เข้าสู่ยุค ‘อินฟลูเอนเซอร์’ เต็มตัว! กูรูชี้ ผู้บริโภค 60% รู้ว่าถูกจ้างแต่ยังเชื่อมากกว่า ‘โฆษณา’

มูลค่าตลาดอินฟลูเอนเซอร์มาร์เก็ตติ้งทั่วโลกในปี 2019 มีมูลค่า 4.5 แสนล้านบาท แม้ในไทยจะไม่มีตัวเลขชัดเจน แต่คาดว่ากำลังจะเติบโตอย่างมาก เนื่องจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ส่งผลต่อการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์ โดยเฉพาะ ‘ไมโคร อินฟลูเอนเซอร์’ จากข้อมูลพบว่ากว่า 87% ของนักช้อปเห็นข้อมูลจากอินฟลูเอนเซอร์ก่อนตัดสินใจ เพิ่มขึ้นจากในปี 2018 ที่มีสัดส่วนเพียง 60% 

รู้ว่าถูกจ้างมารีวิวแต่ก็เชื่อ

60% ของผู้ซื้อและจับจ่ายรู้ว่าเนื้อหาของไมโครอินฟลูเอนเซอร์เป็นเนื้อหาสปอนเซอร์แต่ก็อ่าน โดยเขามองว่าน่าเชื่อถือ เพราะต้องเปิดชื่อเปิดหน้า ถ้ารีวิวไม่จริง จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของตัวเอง ดังนั้นเขาจะรีวิวตามความเป็นจริง” สุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทลสกอร์ กล่าว

สุวิตา จรัญวงศ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทลสกอร์

เนื่องจากคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์ที่เริ่มมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ขณะที่ ‘เทลสกอร์’ เองพยายามจะลดภาพการเป็น fake news ส่งผลให้อินฟลูเอนเซอร์กำลังจะเปลี่ยนเป็น ‘Influencer Economy’ หรือระบบเศรษฐกิจอินฟลูเอนเซอร์ที่มีขนาดใหญ่เหมือนสื่อหรือมีเดียชนิดหนึ่งบนโลกออนไลน์

เศรษฐกิจไม่ดี แบรนด์ยิ่งใช้ เพราะ ‘ถูก’

ขณะที่ภาพรวมดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งในประเทศไทยคาดว่ามีมูลค่าถึง 20,000 ล้านบาท แม้ยังไม่มีตัวเลขแยกชัดว่าเม็ดเงินลงในอินฟลูเอนเซอร์กี่เปอร์เซ็นต์ แต่แนวโน้มปีนี้คาดว่า 75% ของนักมาร์เก็ตติ้งจะเพิ่มเงินในอินฟลูเอนเซอร์ เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี เพราะเริ่มต้นได้ถูกกว่า เนื่องจากปัจจุบันอินฟลูเอนเซอร์มีมากขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขัน ราคาก็ยิ่งถูกลงเริ่มต้นที่หลักร้อยเท่านั้น แต่ต้องใช้จำนวนมาก ขณะที่ราคาแพงสุดยังเป็นหลักล้านบาท/โพสต์

“มีบางแคมเปญใช้อินฟลูเอนเซอร์กว่า 5,000 คน โดยใช้ทั้งอินฟลูเอนเซอร์ ไมโคร และ แมคโครรวมกัน เพราะแต่ละส่วนทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน อย่างอินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อจะใช้สร้างการรับรู้ แต่ไมโครจะสร้างการซื้อ โดยมองว่าแต่ละแคมเปญอย่างน้อยควรใช้งบประมาณ 300,000 บาท เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด โดยแต่ละแคมเปญมีเวลา 1 สัปดาห์”

ปัจจุบัน เทลสกอร์มีฐานข้อมูลอินฟลูเอนเซอร์มากกว่า 35,000 รายในระบบ ครอบคลุมเนื้อหา 12 ความถนัด สายที่ได้รับความนิยม 5 อันดับแรก คือ ความงาม ด้านอาหาร ด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ และด้านการเงิน

เดินหน้ารุก ‘YouTube’

ทิศทางการดำเนินงานในปี 63 นี้ บริษัทจะขยายแพลตฟอร์มไปยัง YouTube และเว็บไซต์ทั่วไป จากเดิมที่ดำเนินงานบน 3 ช่องทางหลักคือเฟซบุ๊ก (Facebook) อินสตาแกรม (instagram) และทวิตเตอร์ (Twitter) นอกจากนี้มีแผนจะขขยายธุรกิจไปยังประเทศที่ 3 จากปัจจุบันให้บริการในประเทศไทยและอินโดนีเซีย โดยตั้งเป้าเติบโต 10% และเพิ่ม Influencers ในระบบเป็น 60,000 ราย

“เราตั้งเป้าเติบโต 10% ซึ่งถือว่าท้าทายมากเพราะสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา แม้ไม่มีผลต่อต่อวงการ Influencer Marketing แต่หลายบริษัทถูกตัดงบ และเลื่อนการเปิดตัวสินค้าใหม่ในช่วงในช่วงไวรัสรุนแรง ดังนั้นอาจชะลอการทำแคมเปญ”

อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของเทลสกอร์คือ แพลตฟอร์มที่สามารถ ‘คาดการณ์’ ผลลัพธ์ของอินฟลูเอนเซอร์ที่จะเกิดแต่ละแคมเปญได้ล่วงหน้า นอกจากนี้ แพลตฟอร์มเรายังตอบโจทย์ครบทุกด้าน ทั้งการรวบรวมอินฟลูเอนเซอร์ในระบบ สามารถจ้างผ่านแพลตฟอร์มได้ สามารถการบริหารจัดการเวลาแคมเปญเก็บข้อมูลสถิติ และชำระเงินง่าย

“ปัญหาของเอเจนซี่คือ ไม่รู้ว่าจะติดต่ออินฟลูเอนเซอร์ยังไง ราคาเท่าไหร่ และการที่มีเครื่องมือให้วัดผลล่วงหน้า ก็สามารถทำแพลนนิ่งเพื่อเสนอลูกค้าก่อนมาจ้างเราได้ โดยเราเป็นรายเดียวที่มีในภูมิภาคนี้”

#Tellscore #Influencer #DigitalMarketing #Marketting #Positioning