สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ลดการคุ้มครองจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท เริ่ม 11 ส.ค. 64

Photo : Shutterstock
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ลดการคุ้มครองจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท/สถาบันการเงิน เริ่ม 11 ส.ค. 64 นี้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 สร้างความผันผวนหนัก

ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ได้มีมติให้ความเห็นชอบในการขยายระยะเวลาบังคับใช้วงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จำนวน 5 ล้านบาทออกไปนั้น พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2563 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ได้มีขยายระยะเวลาถึง 11 สิงหาคม 2564

แต่เดิมกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากจะอยู่ที่จำนวน 5 ล้านบาท แต่ว่าตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป จะปรับลดการคุ้มครองเหลือเพียง 1 ล้านบาท/สถาบันเท่านั้น

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนในตลาดเงิน และตลาดทุนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินต่อระบบสถาบันการเงินของประเทศ สมควรกำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นการกำหนดจำนวนเงินสูงกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

เท่ากับว่าหากประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น สถาบันการเงินล้ม ผู้ฝากเงินจะได้รับเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท แม้จะฝากเงินมากกว่า 1 ล้านก็ได้เพียงแค่ 1 ล้าน โดยผู้ฝาก 1 ราย/1 สถาบันการเงิน ไม่ใช่บัญชี

มี 35 สถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง ดังนี้

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  11. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  19. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)

  1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  3. ธนาคารซิตี้แบงก์
  4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
  5. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  6. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
  8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  10. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์

บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)

  1. บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)

  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

ที่มา : สถาบันคุ้มครองเงินฝาก