ข่าวดี! ผลทดลองวัคซีน AstraZeneca ป้องกันการติดเชื้อรุนแรง และการเสียชีวิตได้ 100%

วารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซต (Preprints with The Lancet) ได้รายงานผลวิเคราะห์เบื้องต้นการทดลองคลินิกระยะที่สามจากกลุ่มวิจัยในสหราชอาณาจักร, บราซิล และแอฟริกาใต้ ยืนยันวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของ ‘แอสตร้าเซนเนก้า’ (AstraZeneca) ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค COVID-19 โดยไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจาก 22 วันหลังได้รับวัคซีนเข็มแรก

ผลการวิเคราะห์ระบุหลังจากได้รับโดสแรก วัคซีนปรากฏประสิทธิผลเฉลี่ย 76% (ดัชนีค่าประสิทธิผลอยู่ระหว่าง 59% ถึง 86%) และมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อได้ยาวนานจนถึงการฉีดวัคซีนโดสที่สอง โดยวัคซีนจะมีประสิทธิผลสูงถึง 82% (ดัชนีค่าประสิทธิผลอยู่ระหว่าง 63% ถึง 92%) เมื่อเว้นระยะเวลาระหว่างการฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ขึ้นไป

“การฉีดวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน (JCVI) ที่เสนอให้ระยะเวลาระหว่างการให้วัคซีนโดสแรกและโดสที่สองห่างกัน 12 สัปดาห์ ซึ่งเห็นพ้องว่าเป็นรูปแบบการให้วัคซีนที่เหมาะสมที่สุดและสามารถป้องกันโรค COVID-19 ได้ตั้งแต่ 22 วันหลังการฉีดวัคซีนโดสแรก” ศาสตราจารย์ แอนดรูว์ โพลลาร์ด หัวหน้าผู้ตรวจสอบการวิจัยวัคซีนออกซ์ฟอร์ดและผู้ร่วมเขียนรายงานวิจัยกล่าว

ผลวิเคราะห์จากการตรวจหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมทดลองในอังกฤษ ยังได้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนสามารถลดการติดเชื้อไวรัสที่ไม่แสดงอาการได้ ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าหลังจากได้รับวัคซีนโดสแรกแล้ว อัตราตรวจพบการติดเชื้อ (ตามเทคนิค PCR) ลดลง 67% (ค่าดัชนีระหว่าง 49% ถึง 78%) และภายหลังได้รับวัคซีนครบสองโดส อัตราตรวจพบการติดเชื้อลดลงเหลือ 50% (ค่าดัชนีระหว่าง 38% ถึง 59%) ตอกย้ำว่าวัคซีนมีผลในการลดการแพร่เชื้อ COVID-19 อย่างมาก

ทั้งนี้ ข้อมูลการวิเคราะห์การทดลองคลินิกระยะที่สามโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและแอสตร้าเซนเนก้า มาจากการศึกษาจากกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 17,177 ราย โดย 332 รายจากจำนวนดังกล่าวเป็นผู้ป่วย COVID-19 ที่ร่วมกลุ่มการวิจัยระยะสามในสหราชอาณาจักร (กลุ่ม COV002) บราซิล  (กลุ่ม COV003) และแอฟริกาใต้ (กลุ่ม COV003) นับเป็นจำนวนผู้ป่วยซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งก่อน 201 ราย

“ผลการวิเคราะห์เบื้องต้นยืนยันว่าวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงและช่วยลดอัตราผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้การยืดระยะเวลาระหว่างการให้วัคซีนโดสแรกและโดสที่สองไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มให้ประชาชนอีกส่วนหนึ่งสามารถได้รับวัคซีนอีกด้วยเซอร์ เมเน่ แพนกาลอส รองประธานบริหารวิจัยและพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม แอสตร้าเซนเนก้ายังรอการพิจารณาจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ขึ้นทะเบียนวัคซีนสำหรับการใช้ฉุกเฉิน เพื่อเร่งกระบวนการจัดส่งวัคซีนไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำ โดยวัคซีนป้องกัน COVID-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถเก็บและจัดส่งที่อุณหภูมิเครื่องแช่เย็นทั่วไปที่มีใช้อยู่แล้วในระบบสาธารณสุข (อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส) ได้นานอย่างน้อย 6 เดือนบรรจุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่