สัญญาณดี! โลกผลิต ‘ไฟฟ้า’ จากพลังงานธรรมชาติแซง ‘ถ่านหิน’ คิดเป็น 38%

ขณะที่โลกกำลังเผชิญกับ ภาวะโลกร้อน รวมถึง วิกฤตด้านพลังงาน ทั้งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของ COVD-19 และจากสงครามของรัสเซียในยูเครน ซึ่งทำให้ประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุโรปต้องแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย

จากรายงานโดย Ember หน่วยงานตรวจสอบสภาพอากาศอิสระพบว่า ในปี 2021 มี 50 ประเทศทั่วโลกที่สามารถสร้างพลังงานมากกว่า 10.3% จากลมและแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวตั้งแต่ปี 2015 และเติบโตราว 1% จากปี 2020 ซึ่งแซงหน้า พลังงานนิวเคลียร์ เป็นครั้งแรก หลังจากที่มีการใช้ลดลงเล็กน้อยราว 9.9%

ส่งผลให้แหล่งพลังงานสะอาดมีส่วนเป็น 38% ของแหล่งจ่ายไฟทั้งหมดของโลก มากกว่าการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 36.5% โดยประเทศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วที่สุด ได้แก่ เนเธอร์แลนด์, ออสเตรเลีย และเวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้เปลี่ยนพลังงานประมาณ 1 ใน 10 จากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานลมและแสงอาทิตย์ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ รายงานยังพบว่าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมสามารถเติบโตได้เร็วพอที่ช่วยจะช่วยจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าโลกควรอยู่ต่ำกว่านี้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่รุนแรงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และจะต้องรักษาอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ 20% ในช่วง 10 ปีหรือจนถึงปี 2030

“หากแนวโน้มเหล่านี้สามารถทำซ้ำได้ทั่วโลกและยั่งยืน ภาคพลังงานก็จะอยู่ในเป้าหมายในการลดอุณหภูมิลง 1.5 องศา” Dave Jones ผู้นำระดับโลกของ Ember กล่าว 

แม้ว่าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นจนแซงการใช้ถ่านหิน แต่การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินก็เติบโตเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1985 เป็นอย่างน้อย เพิ่มขึ้น 9% ในปี 2021 ที่ 10,042 เทราวัตต์ชั่วโมง (TWh) หรือ 59% ของความต้องการทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น

ข้อมูลระบุการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ในประเทศจีน โดยเพิ่มขึ้น 13% ในปี 2021 เมื่อเทียบกับระดับก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2019 อย่างไรก็ตาม จีนเองก็กำลังพยายามเพิ่มระดับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ และยังพยายามติดตั้งไฟฟ้าสะอาดในระดับสูงสุด เช่น พลังน้ำ นิวเคลียร์ และพลังงานชีวภาพ ซึ่งหมายความว่าการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินจะเริ่มลดลง

อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น โดยปีที่ผ่านมา มีความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ 1,414 TWh เพิ่มขึ้น 5.4% นอกจากนี้ การผลิตก๊าซเพิ่มขึ้นเพียง 1% และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น ได้ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งสูงกว่าสถิติที่ตั้งไว้ในปี 2018

“เราเข้าใกล้จุดที่ลมและพลังงานแสงอาทิตย์สามารถครอบคลุมความต้องการไฟฟ้าใหม่ได้ แต่เราต้องรักษาอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานไฟฟ้า”

Source