ตลาด E-Commerce มีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกๆปีตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ผู้ประกอบการต้องตามผู้บริโภคให้ทันว่ามีความต้องการอะไรและนำเสนอประสบการณ์การขายที่ดีเหมาะกับผู้บริโภค
โดยตัวเลขจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ : Electronic Transactions Development Agency หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ระบุว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีสัดส่วนทางการตลาดกว่า 14% ในปี 2560และมีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านล้านบาทในปี 2561 และคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
‘ภูวดล คงเสรี’Head of Innovative Business Management, K-Bankพูดถึงประเด็นของการทำธุรกิจ E-Commerce ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภคมาพร้อมโอกาสในการขายและแข่งขันที่มากขึ้น จึงต้องมีตัวช่วยในการแข่งขัน โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อย
กุญแจสำคัญ สร้างประสบการณ์การซื้อ-ขายที่ดีกับผู้บริโภค
อันดับแรกที่สำคัญของการขายในมุมมองของแบงก์คือการชำระสินค้า หรือ Payment จากข้อมูลของ Marketplace อาทิ Lazada, Shopee, JDCentralพบว่าลูกค้าผูกบัตรเครดิตในการชำระสินค้าเพิ่มขึ้น โดยทาง K-Bank ก็มีบริการบัตรแต่ละประเภทให้เลือกใช้บริการตามความต้องการของกลุ่มลูกค้ารวมถึงการชำระผ่านทาง K-plus ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้บริโภคเลือกใช้ในการชำระสินค้า ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจบปี 2562 จะมียอดผู้ใช้งานประมาณ 12 ล้านยูสเซอร์
ดังนั้นได้เปิดบริการระบบการชำระเงินที่สะดวกขึ้น ‘Pay with K-plus’สำหรับการซื้อขายสินค้าผ่าน Facebook Massager โดยเฉพาะ เช่น เมื่อลูกค้าต้องของซื้อสินค้า แม่ค้าสามารถส่งลิงก์การชำระเงิน ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยัง K-plus เพื่อชำระเงินได้ทันที ทั้งนี้ระบบจะเชื่อมต่อข้อมูลอัตโนมัติและแจ้งเตือนการชำระเงินเรียบร้อย โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งสลิปให้แม่ค้าอีกที ซึ่งตัวแม่ค้าก็จะรู้ได้ทันทีว่าลูกค้าท่านใดชำระเงินผ่านการแจ้งเตือนอัตโนมัติด้วยเช่นกัน
ต่อมาด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีช่องทางการจัดจำหน่ายในหลายช่องทางและต้องทำทุกช่องทางการขายให้เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Store, Social, Marketplace และเทรนด์ของธุรกิจที่มีความซับซ้อน ต้องมีตัวช่วยที่เข้ามาจัดการระบบดังกล่าวนี้ ‘K SME DIGIBIZ’ โซลูชันการจัดการระบบการซื้อขาย ตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs และธุรกิจประเภทอื่นๆได้ โดยกรอกข้อมูลธุรกิจผ่านเว็บไซต์ https://digibiz.kasikornbank.com ทางระบบจากเลือกแอปพลิเคชันที่เหมาะสมให้ทำงานแทนได้ทันที ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ประกอบด้วย
1.Sale Management หรือระบบจัดการการขาย ช่วยในด้านการจัดการระบบการขาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปิดการขาย การตอบคำถามลูกค้า การจัดการการโอนเงิน หรือแม้กระทั่ง Chatbot
2.Accounting หรือระบบจัดการบัญชี โดยสามารถคำนวณยอดขาย กำไร-ขาดทุนได้ทันที
3.Logistics หรือการขนส่งสินค้า ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการขายสินค้าซึ่งจะช่วยจัดส่งและติดตามสินค้าให้
4.Fulfilmentหรือระบบคลังสินค้าที่ทำให้งานขายสะดวกขึ้นจะเป็นการเก็บสต็อกสินค้าฝากไว้ที่โกดังและเมื่อมีออเดอร์เข้ามา ก็จะช่วยในการจัดสินค้าและส่งออเดอร์ให้โดยขณะนี้มีผู้ใช้บริการแล้วประมาณ 3,500 ราย ซึ่งโซลูชันนี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างเป็นระบบ
ผนึก Pricezaเก็บ Data สร้างข้อมูลตอบโจทย์การขายยุค Multi-Channel
นอกจากนี้ทาง K-Bank ยังได้ร่วมมือกับ Pricezaสำหรับการเก็บข้อมูลผู้ขายและผู้ซื้อ และนำมาวิเคราะห์ในรูปแบบ Data Analytics โดยบอกถึงข้อมูลและเครื่องมือที่จะทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการบอกถึงประเภทของสินค้าว่าควรขายอะไร รวมไปถึงการแสดงให้เห็นถึงข้อมูลอันดันของสินค้าขายดีในประเภทนั้นๆ อาทิ เคสมือถือ จะแสดงให้เห็นถึงแบรนด์ไหน รุ่นไหนขายดีใน RankingTop3 Top5 ตลอดจนข้อมูลของสินค้าที่มีการค้นหามากที่สุดและเจาะลึกลงไป เช่น เคสมือถือชนิดบาง ทั้งยังบอกเทรนด์สินค้าในอนาคตได้ เพื่อเตรียมพร้อมในการสต็อกสินค้าบอกช่วงเวลาการ Boost Post สินค้าเมื่อใดที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเห็นได้มากที่สุด
ทั้งนี้เครื่องมือต่างๆ นี้จะเข้ามาเป็นตัวช่วยสำคัญของการขายสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาให้ง่ายและเกิดประสิทธิผลมากที่สุด