ไม่ใช่แค่รัสเซีย! นักวิเคราะห์ชี้ ‘จีน’ อีกตัวการทำ ‘เงินเฟ้อ’ ทั่วโลกพุ่ง

สถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ (Peterson Institute for International Economics : PIIE) ระบุว่า รัสเซียมีความผิดในการสร้างวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารและราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากการทำสงครามกับยูเครน แต่จีนก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลกแย่ลง

Chad Bown และ Yilin Wang นักวิเคราะห์จาก PIIE กล่าวว่า สงครามของรัสเซียในยูเครนส่งผลกระทบอย่างน่าตกใจ เนื่องจากรัสเซียกำลังปิดกั้นการส่งออกปุ๋ย จึงถือเป็นส่วนทำให้เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก ขณะที่บทบาทของยูเครนในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับแอฟริกาและตะวันออกกลางได้ถูกทำลายลง

แต่ยังมีความเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่ไม่อาจประเมินค่าได้ต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก ซึ่งนั่นก็คือ การตั้งกำแพงภาษีการนำเข้าสำหรับปุ๋ยและเนื้อหมู นอกจากนี้ จีนซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก ก็ได้มีการลดกำลังการผลิตลงอีกด้วย ซึ่งนโยบายเหล่านี้ของจีน นำไปสู่ราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นในทั่วโลก

“ปัญหาคือ จีนทำตัวเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ออกมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนจีนก่อน เช่น ลดต้นทุนการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรชาวจีน แต่ผลักภาระต้นทุนให้กับคนทั้งโลก”

ปุ๋ย

ราคาปุ๋ยในจีนและทั่วโลกเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่และราคาพลังงานที่สูงขึ้น และราคาก็ยิ่งสูงขึ้นอีก หลังจากที่เกิดภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยย้อนไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางการจีนได้สั่งให้บริษัทผู้ส่งออกปุ๋ยรายใหญ่ระงับการส่งออก เพื่อให้แน่ใจว่ามีเกษตรกรจีนจะมีปุ๋ยใช้เพียงพอ และในเดือนตุลาคมทางการก็ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งออกปุ๋ย ในขณะที่ราคายังคงสูงขึ้น โดยคาดว่ามาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่ออกมาจะดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้

มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลจีนออกมาทำให้การส่งออกปุ๋ยของจีนลดลงอย่างรวดเร็ว ราคาปุ๋ยของจีนก็ทรงตัวและตั้งแต่นั้นมาก็เริ่มต่ำลง สวนทางกับสถานการณ์ทั่วโลกที่ราคาปุ๋ยยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพุ่งขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า”

เหล็ก

ราคาเหล็กในจีนและทั่วโลกพุ่งขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา เนื่องจากจีนประกาศว่าจะลดการผลิตเหล็กในประเทศลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ขณะที่ปีที่แล้วทางการได้ยกเลิกการห้ามนำเข้าเศษเหล็ก อีกทั้งยังจำกัดการส่งออก 2-3 รอบ และเพิ่มภาษีส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็ก 5 รายการ ส่งผลให้ช่วงในเดือนมีนาคมปีนี้ ราคาเหล็กของจีนลดลง 5%

เนื้อหมู

ส่วนราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้นทั่วโลกเริ่มต้นขึ้นในปี 2018 เมื่อจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อหมูถึงครึ่งหนึ่งของโลก ได้เจอผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมู ส่งผลให้จีนต้องกำจัดหมูไปประมาณ 40% ทำให้ราคาเนื้อหมูเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วงปลายปี 2019 ส่วนราคาเนื้อหมูทั่วโลกได้พุ่งขึ้น 25% เนื่องจากจีนนำเข้าเนื้อหมูมากขึ้น ทำให้ดึงปริมาณเนื้อหมูออกจากตลาดโลก

“จีนเลือกที่จะนำเข้าเนื้อหมูจำนวนมาก เพื่อลดแรงกดดันด้านราคาภายในประเทศตั้งแต่ปี 2019 นโยบายเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ของโลก”

นอกจากนี้ ปักกิ่งยังปรับลดภาษีนำเข้าเนื้อหมูในปี 2020 ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้ผู้บริโภคที่ทั่วโลกต้องเจอปัญหาราคาเนื้อหมูที่สูงขึ้น ทนเนื่องจากอุปทานที่ลดลง ซึ่งทางการจีนก็ได้ขึ้นอัตราภาษีดังกล่าวอีกครั้งในปีนี้ เนื่องจากปัญหาโรคอหิวาต์ในหมูเริ่มคลี่คลายลง

Source