เช็กลิสต์ 15 Hospitel เปลี่ยนโรงแรมเป็นหอผู้ป่วย อีกทางเลือกในการรักษา COVID-19

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้คำว่า “Hospitel” ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้ง เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อในกรณีที่โรงพยาบาลไม่สามารถรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากเข้ารับการรักษาพยาบาลได้

Hospitel มาจากคำว่า Hopital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) แนวคิดนี้จะใช้กับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการของ COVID-19 ไม่รุนแรง ซึ่งต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลักเป็นเวลาอย่างน้อย 4 -7 วันก่อนจะถูกส่งตัวไปพักยังโรงแรม

ซึ่งผู้ป่วยที่เข้าพักใน Hopitel จะต้องมีความสามารถในการดูแลตัวเอง และตกลงที่จะอยู่ที่โรงแรมหลังจากวันที่ออกจากโรงพยาบาลไปจนครบกำหนด 10 หรือ 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการแพร่เชื้อและเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ

Hospitel จะมีการดูแลภายใต้มาตรฐานและการกำกับของโรงพยาบาลเท่านั้น

สำหรับกลุ่มผู้ป่วย COVID-19 ที่จะรับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

  1. ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการ หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และครบ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  2. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วันเมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  3. ผู้ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะอื่นร่วม เข้าพัก รักษา สังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)
  4. ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ แนะนําให้เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติควรอยู่โรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง Hospitel

  1. ช่วยลดความแออัดของเตียงผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลหลัก
  2. ส่งเสริมการดูแล ผู้ป่วย COVID-19 อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นผู้ป่วย กลุ่ม ไม่มีอาการ/อาการน้อย ก่อนจำหน่ายกลับบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย Covid-19 ในสถานการณ์การระบาดที่รุนแรง (การบริหารจัดการเตียง และการใช้ทรัพยากร โดยเฉพาะ PPE อย่างคุ้มค่า)
  3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาสังคม รวมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชน

15 รายชื่อ Hospitel ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) ที่รับกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศก่อนหน้านี้ ดังนี้

1. โรงแรมมาเลเซีย

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลสุขุมวิท
จำนวนเตียง: 80 เตียง

2. โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลปิยะเวท
จำนวนเตียง: 158 เตียง

3. โรงแรมอินทรา รีเจนท์

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลปิยะเวท
จำนวนเตียง: 455 เตียง

4. โรงแรมโอโซน โฮเต็ล แอท สามย่าน

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ
จำนวนเตียง: 40 เตียง

5. โรงแรมสินสิริ รีสอร์ท

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเสรีรักษ์
จำนวนเตียง: 64 เตียง

6. โรงแรมชีวา กรุงเทพ

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลกรุงเทพ
จำนวนเตียง: 77 เตียง

7. โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลธนบุรี
จำนวนเตียง: 324 เตียง

8. โรงแรมสินสิริ

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลสินแพทย์
จำนวนเตียง: 52 เตียง

9. โรงแรม ฌ เฌอ – เดอะ กรีน โฮเทล

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์
จำนวนเตียง: 400 เตียง

10. โรงแรมโอทู ลักซ์ชัวรี่

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์
จำนวนเตียง: 194 เตียง

11. โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
จำนวนเตียง: 171 เตียง

12. โรงแรมเดอะกรีนวิว

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลบางปะกอก 9
จำนวนเตียง: 400 เตียง

13. โรงแรมเมเปิล

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์
จำนวนเตียง: 150 เตียง

14. โรงแรมเวิร์ฟ โฮเต็ล

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเมดพาร์ค
จำนวนเตียง: 324 เตียง

15. โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ (สาทร)

โรงพยาบาล: โรงพยาบาลเมดพาร์ค
จำนวนเตียง: 108 เตียง

เกณฑ์สำหรับโรงแรมที่จะเปลี่ยนเป็นหอผู้ป่วยเฉพาะกิจครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่

หมวด 1 โครงสร้างอาคาร และวิศวกรรมปลอดภัยพร้อมเครื่องปรับอากาศแยกส่วน
หมวด 2 บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สนับสนุนที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีเกี่ยวกับมาตรการด้านสุขภาพ
หมวด 3 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์สํานักงาน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น
หมวด 4 ความพร้อมด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
หมวด 5 มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อชุมชนและระบบการจัดการของเสีย

Source