‘หัวเว่ย’ (Huawei) บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีนคาดว่ารายรับสำหรับปีนี้จะอยู่ที่ 99 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 28.9% จากปีที่แล้ว เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และความต้องการสมาร์ทโฟนทั่วโลกที่ตกต่ำ
ย้อนไปปี 2020 บริษัทรายงานรายได้ 891.4 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 3.8% จากปี 2019 ซึ่งเติบโตน้อยกว่าปี 2019 ที่เติบโตกว่า 19.1% โดยมีรายได้ 858.8 พันล้านหยวน และในปี 2021 หัวเว่ยมีรายได้ 643.4 พันล้านหยวน โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีรายได้ 320.4 พันล้านหยวน ส่วนครึ่งปีหลังลดลงหลังเหลือ 313.6 พันล้านหยวน
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผลประกอบการโดยละเอียดคาดว่าหัวเว่ยจะเปิดเผยในช่วงเดือนมีนาคม แต่ตัวเลขที่เปิดเผยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 แสดงให้เห็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดสองกลุ่ม ได้แก่ ผู้บริโภคและผู้ให้บริการกลับมีรายได้ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบเป็นรายปี ธุรกิจองค์กรที่มีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของกลยุทธ์การเติบโตของหัวเว่ยเติบโตขึ้น 6.6 พันล้านหยวน
ส่วนหนึ่งของข้อความภายในปีใหม่จาก Guo Ping ประธานหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ที่กล่าวกับพนักงานได้ระบุถึง “ความท้าทายที่ร้ายแรง” จาก “สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่คาดเดาไม่ได้ การทำให้เทคโนโลยีเป็นการเมือง และการเคลื่อนไหวของ Globalization ที่กำลังเติบโต”
Guo กล่าวเสริมว่า “ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจผู้ให้บริการของหัวเว่ยยังคงมีเสถียรภาพ ธุรกิจในระดับองค์กรยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และธุรกิจอุปกรณ์ก็ยังได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในโดเมนธุรกิจใหม่”
ทั้งนี้ Guo กล่าวถึงเป้าหมายในปี 2022 ว่า จะเพิ่มความพยายามในการสร้างและดึงดูดผู้มีความสามารถและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หัวเว่ยประกาศว่ารถยนต์ไฟฟ้าคันแรกที่มีระบบปฏิบัติการ HarmonyOS และจะเริ่มส่งมอบได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์
ย้อนไปในปี 2019 ผู้บริหารของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้กำหนดให้หัวเว่ยอยู่ในบัญชีดำที่จำกัดบริษัทอเมริกันไม่ให้ขายเทคโนโลยีให้กับบริษัทจีน โดยอ้างถึงปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ หัวเว่ยปฏิเสธว่าเป็นภัยคุกคามดังกล่าว แม้ว่าข้อจำกัดเหล่านั้นจะไม่คลี่คลายลง แต่ความตึงเครียดอื่น ๆ ระหว่างหัวเว่ยและรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังมีอยู่