โอกาสของนมถั่วเหลือง

ประสิทธิ์จากซี.พี.เมจิ บอกว่า นมถั่วเหลืองไม่ถูกควบคุมราคา จึงมี Gross Profit เยอะ แต่เพื่อให้คุณภาพใกล้เคียงกับนมวัวมากที่สุด ก็เติมนั่นเติมนี่เข้าไปโดยเฉพาะงาดำ มีต้นทุนถูกกว่านมวัวมาก แต่จำหน่ายในราคาที่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับนมวัว ขณะที่ญี่ปุ่นไม่ควบคุมราคาค้าปลีกของนม เพราะผู้บริโภคยินดีจ่าย เช่น นมโออิชิของเมจิ เป็นนมซูเปอร์พรีเมียม ราคามากกว่าปกติ 50% แต่ก็เป็นที่นิยม

ตลาดนมถั่วเหลืองนับเป็นเซ็กเมนต์ที่มีการแข่งขันรุนแรง ทั้งกลุ่มผู้นำอย่างแลคตาซอยและไวตามิ้ลค์ โดยมีดีน่า งาดำ 2 เท่าที่เพิ่งรีลอนช์ใหม่ก็ใช้งบการตลาด 90 ล้านบาท ร่วมวงอัดกันหนัก ทั้งในแง่โปรโมชั่นและสื่อโฆษณาต่างๆ ขณะที่โฟร์โมสต์ ไฮไฟว์ ได้ยุติการทำตลาดไปราวปีเศษที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการโฟกัสในธุรกิจนมวัว แต่ก็มีคู่แข่งรายใหม่เกิดขึ้นอย่างมิว ออริจนัล แต่ต้องสร้างพื้นที่เฉพาะให้กับตัวเอง นำเสนอจุดต่างแบบหมดจดจับกลุ่มเป้าหมายคนเมืองโดยเฉพาะ

ขณะที่ Sub-segment ของนมถั่วเหลืองยังมีนมถั่วเหลืองสูตรเจ จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ตลาดนี้มีมูลค่าราว 300 ล้านบาทในปี 2552 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจจะเติบโต 10-15 % จากช่วงปกติ และมีสัดส่วนคิดเป็น 3.4% ของตลาดนมถั่วเหลืองมูลค่าราว 8,500 ล้านบาท

แม้จะเป็นสัดส่วนที่น้อย แต่ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 3-5% ก็นับว่า เป็น Sub- segment ที่ไม่หวือหวานักแต่ก็น่าสนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกระแสคนรุ่นใหม่นิยมกินเจมากขึ้นด้วย

โดยปัจจัยเสริมที่ส่งผลให้คนนิยมบริโภคนมถั่วเหลืองมากขึ้นคือ กรณีการปนเปื้อนเมลามีนในนมวัวเมื่อปี 2551

ขณะที่โฟร์โมสต์ซึ่งประสบความล้มเหลวกับตลาดนมถั่วเหลืองจนต้องถอยฉากออกมาราวปีเศษนั้น ก็ประกาศชัดเจนว่าจะไม่หวนคืนสังเวียนนี้อีกแล้ว

“แน่นอนว่าเราจะไม่กลับไปที่ตลาดนมถั่วเหลืองอีกแล้ว แต่จะเต็มที่กับตลาดนมวัว”

ส่วน F&N ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธ กรณีการนำนมถั่วเหลืองที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศมาจำหน่ายในประเทศไทย

ส่วนแบ่งการตลาดนมพาสเจอไรซ์จากมูลค่าตลาด 4,000 ล้านบาท
ซีพี เมจิ 46%
โฟร์โมสต์ 27%
ดัชมิลล์ 22%
ตลาดนมยูเอชทีมูลค่า 10,000 ล้านบาท (by category)
Mainstream 8,000 ล้านบาท
Kids 2,000 ล้านบาท
ส่วนแบ่งการตลาดนมยูเอชทีในตลาด Mainstream (by brand)
โฟรโมสต์ 56.5%
ไทยเดนมาร์ค 30%
หนองโพ 10%
สัดส่วนยอดขายรสชาตินมวัวในตลาด
รสจืด 60%
รสอื่นๆ เช่น ช็อกโลแลต กาแฟ สตรอเบอร์รี่ 40%
พฤติกรรมการเลือกดื่มนม
56% ดื่มยี่ห้อเดิม รสชาติเดิม
19% ดื่มยี่ห้อเดิมแต่เปลี่ยนรสชาติ
15% ดื่มยี่ห้อใหม่เปลี่ยนรสชาติใหม่
10% ดื่มยี่ห้อใหม่ รสชาติเดิม
ที่มา : บริษัท นาโนเซิร์ซ จำกัด
ส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์นมปี 2550
32.4%
นมยูเอชที 29.8%
นมข้น 11.4%
เนยและเนยแข็ง 10.6%
นมพาสเจอไรซ์ 9.4%
นมแคลเซียมสูง 4.9%
นมสเตอริไลซ์ 1.4%
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย