ยุคสมัยของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แทบทุกธุรกิจต้องเผชิญความท้ายทายจากวิกฤติดังกล่าว หลายธุรกิจต้องหยุดชะงักอย่างกะทันหัน โดยคาดเดาไม่ได้เลยว่าวิกฤตนี้จะผ่านพ้นไป เมื่อไหร่
ดังนั้นการปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และนำพาองค์กรให้ก้าวต่อได้ในอนาคต เป็นเรื่องท้าทายอีกครั้ง ในวันที่เศรษฐกิจน่าจะเริ่มเดินได้อย่างปกติมากขึ้นสำหรับธุรกิจที่เห็นโอกาส และเห็นถึงความจำเป็นของการปรับตัวเพื่อรับกับความท้ายทายนี้ได้เร็ว ทำให้ได้รับผลกระทบในระยะสั้น และยังคงสร้างยอดขายได้ดี
บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) (SMART)
นายรังสี ทีปกรสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สมาร์ทคอนกรีต จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายอิฐมวลเบางานก่อสร้างและงานกั้นผนังอาคาร ภายใต้แบรนด์ SMART กล่าวว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด- 19 กระทบต่อบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะปัญหาโครงการก่อสร้างถูกเลื่อนและยกเลิก ผลกระทบจากปัญหาขาดแรงงาน ส่งผลให้คำสั่งซื้อและความต้องการใช้วัสดุก่อสร้าง อิฐมวลเบาชะลอลง
จากปัญหาดังกล่าว บริษัทปรับแผนและวางกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ปรับปรุงกระบวนการผลิตนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการต้นทุนการผลิต, ออกผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบาเพื่องานโครงสร้างขนาดพิเศษเพื่อช่วยแก้ปัญหาการก่อสร้าง,พัฒนาระบบการจัดส่งสินค้าให้รวดเร็ว
นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขยายช่องทางจำหน่าย เพราะถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด เดินหน้ากลยุทธ์การขายแบบ O2O (Online to Offline) ผลักดันสินค้าผ่านช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลายมากขึ้นอาทิโมเดิร์นเทรดห้างค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ไทวัสดุ 65 สาขา โกบอลเฮ้าส์ 77 สาขา และ ดูโฮม 10 ทั่วประเทศ
พร้อมเพิ่มตัวแทนจำหน่ายร้านค้าวัสดุก่อสร้างจึงสามารถกระจายสินค้าเข้าสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั่วประเทศ ควบคู่กับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์แนะนำสินค้าอิฐมวลเบา-อิฐมวลเบาตกแต่ง ให้เป็นที่รู้จักสร้างการรับรู้ผ่านโซเชียลมีเดีย https://www.facebook.com/SmartBlockOfficial/ และwww.Smartblock.co.thสื่อสารแนะนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักเพื่อสร้างการรับรู้กับลูกค้าในวงกว้าง เมื่อสินค้าเป็นที่รู้จักสามารถส่งผลจูงใจให้กับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น ทำให้บริษัทยังคงสามารถสร้างยอดขาย และประสบความสำเร็จจากช่องทางการขายออนไลน์
ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของ SMART มาจากงานภาครัฐอยู่ที่ 40 % ภาคเอกชน 60% โดยแบ่งสัดส่วนรายได้จากสินค้าอิฐมวลเบาอยู่ที่ 95% และสินค้าบล็อคผนังตกแต่ง 5%
บริษัท อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์จำกัด (มหาชน) (ILM)
นางสาวกฤษชนก ปัทมสัตยาสนธิ กรรมการผู้จัดการกล่าวว่า ปี 2022 ยังคงเป็นปีที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยการระบาดของโรคโควิด-19 ถึงแม้สถานการณ์จะไม่รุนแรงเหมือนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็ตาม เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจท่ามกลางความท้าทายและตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค บริษัทกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานในปี 65 ภายใต้วิสัยทัศน์ INDEX NEXTPERIENCE 2022 ที่มุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า Next Normal ทั้งช่องทางออฟไลน์&ออนไลน์ ด้วยการนำเทคโนโลยี AI และ Big Data มารวบรวม วิเคราะห์ตัวตน ความชอบ พฤติกรรมการช้อปของลูกค้า เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการในรูปแบบ Personalization ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
ด้านการขายยังคงเน้นการสร้างการเติบโตร่วมกันระหว่างช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยที่ช่องทางออฟไลน์หรือช่องทางการขายผ่านสาขาของบริษัทยังคงมีการเตรียมความพร้อมของสินค้าต่างๆให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาเลือกซื้อ รวมถึงการบริการต่างๆที่เข้ามาช่วยเหลือลูกค้าในการตัดสินใจหรือการเลือกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่ตรงกับการออกแบบและความต้องการใช้สอยของลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจและได้รับความสะดวกสบายในการเข้ามาใช้บริการในสาขา
อีกทั้งในส่วนของสาขาบริษัทยังได้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในบางสาขาให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ในการเข้ามาใช้บริการที่สาขาจากการที่นำพื้นที่ขายบางส่วนมาเป็นพื้นที่เช่าร้านอาหารและซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อทำให้สาขาของบริษัทมี Traffic การเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้น และสร้างโอกาสในการขาย รวมถึงลูกค้าที่เข้ามาซื้อของจากสาขาของบริษัทสามารถทางอาหารหรือซื้อสินค้าอื่นๆกลับบ้านได้ในที่เดียว ซึ่งเป็นการทำให้พื้นที่สาขาของบริษัทสามารถสร้างความสะดวกให้กับลูกค้าได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามมองว่า ช่องการขายผ่านช่องทางออนไลน์ยังสามารถสร้างยอดขายได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายรวมของบริษัทในช่วงไตรมาส 1/65 ยังสามารถเห็นการเติบโตได้ในระดับที่บริษัทพึงพอใจ และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยบริษัทตั้งเป้าหมายยอดขายทั้งปี 65 เติบโตในระดับตัวเลข 2 หลัก หรืออยู่ที่ 8.2 พันล้านบาท
บริษัท เดอะ บานดี้ จำกัด (BAANDY)
นายณัฏฐ์นวัต พันธุกรกวีวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้พัฒนา BAANDY แอปพลิเคชัน ซื้อ-ขายวัสดุก่อสร้างครบวงจร สินค้าตกแต่ง ฝีมือคนไทยกล่าวว่าจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้ BAANDY มองเห็นถึงโอกาสและความสำคัญของการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยยกระดับวงการค้าขายวัสดุก่อสร้างจึงพัฒนาระบบบริหารร้านค้า (Small ERP และ POS system) เข้ามาทำให้การเชื่อมข้อมูลการจัดการร้านค้าและการขายสินค้าหน้าร้านให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน
ด้วยกลยุทธ์การเชื่อมโยงร้านค้าแต่ละพื้นที่ ผ่านระบบปฏิบัติการขายสินค้าหน้าร้านและออนไลน์รูปแบบใหม่ จึงพัฒนาบานดี้ เทอมินอล (BAANDY TERMINAL) เข้ามาตอบโจทย์ร้านค้าวัสดุก่อสร้างที่ต้องการเชื่อมโยงระบบ O2O (Online to Offline) เข้าด้วยกันทำให้ร้านค้าวัสดุก่อสร้างบริหารจัดการหน้าร้านใช้งานง่ายขึ้นในแบบ One stop service จากการเชื่อมต่อระบบขายหน้าร้านกับระบบการขายออนไลน์แบบทันท่วงที (Realtime)
BAANDY TERMINAL จะเข้ามาช่วยบริหารร้านค้าวัสดุก่อสร้างที่ร้านค้าสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลบนระบบคลาวด์ (Cloud-based solution), ระบบขายหน้าร้านผ่านโปรแกรมแอนดรอยด์ (POS), ระบบการบริหารคลังอัจฉริยะ, ระบบการดูแลลูกค้า (CRM), ระบบการบริหารผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทันที (Realtime) การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลให้ร้านค้า ซึ่งช่วยให้ร้านค้าสามารถรับรู้ยอดขาย ต้นทุนขาย และต้นทุนสินค้าคงคลังได้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการับรู้เรื่องของกำไร-ขาดทุน
ตลอดจนข้อมูลสามารถเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ เช่น การสั่งสินค้า การกำหนดราคาขาย การออกใบเสนอราคาแบบค้าส่งหรือโครงการได้ด้วยรูปแบบการใช้งานที่ง่าย รูปลักษณ์หน้าจอไม่ซับซ้อน ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถเชื่อมต่อเข้าระบบขายสินค้าออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชัน บานดี้ (BAANDY) ช่วยเพิ่มช่องทางขายสินค้าออนไลน์ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคสมัยที่ใช้เทคโนโลยีมีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัวและลดความซับซ้อนที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย
BAANDY TERMINAL ได้รับการตอบรับอย่างดี หลังจากการเปิดตัวในเดือน ก.พ. มีจำนวนผู้สนใจใช้บริการ กว่า 500 ร้านค้า และมีแผนขยายฐานลูกค้าเพิ่มจำนวน 1,400 ร้านค้าทั่วประเทศภายในปี 2565 หรือประมาณ 15% จากมูลค่าตลาดร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอะไร การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อสถานการณ์การที่เกิดขึ้น เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และสร้างโอกาสจากสถานการณ์นั้นไว้ได้ ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง ในการที่จะประคองให้ธุรกิจอยู่รอดให้ได้ในยุคนี้