รู้จัก ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ อนาคต ‘New Normal’ ของการใช้ชีวิตในยุค COVID-19

ภาพจาก commonpass.org

บริษัทและกลุ่มเทคโนโลยีหลายแห่งได้เริ่มพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับบุคคลทั่วไป หรือพัฒนาระบบหลังบ้านของตัวเอง เพื่อให้ลูกค้าอัปโหลดรายละเอียดการทดสอบและการฉีดวัคซีน COVID-19 ของตน เพื่อสร้างข้อมูลรับรองดิจิทัลที่ใช้แสดงเมื่อต้องเข้าสู่สถานที่ที่มีความหนาแน่นของคน อาทิ งานคอนเสิร์ต, สนามกีฬา, โรงภาพยนตร์, สำนักงานหรือแม้แต่การเดินทางเข้าประเทศต่าง ๆ

(Photo : มหาวิทยาลัย Oxford)

‘Common Trust Network’ โครงการริเริ่มของ The Commons Project ที่ไม่แสวงหาผลกำไรในเจนีวาและ World Economic Forum ได้ร่วมมือกับสายการบินหลายแห่ง อาทิ Cathay Pacific, JetBlue, Lufthansa, Swiss Airlines, United Airlines และ Virgin Atlantic รวมถึงระบบสุขภาพหลายร้อยระบบทั่วสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอารูบา พัฒนาได้แอปพลิเคชัน ‘CommonPass’ เพื่อให้ผู้ใช้ได้อัพโหลดข้อมูลทางการแพทย์ อาทิ ผลการทดสอบ COVID-19 หรือหลักฐานการ ‘ฉีดวัคซีน COVID-19’ เพื่อสร้างเป็นใบรับรองในรูปแบบคิวอาร์โค้ด ที่สามารถนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

“คุณสามารถถูกทดสอบได้ทุกครั้งที่คุณข้ามพรมแดน แต่คุณไม่สามารถรับวัคซีนได้ทุกครั้ง ดังนั้น ใบรับรองจึงเป็นสิ่งจำเป็นจะเป็นที่พิสูจน์ว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเพื่อให้ผ่านเข้า-ออกได้สะดวก” Thomas Crampton หัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาดและการสื่อสารของ The Commons Project กล่าว

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่อย่าง ‘ไอบีเอ็ม (IBM)’ ก็เริ่มดำเนินการเช่นกันพัฒนาแอปของตนเองชื่อ ‘Digital Health Pass’ ซึ่งช่วยให้บริษัทและสถานที่ต่าง ๆ สามารถปรับแต่งตัวบ่งชี้ที่จำเป็นสำหรับการเข้าใช้งาน รวมถึงการทดสอบ COVID-19 การตรวจสอบอุณหภูมิ และบันทึกการฉีดวัคซีน โดยข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ใน Wallet ของมือถือ

ภาพแอปวัคซีน พาสปอร์ตที่ IBM พัฒนา ที่มา CNN

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะกลับไปใช้ชีวิตปกติ แนวคิดดังกล่าวต้องเจอกับความท้าทายอย่างใหญ่หลวงโดยเฉพาะปัญหาประสิทธิภาพที่หลากหลายของวัคซีนที่แตกต่าง, ปัญหาความเป็นส่วนตัวไป และการใช้งานที่ไม่ปะติดปะต่อกัน

“มันควรจะทำงานร่วมกันได้ในลักษณะเดียวกับที่อีเมลทำงานร่วมกันได้หมด และประเด็นความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเมื่อสามารถสร้างวัคซีนพาสปอร์ตเสร็จแล้ว บริษัทต่าง ๆ จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้จะรู้สึกสบายใจที่จะใช้ เพราะข้อมูลทางการแพทย์ที่ถือเป็นข้อมูลอ่อนไหวส่วนบุคคลต้องได้รับการปกป้องอย่างปลอดภัย”

ทั้งนี้ ตาม Behlendorf คาดการณ์ว่าการเปิดตัวและการนำหนังสือเดินทางวัคซีนมาใช้จะ ‘พร้อมใช้งานในวงกว้าง’ ภายในครึ่งแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม ดร.Julie Parsonnet ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระบุว่า เนื่องจากวัคซีนเพิ่งเริ่มใช้งานแต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพในการหยุดการแพร่กระจายของไวรัสอย่างไร ดังนั้นแม้ว่าแอปหนังสือเดินทางวัคซีนจะแสดงให้เห็นว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีน แต่ก็ไม่อาจรับประกันได้ว่าคุณจะเข้าร่วมกิจกรรมหรือขึ้นเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย

Source