมี “การขโมยใช้ไฟฟ้า” จากบริษัทพลังงานส่วนใหญ่ที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินอย่างมากต่อทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้จัดหาสาธารณูปโภค การเปิดตัวของ สกุลเงินที่มีหมายเลขซีเรียล อย่าง KRATSCOIN นี้ จึงทำให้การขุดเหมืองทุกครั้งนั้นไม่สามารถเลี่ยงการจ่ายค่าไฟฟ้าได้โดยอัตโนมัตินั่นเอง
ความต่างของ KTC (KRATSCOIN) VS BTC (BITCOIN)
แม้จะมีความคล้ายคลึงระหว่าง KTC และ BTC ในหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะการเริ่มต้นกระบวนการขุดด้วยมาตรฐาน ASIC miner (ASIC Miner S9 หรือ T9) ในปริมาณสูงสุด 21 ล้านหน่วย โดย 1 บล็อกต่อ 10 นาที, 144 KTC ต่อ 24 ชั่วโมง และรวมถึงครึ่งหนึ่งต่อ 210,000 บล็อก
แต่จากข้อมูลอ้างอิงโดย KTC Explorer (วันที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา) ได้แสดงให้เห็นว่าบล็อก KTC Blockchain ทำได้ถึง 41,063 การันตีรางวัลให้ ‘คนขุดแร่’ ได้ 50 KTC ต่อ 10 นาที แต่เนื่องจาก Block Genesis นั้นได้ปรากฏในวันที่ 18 ธันวาคม 2018 ทำให้ไม่ได้รับรางวัลอีกครึ่งหนึ่ง
นอกเหนือจากการมีหมายเลขซีเรียลแล้ว ความแตกต่างระหว่าง KTC และ BTC ก็คือ จำนวนหน่วยที่เล็กที่เข้าใจง่ายกว่า เพราะถ้าหาก BTC มี 0.0000001 หน่วย ตัว KTC ก็จะมีเพียง 0.00001 หน่วย ซึ่งอำนวยความสะดวกในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน โดยในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น หาก KTC 1 หน่วยมีมูลค่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ หน่วยที่เล็กที่สุดของ KTC ก็คือ 0.00001 เมื่อเทียบเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น
สร้างสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงสุด
สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่อง คือ การไม่สามารถนำมาทำใหม่ได้ เปรียบได้กับในโลกของสินทรัพย์ ถ้าเป็นทองคำ เราสามารถนำกลับมาหล่อใหม่ได้ เพชรมีการจัดเรียงเม็ดและจัดเกรดใหม่ได้ และประเทศต่างๆ ยังสามารถพิมพ์สกุลเงินในชาติของตนใหม่ได้ แต่สินทรัพย์ที่มีการเข้ารหัสซีเรียลนัมเบอร์แบบ KRATSCOIN (KTC) จะไม่สามารถทำใหม่หรือพิมพ์ใหม่ได้ เพราะด้วยเทคโนโลยี Blockchain ได้บันทึกและลำดับสินทรัพย์ที่ถูกค้นพบไว้อย่างชัดเจน แก้ไขหรือปรับแก้ไม่ได้ และหากมีใครไปปรับแก้ ตัวโหนดบัญชีทั้งหมดจะได้รับแจ้งหมายเลขซีเรียลว่าเป็นการโจรกรรมทันที
สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องของของ KRATSCOIN ที่มีหมายเลขซีเรียลนั้น เนื่องจากไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น คน ประเทศ หรือบริษัท ดังนั้นในทางทฤษฎี KRATSCOIN จึงไม่มีรับผลกระทบจากการเมือง สงครามหรือเศรษฐกิจโลก แต่ทุกคน ทุกประเทศ ทุกรัฐบาลจะได้รับประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อมใน KRATSCOIN (KTC) หากได้รับความนิยมในอนาคต
โดยสรุปแล้ว
การใช้ “หมายเลขซีเรียลอิเล็กทรอนิกส์” หรือซีเรียลนัมเบอร์ เข้ามาผสมผสานกับสกุลเงินดิจิทัล (KRATSCOIN) จะช่วยให้เกิดการพิสูจน์แหล่งที่มาของสินทรัพย์ที่เข้ารหัสผ่านเทคโนโลยี Blockchain ได้ไดยง่าย ทำให้หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านภาษีทราบว่าสินทรัพย์ของผู้ที่ถือครองมาจากแหล่งใด ขายไปที่ไหน มีความปลอดภัยสูงและสร้างความน่าเชื่อถือต่อภาพรวมของระบบการเงินยุคใหม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนประกาศการรับ “สินทรัพย์ใบรับรองดิจิทัลที่เข้ารหัส” จากหน่วยงานด้านภาษีด้วยตนเอง
ฉะนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน KRATSCOIN (KTC) จึงเปิดตัวออกมาในจังหวะที่เหมาะสม ภายใต้ช่วงเวลาที่เหมาะเจาะของศักยภาพ Blockchain ที่ชัดเจนขึ้น และกลายเป็นตัวแทนของสกุลเงินดิจิทัลที่มีสร้างมาตรฐาน “ซีเรียลนัมเบอร์” เพื่อรับประกันความปลอดภัยในแง่ของการเป็นสกุลเงินที่จะมีประโยชน์ต่อธุรกรรมการค้า ช่วยรัฐบาลให้ทำงานง่ายขึ้นในการใช้เพื่อติดตามความผิดสังเกตต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในอนาคตต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ KRATSCOIN ได้ที่:
https://www.facebook.com/pages/category/Community/Kratscoin-110687293690627/
https://t.me/s/kratscoin_official