รู้จัก 5 อาการบาดเจ็บยอดนิยมของ ‘นักปั่น’ ที่มือใหม่ต้องรู้


การปั่นจักรยานถือเป็นการออกกำลังกายแบบพื้นฐานที่สามารถทำได้ง่ายขอแค่มีจักรยาน ซึ่งการปั่นจักรยานนั้นช่วยเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ทำให้นอนหลับได้สนิท และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่น ๆ มากมาย แต่ ‘No pain No gain’ อยากจะมีสุขภาพที่ดีแต่สิ่งที่ยากจะเลี่ยงก็คือ ‘อาการบาดเจ็บ’ หรือ ‘เจ็บปวดตามร่างกาย’ ซึ่งผู้ที่ปั่นจักรยานมักต้องเจอเป็นประจำ โดยเฉพาะ 5 อาการยอดนิยมนี้

ปวดหลังช่วงล่าง

อาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะผู้ที่ปั่นจักรยานเสือหมอบ เพราะด้วยดีไซน์ของตัวจักรยานที่ต้องก้มตัวและเงยศีรษะในขณะปั่น ซึ่งการที่ต้องอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ นั้นจำเป็นต้องมีความพร้อมของกล้ามเนื้อคอ หลัง และลำตัวที่ดี ซึ่งมีทั้งความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความทนทาน

อาการปวดไหล่

อาการบาดเจ็บหัวไหล่ที่เกิดจากการปั่นจักรยานมักจะมาจากเส้นเอ็นตรงจุดนี้บาดเจ็บ เนื่องจากเวลาปั่นจักรยานข้อมือและแขนมักจะล็อกอยู่ในท่าจับแฮนด์ ดังนั้น เมื่อมีจักรยานเกิดกระแทกกับโขดหินหรือสิ่งกีดขวาง จะทำให้ส่งผลถึงกล้ามเนื้อส่วนแขนและข้อมือที่เกร็งจับแฮนด์จักรยานอยู่เกิดการเกร็งและอักเสบ ซึ่งจะลามมาสู่เอ็นที่หัวไหล่ได้

ปวดเข่า

อาการปวดเข้าเกิดจากการต้องย่อขาและเหยียดขาอย่างต่อเนื่องเพื่อปั่นจักรยาน เป็นอาการที่พบบ่อยเมื่อ route ปั่นจักรยานเป็นทางชันต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ต้องออกแรงมากขึ้นเป็นเท่าตัว อย่างไรก็ตาม อาการปวดเข่าสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ปวดด้านหน้าและปวดด้านข้างของข้อเข่า โดยอาจสังเกตได้จากตำแหน่งที่มีอาการปวด หรือจุดที่กดเจ็บ โดยถ้าปวดบริเวณกระดูกสะบ้าหรือปวดลึก ๆ ก็จะเป็นปัญหาการอักเสบของกระดูกอ่อนผิวข้อของกระดูกสะบ้า ถ้าเจ็บบริเวณขอบบนหรือบริเวณเหนือต่อกระดูกสะบ้าก็จะเป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อต้นขา แต่ถ้าเจ็บต่ำกว่าระดับของกระดูกสะบ้าลงมาก็จะเป็นการอักเสบของเอ็นสะบ้า

ปวดด้านข้างสะโพก

มักเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเอ็นแผ่ซึ่งอยู่ด้านข้างของสะโพกและต้นขามีชื่อว่า IT Band โดยในระหว่างการปั่นอาจเกิดการเสียดสีกับปุ่มกระดูกบริเวณด้านข้างของสะโพก และปุ่มกระดูกด้านข้างของกระดูกต้นขาส่วนปลายซึ่งจะอยู่เหนือจากแนวข้อเข่าขึ้นมาเล็กน้อย

ปวดเอ็นร้อยหวาย

เอ็นร้อยหวายหรือลำเอ็นที่ด้านหลังของข้อเท้า โดยเอ็นนี้จะเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อน่องทำหน้าที่ออกแรงจิกปลายเท้าลง โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการนี้ ได้แก่ การวางเท้าบนบันไดในตำแหน่งที่ค่อนไปทางด้านหลังมากกว่าที่ควรจะเป็น จนทำให้ต้องมีการเคลื่อนไหวของข้อเท้ามากขึ้น การตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในนักปั่น ซึ่งต้องอาศัยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ

วอร์มก่อนสักนิด และปรับจักรยานให้เหมาะ

สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บในเบื้องต้นนั้น เริ่มต้นจากการวอร์มอัพสักนิดช่วยลดบาดเจ็บ โดยควรอบอุ่นร่างกายก่อนปั่น 5 – 10 นาที เป็นการเตรียมการทำงานของร่างกายให้พร้อม ทั้งปอด หัวใจ ขยับแขนไปมา เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ เพราะว่ากล้ามเนื้อส่วนขาจะต้องเคลื่อนที่ในแบบซ้ำ ๆ และการไม่ได้อบอุ่นร่างกายอย่างถูกต้อง จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ 

นอกจากตัวนักกีฬาแล้ว จักรยานเองก็มีผลเช่นกัน โดยการปรับระดับของอานยังมีความสำคัญอย่างมากในการป้องกันการบาดเจ็บของขา ถ้าตั้งอานสูงเกินไป นักกีฬาจะต้องก้มตัวและเงยศีรษะมากขึ้น เป็นต้น อย่างอานอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป ก็จะทำให้กล้ามเนื้อน่องทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยการยืนแล้ววางเท้าข้างที่ต้องการยึดกล้ามเนื้อไปด้านหลัง จากนั้นโน้มตัวมาด้านหน้าโดยการงอเข่าของขาหน้า ส่วนขาหลังไม่ยกส้นเท้า เข่าควรอยู่ในท่าเหยียดตรง

ยาแก้ฟกช้ำ ตัวช่วยที่ต้องมีติดตัว

เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บหรืออาการฟกช้ำต่าง ๆ ควรประคบเย็นซึ่งอาจทำง่าย ๆ โดยใช้ก้อนน้ำเข็งถูรอบ ๆ เข่าหลังจากการปั่น และอาจรับประทานยาแก้ปวดหรือคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการ หรือควรพกตัวช่วยอย่าง ยาทาแก้ฟกช้ำที่มีส่วนผสมของเอสซิน และไดเอ็ทธิลเอมีน ชาลิไซเลท โดยเอสซินมีผลเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือด ยับยั้งกระบวนการอักเสบ และช่วยในกระบวนการไหลเวียนโลหิตของหลอดเลือดฝอย

ส่วนไดเอ็ทธิลเอมีน ชาลิไซเลท (DEAS) มีฤทธิ์ลดอาการปวด โดย DEAs สามารถซึมผ่านผิวหนังได้อย่างอิสระ และออกฤทธิ์ลดอาการปวดที่บริเวณผิวหนังที่มีอาการ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งเป็นการเสริมฤทธิ์กับเอสซินในการออกฤทธิ์ ปัจจุบันนี้ ยาแก้ฟกช้ำไม่ได้มีแต่แบบทาเท่านั้นแต่ยังมีแบบสเปรย์ให้ความเย็นบรรเทาอาการบาดเจ็บอีกด้วย เรียกได้ว่าสะดวกและง่ายมาก ๆ สำหรับใครที่ออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ การมียาแก้ฟกช้ำดี ๆ ติดตัวไว้ ยังไงก็ช่วยให้อุ่นใจได้ไม่น้อย

ชม VDO live แคปเปญกีฬาปั่นจักรยาน ของ reparil ได้ที่ :  https://fb.watch/2pkoslNWx2/