‘UN’ เตือนการวิกฤตด้านสภาพภูมิอากาศอยู่ในระดับ ‘สีแดง’ สำหรับมนุษยชาติ

นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศชั้นนำของโลกได้ส่งคำเตือนเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า

ในปี 2558 เกือบ 200 ประเทศให้ได้บรรลุข้อตกลงด้านสภาพอากาศของปารีสที่ COP21 โดยตกลงที่จะจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศบางคนเชื่อว่าการบรรลุเป้าหมายหเหล่านี้นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ขณะที่ รายงานที่คาดการณ์ไว้โดยคณะกรรมการสภาพภูมิอากาศของ UN เตือนว่า การจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยพยายามจำกัดให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสนั้นยืนยันว่า เป็นไปได้ยาก หากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทันที อย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก

การจำกัดให้อุณหภูมิสูงไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเป็นเป้าหมายระดับโลกที่สำคัญ เพราะหากเกินกว่าระดับนี้จะทำให้โลกร้อนขึ้นอีก 3 องศาเซลเซียส ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบสภาพอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ และอาจส่งผลกระทบที่สำคัญต่อภาคการเกษตรและสุขภาพ

ผลการวิจัยล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก 195 ประเทศสมาชิกสรุปว่า อิทธิพลของมนุษย์ทำให้ระบบภูมิอากาศโลกร้อนขึ้นอย่างชัดเจน โดยการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ ได้ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคบนโลกแล้ว

ทั้งนี้ รายงานแสดงให้เห็นว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนประมาณ 1.1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850-1900 และพบว่าโดยเฉลี่ยในช่วง 20 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกคาดว่าจะสูงถึงหรือเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

“การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการตัดไม้ทำลายป่าทำให้โลกของเรา และทำให้ผู้คนหลายพันล้านตกอยู่ในความเสี่ยงทันที ถือเป็นรหัสสีแดงสำหรับมนุษยชาติ” António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติกล่าว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการภูมิอากาศของสหประชาชาติ กล่าวว่า การลดการปล่อยคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ อย่าง แข็งแกร่งและยั่งยืน จะจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะมีผลให้คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้เวลา 20-30 ปีเพื่อให้อุณหภูมิโลกคงที่

Photo : Shutterstock

รายงาน IPCC ระบุชัดเจนว่าไม่ใช่แค่เรื่องอุณหภูมิเท่านั้น มันบอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่าง ๆ และทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นตามความร้อนของโลกต่อไป  อาทิ ปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักขึ้นและน้ำท่วมที่เกี่ยวข้อง ความแห้งแล้งที่รุนแรงขึ้นในหลายภูมิภาค พื้นที่ชายฝั่งทะเลเพื่อให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 21 การขยายตัวของการละลายน้ำแข็งชั้นดินเยือกแข็ง การทำให้เป็นกรดในมหาสมุทร และอื่น ๆ อีกมากมาย

มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศสุดขั้วทั่วโลก เช่น ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาน้ำท่วมได้คร่าชีวิตผู้คนในยุโรป , จีน และอินเดีย มีควันพิษได้ปกคลุมไซบีเรีย และไฟป่าได้เผาในสหรัฐอเมริกา , แคนาดา , กรีซและตุรกี

ทั้งนี้ ในช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์จะร่วมการประชุมทางออนไลน์เพื่อปรึกษาหารือและถกเถียงถึงผลการศึกษาวิจัยด้านสภาพอากาศของพวกเขากับบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ และผู้กำหนดนโยบายของประเทศต่าง ๆ โดยจะมีรายงานสรุปสำหรับผู้กำหนดนโยบาย

รายงานดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญในการแนะแนวทางในการรับมือกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ซึ่งหลายฝ่ายหวังว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นการ เตือนสติ ให้แก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ

Source