เมื่อโครงสร้างตลาด “ค่ายมือถือ” เปลี่ยนไป ต้องใช้ปัจจัยอะไรบ้างที่วัดความเป็นผู้นำ


กลายเป็นประเด็นร้อนแรงอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังมีข่าวเรื่องการควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการระหว่าง True และ dtac เมื่อนำตัวเลขผู้ใช้ 2 รายมารวมกันจะอยู่ที่ 51.3 ล้านเลขหมาย หลายคนประเมินว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดทันทีแซงหน้า AIS ที่มีผู้ใช้งาน 43.7 ล้านเลขหมาย


แค่ยอดผู้ใช้ การันตีผู้นำไม่ได้

ต้องบอกว่าประเด็นนี้ได้สร้างความสับสนแก่ผู้บริโภคพอสมควร ซึ่งถ้าดูในแง่ตัวเลขผู้ใช้อย่างเดียวก็คงใช่ สามารถบอกได้ว่าหลังทั้ง True รวมร่าง dtac แล้วจะกลายเป็นค่ายที่มีผู้ใช้งานเยอะที่สุด แต่ก็ต้องบอกว่าการที่จะบอกว่าใครเป็นผู้นำในตลาดนี้จะดูแค่ยอดผู้ใช้งานอย่างเดียวไม่พอ เพราะมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย อย่างอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่สินค้าอุปโภคบริโภค ก็ต่างวัดการเป็นเบอร์ 1 ในตลาดด้วยรายได้ ใครขายได้มากกว่าก็มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า เพราะฉะนั้นยังมีปัจจัยที่วัด Performance ของบริษัทอีกมากมาย เช่น Market Cap,รายได้, กำไร, เงินลงทุน รวมไปความแข็งแกร่งทางการเงินในเรื่องอื่นๆ

และที่สำคัญที่สุดคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ “แบรนด์ดิ้ง” การที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาด ย่อมเป็น “แบรนด์เลิฟ” ที่ลูกค้าให้ความเชื่อมั่น และเทใจให้สมกับเป็นเบอร์ 1 นั่นเอง

เมื่อเทียบผลการดำเนินงานของทั้ง 3 ค่าย พบว่า AIS ยังครองความเหนือกว่าในทุกมิติ แม้ 2 ค่ายควบรวมกันแล้ว AIS ก็ยังมีมูลค่าบริษัทมากกว่าถึง 2.4 เท่า รวมไปถึงกำไรสุทธิก็ยังทิ้งห่าง ปริมาณคลื่นความถี่ก็มากกว่า โดยที่ AIS มีคลื่นความถี่รวม 1450 MHz ส่วนทั้ง 2 ค่ายจะมีคลื่นความถี่รวม 1350 MHz

เทียบฟอร์มผลดำเนินการของโอเปอเรเตอร์ 3 ค่าย

 

Performance AIS TRUE dtac T+D
Market Cap
(ณ วันที่17 ธ.ค. 2564)
621,536 ล้านบาท 154,161ล้านบาท 106,551 ล้านบาท 260,712 ล้านบาท
รายได้รวม9 เดือนของปี 2564 132,020 ล้านบาท 103,177 ล้านบาท 59,855 ล้านบาท 163,032 ล้านบาท
กำไรสุทธิ9 เดือนของปี 2564 20,059 ล้านบาท – 1,483 ล้านบาท 3,185 ล้านบาท 1,702 ล้านบาท
งบประมาณการลงทุนของปี 2564(ไม่รวมคลื่นความถี่) 25,000-30,000 ล้านบาท N/A 13,000-15,000 ล้านบาท N/A
จำนวนคลื่นความถี่รวม คลื่น 700 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 40 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 60 MHz
คลื่น 2600 MHz จำนวน 100 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 1200 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1450 MHz
คลื่น 700 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 850 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2600 MHz จำนวน 90 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 800 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1020 MHz
คลื่น 700 MHz จำนวน 20 MHz
คลื่น 900 MHz จำนวน 10 MHz
คลื่น 1800 MHz จำนวน 10 MHz
คลื่น 2100 MHz จำนวน 30 MHz
คลื่น 2300 MHz จำนวน 60 MHz
คลื่น 26 GHz จำนวน 200 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 330 MHz
ปริมาณคลื่นทั้งหมด 1350 MHz
ค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ทั้งหมด กว่า 200,000 ล้านบาท 170,000 ล้านบาท 83,000 ล้านบาท กว่า 250,000 ล้านบาท

 

แสดงให้เห็นว่าถ้าเกิดกระบวนการควบรวมเสร็จสิ้นกันแล้วจริงๆ ทั้ง 2 ค่ายรวมร่างกันอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ใช้ที่ผนวกรวมกันเป็น 51.3 ล้านเลขหมาย ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 แซงหน้า AIS ในทันที ขนาดที่ “ซิคเว่ เบรคเก้”ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ ได้กล่าวในงานแถลงข่าวถึงการควบรวมว่า

“บริษัทใหม่นี้จะมีรายได้กว่า 2 แสนล้านบาทมีส่วนแบ่งตลาดในแง่รายได้ราว 40% โดย AIS จะยังเป็นพี่ใหญ่ให้ทั้ง 2 บริษัท และเราก็ยังต้องเรียนรู้จาก AIS”


เหนือกว่ามูลค่า คือวิสัยทัศน์

นอกจากเรื่องของตัวเลขมูลค่าบริษัทที่สามารถบ่งบอกความเป็นผู้นำได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนมากกว่าก็คือ “วิสัยทัศน์” ของผู้นำนั่นเอง แน่นอนว่าหลายปีที่ผ่านมาการแข่งขันในตลาดดุเดือดมากแค่ไหน ผู้เล่นในตลาดต่างอัดงบลงทุนทั้งในเรื่องบริการ และการประมูลคลื่นอย่างหนักหน่วง เพื่อนำมาพัฒนาเครือข่ายให้ได้ครอบคลุมมากที่สุด

AIS เองได้มองเห็นเทรนด์ และทรานส์ฟอร์มตัวเองสู่ความเป็น Digital Service Provider มาหลายปีแล้ว ไม่หยุดแค่การเป็นโอเปอเรเตอร์เครือข่ายมือถือ ในแต่ละปีได้อัดงบลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เทคโนโลยีขับเคลื่อนทุกภาคส่วน ทุกอุตสาหกรรม และขับเคลื่อนประเทศ เห็นได้จากการเปิดตัวพาร์ทเนอร์อย่างไม่หยุดยั้ง ในปีนี้ AIS ได้ใช้งบลงทุนถึง 30,000 ล้าน เพื่อพัฒนาเครือข่าย และบริการให้ดีที่สุด

ต้องบอกว่าในประเทศไทยโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีคือสิ่งที่จำเป็นต่อการเติบโตในอนาคต ยังสร้างมูลค่าได้อีกมหาศาล ยังมีโอกาสที่ช่วยเสริมศักยภาพของภาคส่วนต่างๆ หรือแม้แต่การยกระดับประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในอนาคต

เป็นมุมมองที่กลับด้านกับนายใหญ่ของค่าย True ศุภชัยเจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้บอกว่า

“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของสนามการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมตอนนี้อยู่ในจุดที่เพิ่มมูลค่าได้น้อยมาก ทรู และดีแทคมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจเพราะเรายังคงเป็นผู้ประกอบการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมเป็นหลักเราไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้บริโภค และประเทศไทยได้ ดังนั้นบทบาทใหม่ของเราคือการเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์ในการสร้างเทคโนโลยีให้กับไทย”


แบรนด์ดิ้งชัด สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค

แต่เดิมตลาดโอเปอเรเตอร์มีการแข่งขันของ 3 ค่ายอย่างชัดเจน แต่ละค่ายมี Identity ที่แตกต่างกัน มีการอัดโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า มีโปรแกรม CRM เพื่อรักษาลูกค้าให้เหนียวแน่น รวมไปถึงในเรื่องของการสร้างแบรนด์ การมีพรีเซ็นเตอร์เบอร์ใหญ่ ก็ยิ่งช่วยทำให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น

การทำการตลาดก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างแบรนด์ สร้างการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้น แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถการันตีความสำเร็จในเรื่องการดำเนินงานได้อย่างดีก็คือรางวัลต่างๆ ที่ผ่านมา AIS ได้กวาดรางวัลอย่างต่อเนื่อง เช่น รางวัล “เครือข่ายมือถือ AIS 5G ที่เร็วที่สุดในไทย” 6 ปีซ้อน จาก Ookla®


AIS ไม่อยู่เฉย อัดโปรดึงลูกค้า

แน่นอนว่าทันทีที่ข่าวการควบรวมเป็นที่แน่ชัดแล้ว ทาง AIS ได้เทคแอคชั่นอย่างทันท่วงที ไม่ยอมเสียฐานลูกค้า และรีบหาลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาอยู่ในครอบครัว เรียกว่าเป็นโอกาสในวิกฤตนี้ก็ว่าได้ เพราะหลังจากข่าวนี้เริ่มมีเสียงแตกที่ว่า ถ้ามีการควบรวมกันจริงๆ ลูกค้า dtac บางคนอาจจะ “ย้ายค่าย”ก็เป็นได้ สะท้อนให้เห็นถึงแบรนด์ดิ้งได้อย่างชัดเจน

AIS ไม่รอช้าที่จะสื่อสารไปยังผู้บริโภคด้วยการใช้จุดแข็งของจำนวนคลื่นความถี่ที่มีมากที่สุดพร้อมทั้งขยี้ด้วยแคมเปญ “อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด”

โดย AIS ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่กวาดเอาศิลปิน ดาราตัวท็อปมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้มากเบอร์ต้นๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็น แต้ว ณฐพร, เต้ย จรินทร์พร, เจมส์ จิรายุ, เป๊ก ผลิตโชค, เวียร์ ศุกลวัฒน์, เบลล่า ราณี, น้องเทนนิส, แบมแบม กันต์พิมุกต์, ลิซ่า ลลิษา และ BNK48 เรียกว่าใครที่มีกระแสในช่วงนั้น AIS ไม่รอช้าที่จะคว้าตัวมาอยู่ในครอบครัวเดียวกันในทันที AIS ได้ปล่อยภาพเหล่าพรีเซ็นเตอร์เพื่อสื่อสารถึงความเป็น เบอร์ 1 เผยแพร่ลงในโซเชียลทุกช่องทาง โดยในทวิตเตอร์ก็ขึ้นเทรนด์เป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว

ในแคมเปญนี้ไม่ใช่แค่ย้ำว่า อยู่กับเอไอเอสดีที่สุด แต่ถ้าย้ายมาอยู่ด้วยกันมันก็จะดียิ่งกว่า AIS จึงอัดโปรย้ายค่าย โดยโปร 4G มีส่วนลด 50% แถมใช้ฟรี 1 เดือน ส่วนโปร 5G ลด 25%

การควบรวมกันของ True และ dtac เป็นเพียงแค่ทางลัดที่ช่วยให้ยอดรวมผู้ใช้งานไล่ตาม AIS ได้ทันจนขึ้นแซงหน้า แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน จะเห็นได้ว่า การเป็นผู้นำในตลาดยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่สั่งสมมา จึงตอบคำถามที่ว่า แม้ยอดผู้ใช้จะมากว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเบอร์ 1 เสมอไป