ส่องเบื้องหลัง Big Deal แบงก์กรุงเทพทุ่มซื้อ PermataBank ของอินโดฯ 9 หมื่นล้านบาท

จากข่าวลือช่วงเช้า (12 .. 62) ว่า ธนาคารกรุงเทพเข้าร่วมการประมูลซื้อกิจการธนาคารในอินโดนีเซีย ทำให้ราคาหุ้นของแบงก์กรุงเทพดิ่งลงถึง 7% และภายในเย็นวันนั้นธนาคารกรุงเทพจัดแถลงข่าวด่วนเรื่องการซื้อหุ้น 89.12% ของธนาคาร Permata ที่อินโดนีเซีย 

ทำไมแบงก์กรุงเทพต้องซื้อธนาคารในอินโดนีเซียจะเป็นผลดีกับธนาคารอย่างไร

.กรุงเทพสยายปีกทั่วอาเซียนทุ่ม 90,000 ล้านบาทซื้อแบงก์อินโดฯ

จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า วันที่ 12 ..ธนาคารกรุงเทพทำสัญญาซื้อขายหุ้นโดยมีเงื่อนไขกับธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (Standard Chartered) และพีที แอสทร่า อินเตอร์เนชั่นแนล ทีบีเค (PT Astra International Tbk) เพื่อถือหุ้น 89.12% ในธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค (Permata) ในอินโดนีเซีย คิดเป็นมูลค่า 37,430 ล้านรูเปีย (ประมาณ 81,017 ล้านบาทคาดว่าจะทำธุรกรรมเสร็จสิ้นในปี 2563 และจะดำเนินการซื้อหุ้นส่วนที่เหลืออีก 10.88% สำหรับการถือหุ้น 100% มูลค่าเบื้องต้นจะอยู่ที่ 42,000 ล้านรูเปีย (ประมาณ 90,909 ล้านบาท)

ทั้งนี้ข้อมูลจากงานแถลงข่าวธนาคารกรุงเทพย้ำว่า การซื้อหุ้นฯ ธนาคาร Permata ทั้ง 100% จะใช้เงินทุนภายในของธนาคาร โดยไม่ต้องเพิ่มเงินทุนจากผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นธนาคารต่างประเทศครั้งนี้เป็นกลยุทธ์หลักของธนาคารที่จะสร้างเครือข่ายทั่วอาเซียนและเอเชีย ซึ่งประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโตเร็วที่สุดในเอเชียด้วยปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจมหภาค จำนวนประชากร รวมถึงความร่วมมือกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียนถือว่าแข็งแกร่ง 

ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพถือเป็นธนาคารไทยที่มีเครือข่าย (เช่น สาขา สำนักงานตัวแทน ฯลฯ)ในต่างประเทศมากที่สุด  ดังนั้นการซื้อหุ้นธนาคารเพอร์มาตา ในอินโดนีเซีย ก็เพื่อสยายปีกธุรกิจแบงก์ไปในต่างประเทศให้มากขึ้น หลังการรวมทั้ง 2 ธนาคาร ธนาคาร Permata จะเลื่อนขึ้นเป็นธนาคารอันดับที่ 10 ของอินโดนีเซียจากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 12 ด้านธนาคารกรุงเทพจะมีมูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่อยู่ 3.1 ล้านล้านบาท

อินโดนีเซียเติบโตแค่ไหน ทำไมต้องซื้อแบงก์ Permata ?

ธนาคารกรุงเทพสนใจในอินโดนีเซียมานาน และเข้าไปทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2511 ซึ่งปัจจุบันมีสาขาอยู่ 3 สาขา ก็ไม่เพียงพอกับการเติบโตของประเทศอินโดนีเซียมีประชากรราว 267 ล้านคน สาเหตุหลักที่อินโดนีเซียน่าสนใจเพราะ ระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน อัตราการเข้าถึงสินเชื่อยังอยู่ในระดับต่ำที่ 36% ในขณะที่ประเทศไทยอัตรานี้เกิน 100% แล้ว แสดงว่ายังมีช่องว่างตลาดอีกมากที่แบงก์กรุงเทพจะเข้าไปทำธุรกิจไม่ว่าจะปล่อยสินเชื่อรายย่อย หรือสินเชื่อรายใหญ่ที่แบงก์กรุงเทพถนัด

ไชยฤทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เล่าว่า ธนาคารกรุงเทพสนใจอินโดนีเซียมานาน เพราะนอกจากเศรษฐกิจ GDP จะเติบโตสูงกว่าไทย วัฒนธรรมของอาเซียนยังเข้าใจกันได้ง่าย นอกจากนี้มีโอกาสทางธุรกิจก็เยอะเพราะมีกลุ่มลูกค้าที่เข้าไม่ถึงบริการธนาคารมาก  สินเชื่อมีการเติบโตสูงเกือบ 2 หลัก ขณะเดียวกันเรื่องอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ของธนาคาร ในอินโดนีเซียถือว่าน่าสนใจเพราะ เฉลี่ย NIM อยู่ที่ 3% ขึ้นไป ขณะที่ไทย NIM เฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% 

ส่วนจุดแข็งของ Permata นอกจากมีฐานลูกค้า 3.5 ล้านคนในทุกกลุ่มลูกค้า (รายย่อย SME รายใหญ่) ยังมีสำนักงานรวม 332 แห่ง ดังนั้นเมื่อรวมกับสำนักงานของธนาคารกรุงเทพในอินโดนีเซียที่มีอยู่ 3 แห่งจะเบื้องต้นธนาคารกรุงเทพจะมีสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 335 สาขา รวมถึงช่องทางการให้บริการอื่นๆ เช่น ตู้ ATM 989 เครื่อง ฯลฯ

นอกจากนี้ Permata มีเงินให้สินเชื่อรวม 108 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 234,000 ล้านบาท) มีเงินฝาก 120 ล้านล้านรูเปีย (ประมาณ 259,000 ล้านบาท) มีพนักงานรวม 7,670 คน ซึ่งธนาคารกรุงเทพจะไม่เปลี่ยนชื่อธนาคาร และเบื้องต้นจะเน้นให้ผู้บริหาร พนักงานในท้องถิ่นดูแลธุรกิจเพราะมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจธุรกิจในอินโดนีเซีย

ส่วนคำถามว่าทำไมราคาหุ้นของธนาคารกรุงเทพอย่าง BBL ถึงราคาดิ่งลงถึง 7.5% ในวันที่ 12 .. 62 อาจเพราะนักลงทุนกังวลว่าการเข้าซื้อกิจการของธนาคารกรุงเทพอาจทำให้แบง์ต้องขอเพิ่มทุนและเมื่อจำนวนทุนมากขึ้น ผู้ถือหุ้นก็อาจได้ส่วนแบ่งจากหุ้นของตัวเองน้อยลง 

เรียกว่าปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของธนาคารพาณิชย์ในไทย นอกจากแบงก์กรุงเทพจะสยายปีกในอาเซียนอย่างเป็นทางการ ก็มีดีลการคบวรวมระหว่างธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต ไหนจะฝั่งธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีดีลใหญ่หลักหมื่นล้านที่ขายธุรกิจประกันชีวิตออกไป

ปีหน้าธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไทยจะมีอะไรให้ตื่นเต้นอีกคงต้องรอติดตาม.