GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร



GPSC บนเส้นทางผู้นำด้านแบตเตอรี่และโซลูชั่นจัดการพลังงานครบวงจร เปิดโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน G-Cell ด้วยเทคโนโลยี SemiSolid แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถผลิตแบตเตอรี่สำหรับระบบกักเก็บพลังงานและสามารถใช้กับ EV Car พร้อมเป้าหมายสู่การเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาค และมีระบบ Ecosystem ที่มีประสิทธิภาพ

นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่าแนวโน้มในการใช้แบตเตอรี่จะเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าในอนาคต จากการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้ EV Car ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาว และการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีพลังงานที่ว่านี้ แบตเตอรี่จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยการลดโลกร้อนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

“เราเชื่อว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่สำคัญคือแบตเตอรี่ ที่จะเป็นจิ๊กซอร์ให้มีการใช้ EV Car เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายได้ จึงเป็นที่มาของการลงทุนและเปิดตัวโรงงานต้นแบบ โดยใช้เทคโนโลยี SemiSolid เป็นรายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายวรวัฒน์ กล่าว

เทคโนโลยี SemiSolid จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพและสร้าง Ecosystem ให้กับอุตสาหกรรม EV เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิต EV Car และเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ 30:30 เป้าหมายสำคัญคือต้องการใช้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิต EV Car การที่จะเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคได้จะต้องมี Ecosystem ที่พร้อมและมีประสิทธิภาพที่จะนำมาประกอบรถยนต์

ห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center

นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กล่าวว่า

GPSC ได้สร้างห้องนิทรรศการแสดงความเป็นมาของโครงการ หรือ Experience Center ขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวแบตเตอรี่เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ รวมทั้งเด็กและเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ และเป็นความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่ว่าสามารถนำมาใช้ในชีวิตได้อย่างไรบ้าง

ภายใน Experience Center ประกอบด้วย

Battery Story ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบตเตอรี่จากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งได้ถูกพัฒนามาค่อนข้างมาก จนมาถึงยุค LIthuim-ion, Lithuim Sulphur และยุค Technology Solid

GPSC ได้นำเอาเทคโนโลยี SemiSolid ซึ่งเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เป็น Process Innovation ที่ได้รับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นเทคโนโลยีของบริษัทสตาร์อัพ 24M Technologies, Inc. หรือ 24M จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดย GPSC ได้รับลิขสิทธิ์และจัดจำหน่ายในประเทศและภูมิภาค โดยในเบื้องต้นจะผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้กับ กลุ่ม ปตท. และพร้อมที่จะขยายกำลังการผลิตตามความต้องการของตลาดไปสู่ระดับการเชื่อมโยงการซื้อขายในภูมิภาค

“GPSC อยู่ระหว่างศึกษา เทคโนโลยีอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น Lithium Sulphur เมื่อ Product Innovation ทำได้สำเร็จ ก็สามารถนำมาใช้ใน Process นี้ได้ด้วย เราต้องการให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามความต้องการคือมีขนาดเล็ก และ เบา” นางรสยากล่าว

เชื่อว่า SemiSolid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ 24M จะทำให้กระบวนการผลิตสั้นลงและประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น และสามารถนำวัตถุดิบที่ไม่จำเป็นออกไป การออกแบบช่วยป้องกันการผสมกันของวัตถุ โดยแบ่งเป็น Unit ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนกัน

ดังนั้นเทคโนโลยีที่นำมาใช้จะทำให้ G-Cell มีความปลอดภัย และน่าจะ Recycle ได้ง่ายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ในอนาคตที่กำลังมุ่งไปสู่โลกสีเขียวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

ส่วนของความน่าเชื่อถือ (Reliability) หรือการต่อเชื่อม Chain และการให้บริการกับทางกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เป็นแบรนด์ที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับกับลูกค้า

Casting & Converting

เป็นส่วนที่อธิบายกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ โดยเริ่มต้นจาก Foil Cutting เป็นลำดับแรก หลังจากนั้นทำการ Coating ตัวต่อตัว เพื่อลดการปนเปื้อน

ต่อมาเป็นขั้นตอน Combining & Sealing เพิ่มความปลอดภัยของ Unit Cell จากนั้นเป็นขั้นตอน Pouch Cell Assembly ทำ Stacking & Packing และการนำไปบ่มในห้อง Aging Room บ่มเพาะจนมีความมั่นใจว่าสินค้ามีความปลอดภัย โดยมี Robot ควบคุมดูแลภายในห้อง จากนั้น Stack และเก็บข้อมูลของแบตเตอรี่ และคอย Monitor

Line up process

ในส่วนนี้ จะเป็นการนำเสนอระบบกักเก็บพลังงาน หรือEnergy Storage System (ESS) ขนาดใหญ่ จะอยู่ในหมวดของ Large ESS หรือผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ G-Box (CI) และ G-BOX (CI MAX) สำหรับเชิงพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานผ่านแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System) การใช้แบตเตอรี่ G-Cell ในรถสามล้อไฟฟ้า สามารถวิ่งได้ 80 กม. ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง เครื่องยนต์เงียบ ไม่มีมลภาวะ

“สำหรับการติดตั้งแท่นชาร์จแบตเตอรี่ เป็นความตั้งใจของ ปตท. ที่ต้องการให้มีการติดตั้งแท่นชาร์จทั่วประเทศ ทุกสถานีน้ำมันที่มีความเป็นไปได้ ตลอดจนจุดสำคัญต่างๆ เช่น บนคอนโดมีเนียม” นายวรวัฒน์กล่าว