‘หัวเว่ย’ โทษการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ทำให้เกิดปัญหา ‘ขาดแคลนชิป’ ทั่วโลก

ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกเริ่มส่งสัญญาณที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม แต่ ‘หัวเว่ย’ (Huawei) กลับโทษว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ

ยาว ๆ ไป! TSMC คาดตลาดชิปจะขาดแคลนจนถึงปี 2022

ความต้องการชิปเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เนื่องจากผู้คนหันมาเล่นเกมคอนโซล ใช้แล็ปท็อป และดูทีวีมากขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่โรงงานผลิตชิปมีจำนวนค่อนข้างน้อย และแถมยังมีการแข่งขันที่ไม่สูงมากจึงทำให้ชิปขขาดแคลนไปในที่สุด

แต่ถึงแม้จะมีปัจจัยเหล่านี้ทั้งหมด หัวเว่ยก็พยายามที่จะโทษเกี่ยวกับการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ โดย Eric Xu ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรที่เกิดกับบริษัทในช่วงสองปีที่ผ่านมาเป็นสาเหตุ “ทำร้ายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก” เนื่องจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก กักตุนชิป อย่างตื่นตระหนก

“พวกเขาบางคนไม่เคยกักตุนสิ่งของใด ๆ เลย แต่เนื่องจากการคว่ำบาตรทำให้พวกเขาต้องกักตุนสินค้า 3-6 เดือน”

ที่ผ่านมาภาคยานยนต์ต้องปิดสายการผลิตชั่วคราวอันเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแคลนชิป โดยผู้บริหารบริษัทรถยนต์และผู้นำด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ได้มีกำหนดพบปะกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว ส่วนหัวเว่ยเองได้สร้างคลังชิปเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจอุปกรณ์โทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม Xu กล่าวว่า เขาไม่ได้คาดหวังว่าฝ่ายบริหารของโจ ไบเดนจะเปลี่ยนแปลงกฎในเร็ว ๆ นี้ และบริษัทกำลังลงทุนในด้านใหม่ ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ, การทำฟาร์มและรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อพยายามลดผลกระทบจากการถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ

ที่ผ่านมา หัวเว่ยประกาศว่ามีแผนจะลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ในการวิจัยและพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตนเองและรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมอ้างว่าเทคโนโลยีการขับขี่ด้วยตนเองของหัวเว่ยนั้นเหนือกว่า ‘Tesla’ โดยช่วยให้รถยนต์สามารถแล่นได้ไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร โดยที่มนุษย์ไม่ต้องยังคับ ขณะที่ยานพาหนะของ Tesla ไม่สามารถแล่นได้เกิน 800 กิโลเมตร และผู้ขับขี่ควรจับมือไว้ที่พวงมาลัยเพื่อความปลอดภัย

เบื้องต้น หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ 3 รายใน ได้แก่ BAIC Group, Chongqing Changan Automobile Co และ Guangzhou Automobile Group โดยจะมีโลโก้ ‘HI’ (Huawei Inside) จะติดบนรถยนต์ในลักษณะเดียวกับที่โลโก้ของ Intel ติดบนคอมพิวเตอร์

“เมื่อประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนตัวเองเราสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ และเราคิดว่าในอนาคตอันใกล้ โอกาสและความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะมาจากอุตสาหกรรมรถยนต์” Xu

ภาพจาก shutterstock

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้คว่ำบาตรหัวเว่ยหลังจากกล่าวหาว่าบริษัทแอบเก็บข้อมูลผ่านอุปกรณ์แล้วส่งไปยังพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยในปี 2019 หัวเว่ยถูกจัดให้อยู่ในบัญชีดำของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า Entity List ทำให้บริษัทอเมริกันไม่ให้ส่งออกเทคโนโลยีบางอย่างไปยังหัวเว่ยได้ อาทิ Google ที่ยุติความสัมพันธ์กับหัวเว่ยทำให้ไม่สามารถใช้ระบบปฏิบัติการ Android บนสมาร์ทโฟนได้ และเมื่อปี 2020 สหรัฐฯ ได้แบนหัวเว่ยออกจากอุตสาหกรรมชิปที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฟน โดยที่ผ่านมาหัวเว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ มาโดยตลอด

Source