คาราบาว เข้าค่ายยกเครื่อง

ตัวจักรที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือ วงคาราบาว ที่ต้องรับบทหนักในการเล่น ร้อง ทั้ง 100 คอนเสิร์ต และกิจกรรมพ่วงอื่นๆ อีกมากมาย ถ้าถามว่าเหนื่อยกว่าเมื่อก่อนหรือไม่ คำตอบก็คือ เหนื่อย แต่เป็นการเหนื่อยที่การบริหารจัดการลงตัว

ในแต่ละปีการเล่นคอนเสิร์ตทุกเวทีกว่า 300 งานต่อปีอาจจะเป็นความเคยชิน แต่เมื่อกำหนดให้เหลือเพียง 100 คอนเสิร์ต มีตารางงานชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน มีการฝึกซ้อมร่วมวงอย่างจริงจัง ทำให้คาราบาวเกิดความเปลี่ยนแปลง

ทางผู้จัดงานกำหนดให้คาราบาวหยุดรับงาน 2 เดือน เหลืองานอย่างเดียวที่ให้ทำคือ ซ้อม…ซ้อม…แล้วก็ซ้อมคาราบาวเริ่มรวมวงซ้อมมาตั้งแต่เดือนมกราคมสัปดาห์ละ 3-4 วันที่ห้องซ้อมย่าน RCA ในช่วงเย็น

“พอซ้อมกันมากขึ้น ก็เหมือนกับมาทำงานร่วมกันมากขึ้น เดิมเจอกันตอนไปเล่น จบก็แยกย้ายกันไป ตอนนี้ความเป็นเพื่อน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกลับมาอีกครั้ง มีการทดลองเล่นงานภายใน เหลือเชื่อว่ามีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การทำไลน์ประสานเสียงที่ลงตัว เหมือนยุคแรกของคาราบาว” วินิจอธิบายถึงผลของการเข้าค่ายซ้อมอย่างจริงจังของคาราบาว

นอกจากการซ้อมแล้ววงคาราบาวต้องรับหน้าที่ในการเดินสายเพื่อออกรายการต่างๆการสัมภาษณ์ เพื่อโปรโมตงานนี้ไปในตัวโดยจะเข้มข้นขึ้นก่อนงานคอนเสิร์ตจะเริ่มขึ้น เพราะหลังจากนั้นจะต้องเดินสายเล่นดนตรีอย่างเดียว

การกลับมาซ้อมดนตรีอย่างหนักและต่อเนื่อง ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว บอกในงานแถลงข่าวคอนเสิร์ตคาราบาว 30 ปีว่า ตั้งแต่ตั้งวงคาราบาวไม่เคยซ้อมกันหนักขนาดนี้ เหมือนกลับไปเป็นเด็ก เข้าข่ายลูกเสือ ไม่ได้ทำ
อะไรนอกจากซ้อมอย่างเดียว

การซ้อมในระบบเดิมที่เขาเป็นคนดูแล อาจไม่เข้มข้นพอ จึงมีทิวา สารจูทะ เข้ามาเป็นผู้ควบคุมการซ้อมของวง ซึ่งแอ๊ดยอมรับว่า ทำให้การซ้อมมีระเบียบขึ้นสมาชิกในวงรับคำสั่งของทิวา ให้ทำอะไรก็ทำตามตลอด

สปอนเซอร์ที่ร่วมงานคาราบาว 30 ปี
บริษัท ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมพิเศษ
ไทยเบฟเวอเรจ * เครื่องดื่มตราช้าง โซดาช้าง เปิดตัว โซดา Blue Magic
ยูโรเปี้ยนฟู้ด ยูโร คัสตาร์ด เค้ก ขอบคุณลูกค้า
ไทยประกันชีวิต ประกันชีวิต ขอบคุณลูกค้า
ไทยแอร์เอเชีย สายการบิน แอร์เอเชีย สกรีนเครื่องบินรูปคาราบาว
ปตท. พลังงาน ขอบคุณลูกค้า
ฮอนด้า ออโตโมบิล รถยนต์ เปิดตัวฮอนด้า บรีโอ
เอ.พี. ฮอนด้า รถจักรยานยนต์ ขอบคุณลูกค้า
*ซื้อแพ็กเกจ Title & Co – sponsor
Profile
Branded Content คาราบาว 30 ปี
Campaign มหกรรมคอนเสิร์ตคาราบาว 30 ปี
Positioning ฉลองคาราบาว 30 ปี เดินสายเล่นคอนเสิร์ตทั้งในและต่างประเทศ
Target Group แฟนเพลงคาราบาว
Story Telling คอนเสิร์ตพิเศษ 100 คอนเสิร์ตรอบละ 5,000 ที่นั่ง 77 จังหวัดไม่ต้องเสียค่าเข้าชม ร่วมสนุกกับสปอนเซอร์ 8 รายก็ได้บัตร
ปี พ.ศ. ผลงาน
2527 คาราบาวขึ้นสู่จุดสูงสุด ด้วยอัลบั้มชุดประวัติศาสตร์ ชุดที่ 5 “เมดอินไทยแลนด์” เป็นอัลบั้มที่สร้างชื่อเสียงให้กับคาราบาวมากที่สุด ด้วยบทเพลงที่ชื่อ “เมดอินไทยแลนด์” ยอดขายกว่า 5 ล้านตลับ และคาราบาวมีการทัวร์คอนเสิร์ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่งเพลง รักคุณเท่าฟ้า ให้กับการบินไทยในโอกาสฉลอง 50 ปีการบินไทย
2528 ผลงานชุดที่ 6 ชื่อชุด “อเมริโกย” แนวเพลงของชุดนี้ยังคงเกาะติดถึงสถานการณ์บ้านเมืองโดยคาราบาวได้นำเหตุการณ์และความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ ณ ขณะนั้นอย่างปัญหาชาวนาและการประกันราคาข้าว
2529 อัลบั้มชุดที่ 7 “ประชาธิปไตย” กระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยในสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้นต้องการประชาธิปไตย คาราบาวสะท้อนภาพการได้มาซึ่งประชาธิปไตยผ่านบทเพลง
2530 อัลบั้มชุดที่ 8 “เวลคัมทูไทยแลนด์” ออกอัลบั้มต้อนรับเทศกาลท่องเที่ยวไทยในยุคนั้น เพื่อที่จะชักชวนชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ดนตรีในชุดนี้เป็นดนตรีที่ฟังสบายๆ มีกลิ่นอายของความเป็นไทย
2531 อัลบั้มชุดที่ 9 “ทับหลัง” ประเทศไทยต่อสู้เพื่อทวงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ไปตกอยู่ในมือของต่างชาติกลับคืนมา โดยมีรัฐบาลไทยได้ทำการเรียกร้องขอคืนและเป็นอัลบั้มสุดท้ายของการทำงานของสมาชิกคาราบาวทั้ง 7 คนด้วยเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย ที่ไม่สามารถทำให้สมาชิกคาราบาวรวมตัวกันทำงานต่อไปได้
2533 อัลบั้มชุดที่ 10 ขึ้นมา โดยใช้ชื่อชุดว่า “ห้ามจอดควาย” เหลือสมาชิกในวงเพียง 4 คน ประกอบไปด้วย แอ๊ด เขียว เล็ก และอ๊อด ที่ยังคงเป็นแกนนำของคาราบาวในอัลบั้มชุดนี้ โดยมีวงตาวัน เข้ามาเป็นแบ็กอัพ หลังจากอัลบั้มชุดนี้ เทียรี่ เมฆวัฒนา อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี และ อำนาจ ลูกจันทร์ รวมตัวกันเริ่มไปทำงานเดี่ยวของตัวเอง และ ยืนยง โอภากุล ปรีชา ชนะภัย กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร ก็ได้ทยอยไปทำงานเดี่ยวของตัวเองเช่นกัน
2534 อัลบั้มชุดที่ 11 “วิชาแพะ” โดยมีสมาชิกคาราบาวเพียง 3 คนเท่านั้นคือ แอ๊ด เล็ก และอ๊อด และได้นักดนตรีอาชีพเข้ามาช่วยทำงานให้คาราบาว แนวทางดนตรีมีหลากหลาย แต่ก็ยังคงแนวทางการเมืองอยู่
2535 อัลบั้มชุดที่ 12 “สัจจะ 10 ประการ” แต่งเพลงให้นักการเมือง เช่น เพลงสัจจะ 10 ประการ หรือเพลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ เพลงน้ำ เพราะสถานการณ์ช่วงนั้นประเทศไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำ
2536 เป็นอัลบั้มชุดที่ 13 “ช้างไห้” โดยมีแกนนำคาราบาวเพียง 2 คนเท่านั้นคือ แอ๊ด กับ อ๊อด พร้อมกับนักดนตรีแบ็กอัพชุดเดิม โดยอัลบั้มนี้จะพูดถึงเรื่องธรรมชาติ การใช้ชีวิตของคน และบทเพลงที่ให้กำลังใจ
2537 อัลบั้มชุดที่ 14 “คนสร้างชาติ” ปลุกจิตสำนึกให้กับคนไทยให้รักชาติ และได้พยัคฆ์ คำพันธุ์ เซียนพระมือหนึ่งแห่งประเทศไทย มาแต่งเพลงหลวงพ่อคูณให้กับคาราบาว แอ๊ด คาราบาวได้แต่งเพลงครบรอบ 20 ปีคาราวานให้กับวงคาราวานอีกด้วย
2538
  • อัลบั้มชุดที่ 15 “แจกกล้วย” พูดถึงการกระจายอำนาจไปสู่การเมืองระดับท้องถิ่น และเพลงเสียดสีผู้ที่โกงกินบ้านเมืองกับเพลง ค้างคาวกินกล้วย และเพลงเดินขบวน
  • อัลบั้มชุดที่ 16 ให้ชื่ออัลบั้มว่า “หากหัวใจยังรักควาย” สมาชิกคาราบาวทั้ง 7 คน ได้กลับมารวมตัวกันเฉพาะกิจ ในวาระครบรอบ 15 ปีคาราบาว
2540
  • อัลบั้มชุดที่ 17 “เส้นทางสายปลาแดก” บทเพลงร่วมอนุรักษ์ความเป็นไทย เช่น เพลงน้ำพริกแกงป่า เพลงกลองยาว และยังเป็นการครบรอบปีที่ 12 ของบทเพลงเมดอินไทยแลนด์ ซึ่งมีการเรียบเรียงดนตรีใหม่มาไว้ในอัลบั้มนี้ด้วย
  • อัลบั้มชุดที่ 18 “เช ยังไม่ตาย” บทเพลงในอัลบั้มนี้กล่าวถึงบุคคลที่เป็นนักต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็น เช กูวารา, อองซาน ซูจี, อัศนี พลจันทร์
2541
  • อัลบั้มชุดที่ 19 “อเมริกันอันธพาล” เป็นการกลับมาร่วมงานกับคาราบาวอีกครั้งของ ปรีชา ชนะภัย เทียรี่ เมฆวัฒนา และกีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร บทเพลงในอัลบั้มนี้ แอ๊ด คาราบาวได้ร้องเพลงเหน็บแนมประเทศมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ในเพลงอเมริกันอันธพาล ซึ่งอเมริกันได้ออกกลอุบายตั้ง IMF ขึ้น ปล่อยเงินกู้ให้ประเทศไทย จนทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้อเมริกาอย่างมหาศาล
  • อัลบั้มชุดที่ 20 “พออยู่พอกิน” ประเทศไทยมีหนี้สินจากต่างประเทศมหาศาล ทำให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง ประชาชนคนไทยใช้จ่ายไม่คล่องตัวเหมือนแต่ก่อน เพลงพออยู่พอกิน เป็นเพลงที่มาจากพระบรมราโชวาทจากในหลวง ให้ประชาชนคนไทยใช้ชีวิตแบบพออยู่พอกิน ไม่ฟุ้งเฟ้อ
    2543 อัลบั้มชุดที่ 21 “เซียมหล่อตือ” เหน็บแนมนักการเมืองที่ชอบกินบ้านโกงเมืองในภาวะสถานการณ์ของประเทศระส่ำย่ำแย่
    2544 อัลบั้มชุดที่ 22 “สาวเบียร์ช้าง” อัลบั้มชุดนี้อยู่ในช่วงที่รัฐบาลที่มีนโยบายให้ปิดสถานบริการกลางคืนในเวลาที่กำหนด ทำให้คนทำงานกลางคืนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า เพลง ปุรชัยเคอร์ฟิว และเพลง อดติ๊บอดตาย และมีเพลงที่ไว้อาลัยเหตุกาณ์ตึกถล่มที่เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในเพลง เดือน 9 เช้า 11
    2545 อัลบั้มชุดที่ 23 “นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่” อัลบั้มนี้ออกมาพร้อมกับธุรกิจใหม่ของ ยืนยง โอภากุล เครื่องดื่มบำรุงกำลังยี่ห้อคาราบาวแดง โดยใช้สโลแกนนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นตัวนำ
    2547 คาราบาวบันทึกเสียงอัลบั้ม “เมดอินไทยแลนด์” ใหม่ทั้งหมด โดยใช้ชื่ออัลบั้มนี้ว่า “เมดอินไทยแลนด์ ภาค 2546 สังคายนา” และสัญลักษณ์เขาควายของคาราบาวถูกนำขึ้นไปสกรีนบนเครื่องบินแอร์เอเชียเป็นครั้งแรก และแต่งเพลงให้กับแอร์เอเชีย
    2548 อัลบั้มชุดที่ 24 “สามัคคีประเทศไทย” ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยในยุคนี้เข้าสู่ยุควิกฤตทางสังคม และสร้างความสมานฉันท์ของคนไทยโดยใช้เสียงเพลงเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ในเพลง “ขวานไทยใจหนึ่งเดียว”
    2550 อัลบั้มชุดที่ 25 “ลูกลุงขี้เมา” เพลงนำของอัลบั้มมีเนื้อหาสืบเนื่องมาจากเพลง ลุงขี้เมา ในอัลบั้มชุดแรกของวงคาราบาวที่ออกในปี พ.ศ. 2524 ทางวงจึงนำชื่อเพลงมาตั้งชื่ออัลบั้ม เพื่อให้สมกับโอกาสที่วงคาราบาวเดินทางมาตลอด 25 ปี
    2552 อัลบั้มชุดที่ 26 “โฮะ” เปรียบเทียบการเมืองของบ้านเราเหมือนแกงโฮะของภาคเหนือ คือ รวมกันมั่วไปหมด และมีเพลงเมดอินไทยแลนด์ 52 ด้วยการนำทำนองเมดอินไทยแลนด์ มาใส่เนื้อร้องใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย มีนักร้อง เสก โลโซ มาร่วมร้องเพลงด้วย