เจาะ Insight ผู้บริโภค 5 Gen สำหรับต่อยอดกลยุทธ์ Hyper-personalization Marketing

คีย์ของมาร์เก็ตติ้งออนไลน์ในปัจจุบันไม่ใช่การยิงโฆษณา แต่เป็นการทำแคมเปญ ในปีก่อนๆ แบรนด์ส่วนใหญ่จะยิงโฆษณาและวัดผลจาก Engagement เช่น Reach ซึ่งจับต้องไม่ได้ แต่ในต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนการวัดผลเป็น Convention ส่งผลให้เม็ดเงินในการโฆษณาลดลง แต่ไปลงที่แคมเปญมีมากขึ้น ดังนั้น แบรนด์จำเป็นที่ต้องเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค โดย อุดมศักดิ์ ดอนขำไพร Chief Technology Officer Zanroo CO.,LTD. Startup ด้าน Marketing tech ได้มาแชร์แนวข้อมูลเชิงลึกด้านพฤติกรรมของคนแต่ละเจน พร้อมทั้งร่วมแชร์แนวทางการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในรูปแบบ Hyper-personalization

อุดมศักคิ์ ดอนขำไพร Chief Technology Officer Zanroo CO.,LTD.

Baby boomer (55 ปีขึ้นไป) ให้ความสำคัญกับ ราคา ที่สุด เนื่องจากคนวัยนี้ไม่ได้สร้างรายได้เอง จึงกังวลเรื่องราคาในการตัดสินใจซื้อ และแม้จะอยู่ในวัยเกษียณ แต่มีความเข้าใจการใช้เทคโนโลยี ทุกอย่างรับผ่านมือถือ ไม่ใช้คอนพิวเตอร์ ชอบใช้ Line แต่ถ้าแบรนด์จะสื่อสารต้องใช้ Facebook โดยตอบรับสื่อ VDO ดีที่สุด เน้นใช้ปุ่มใหญ่ๆ, ตัวอักษรใหญ่ๆ และ ห้าม ใช้ศัพท์สแลงในการสื่อสาร และ แก่ ถือเป็นคำต้องห้าม ให้เรียก ผู้สูงอายุ

“Baby boomer ไม่ได้มีรายได้แล้ว แต่มีเงินจากการเกษียณ และมีเงินจากลูกหลาน โดยเขาต้องการหาประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่ใช่ประสบการณ์การใช้ชีวิต เช่น ท่องเที่ยว ไปคอนเสิร์ตวงดนตรียุคเก่า ดังนั้นเขาพร้อมจะหากิจกรรมใหม่ๆ ให้ตัวเอง ดังนั้นแบรนด์ที่เจาะกลุ่มนี้อาจจะต้องมีแคมเปญเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ ให้คนกลุ่มนี้”

 

Gen X (40-54 ปี) ส่วนใหญ่มีครอบครัว ดังนั้นจะให้ความสำคัญกับ Work Life Balance มีความเป็นแบรนด์ลอยัลตี้สูง แต่จะตัดสินใจแต่ละที ต้องทำการบ้านหรือรีเสิร์ชมาแล้ว ชอบอ่านรีวิว ดังนั้นต้องให้ข้อมูลเยอะที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจคนกลุ่มดังกล่าว ขณะที่ อีเมล เป็นเครื่องมือที่เหมาะในการทำการตลาด เพราะ Gen X ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำงานและธุรกิจ ชอบสะสมคูปอง สนใจส่วนลดต่างๆ

“เป็นกลุ่มที่มีภาระเยอะ เพราะต้องดูแลคนหลายกลุ่มทั้งพ่อแม่และลูก เป็นเสาหลักของบ้านต้องรับผิดชอบเรื่องใหญ่ๆ แต่สิ่งที่เขาโหยหาคือ ความเป็นวัยรุ่น หรือความเป็นไลฟ์สไตล์ในยุคที่เคยผ่านมา และติดโซเชียลที่สุด”

 

Gen Y (23-39 ปี) เป็นดิจิทัลเนทีฟ และมี Freedom and flexibility แต่ชอบให้ถูกถามความคิดเห็น หากจะต้องทำแคมเปญสักอย่างกับคนเจนดังกล่าว ต้องเข้าไปขอความคิดเห็น ชอบการมีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาสิ่งนั้น ไม่ชอบการถูกปิดบัง มีความเซนซิทีฟมาก ไม่พอใจจะโพสต์ทันที และเป็นเจนที่มีคอมมูนิตี้ของตัวเอง เช่น Facebook กรุ๊ปหรือยู่ใน Pantip คือ ต้องการหาคนที่ชอบแบบเดียวกันเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน สุดท้าย รอไม่ได้ ต้องการเดี๋ยวนี้ ดังนั้นหากซื้อ-ขายออนไลน์กับคนกลุ่มนี้ต้องตอบสนองได้ทันทีทันใด ‘ช้า คือ อด’

“ทั้ง X และ Y รวมกันจะเป็น Gen Me ที่มีสิ่งที่เหมือนกันคือ โฟกัสที่ตัวเองเป็นหลัก อยากจะมีอิสระ อยากจะมีเงินเยอะ โดยเฉพาะเจน Y ที่ไม่อยากมีลูก แต่มีสัตว์เลี้ยง”

 

Gen Z (10-22 ปี) เป็นกลุ่มมัธยมปลายและมหาลัย โดยจะชอบเสพประสบการณ์มากกว่าผลิตภัณฑ์ และโลกของเขา คือ วิดีโอ และเชื่อถือ Micro Influencer ดังนั้น Micro Influencer จึงมีผลต่อการตัดสินใจของคนกลุ่มมาก

“เป็นเจนที่ต้องการความมั่นคง ไม่โฟกัสจบมาทำงาน แต่ต้องการมีธุรกิจของตัวเองเพื่อต้องการมีเงิน สร้างความมั่นคงให้ตัวเอง และไม่ต้องการขายโปรดักต์ แต่ต้องการซื้อประสบการณ์ ชอบใช้งาน Instagram”

 

Gen Alpha (อายุน้อยกว่า 10 ปี) ถือเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่สำหรับนักการตลาด เพราะหลายสื่อไม่ค่อยวิเคราะห์เจนนี้ แต่คีย์สำคัญคือ เจนเหล่านี้มีอิทธิพลต่อคนเจน X และ Y ที่เป็นพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ดังนั้นอยากเจาะเจน Alpha ต้องทำความเข้าใจเจน X และ Y โดยต้องสื่อสารถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับลูก การตัดสินใจของพ่อแม่ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับลูก

“เด็กเจนนี้เกิดมาพร้อมกับโซเชียลมีเดีย แม้จะไม่ได้มีกำลังซื้อโดยตรง แต่พวกเขา คือ ผู้ที่มีอำนาจและตัดสินใจหลายเรื่องในบ้าน YouTuber / Blogger / Vlogger / E-sport คือ สื่อที่พวกเขาเสพอยู่ทุกวัน”

 

จากข้อมูลดังกล่าวจะพบว่า แต่เจนก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้น การนำไปข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการทำมาร์เก็ตติ้งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการใช้ข้อมูลเรียลไทม์ เพื่อส่งมอบข้อมูลของผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องไปถึงกลุ่มผู้ใช้แต่ละคน โดยเรียกการทำการตลาดในรูปแบบดังกล่าวว่า Hyper-Personalization ที่เป็นขั้นกว่าของ Micro Lifestyle เป็นการ Customize แคมเปญแต่ละคนจริงๆ อีกทั้ง Hyper-Personalization จะเป็นวิธีที่ใช้เพื่อให้เกิด Convention อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ Hyper-personalization ไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลมากมาย แต่เป็นเรื่องการเตรียมตัว ได้แก่ 1.ต้องเก็บข้อมูลลูกค้า 2.เตรียมข้อเสนอที่หลากหลาย (Offer) 3.นำเสนอเนื้อหาที่ใช่ ในช่องทางที่ใช่ และเวลาที่ใช่ 4.นำผลลัพธ์มาวิเคราะห์ เพื่อมาปรับแคมเปญ หรือข้อเสนอให้กับธุรกิจคุณ ดังนั้นสำหรับแบรนด์ที่จะเริ่ม ต้องสำรวจก่อนว่าจะจับลูกค้ากลุ่มไหน และลูกค้ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อทำแคมเปญให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อดึงดูดคนใจผู้บริโภค

#Marketing #GenX #GenY #BabyBoomer #GenZ #GenAlpha #Personalization #Positioning