“โนเกีย” เดินหน้าพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดบนเส้นทางสู่อุตสาหกรรม 4.0 นับตั้งแต่การประกาศแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีของรัฐบาลเพื่อเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาในด้านหุ่นยนต์, การใช้ระบบออโตเมชันในโรงงาน, การบิน, โลจิสติกส์และการเกษตร

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะในภูมิภาคด้วยการนําเทคโนโลยี 5G มาใช้ครั้งแรกในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และยังพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโซลูชันเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล

ในฐานะที่โนเกียเป็นผู้นําในด้านอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่งสำหรับภาคอุตสาหกรรม (IIoT) และเครือข่ายสําหรับอุตสาหกรรม 4.0 บริษัทจึงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบโซลูชันสำหรับองค์กรและส่งเสริมเมืองอัจฉริยะและระบบนิเวศอุตสาหกรรมของประเทศไทยตามที่ได้บรรยายในงานสัมมนาครั้งนี้

โนเกียให้คำมั่นที่จะนำเสนอโซลูชันที่ออกแบบตามวัตถุประสงค์สําหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรม 4.0 และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ตั้งแต่โซลูชัน Nokia Digital Automation Cloud (DAC) ไปจนถึง Routing Silicon รุ่นที่ห้าบริษัทนำเสนอเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถเปลี่ยนอุตสาหกรรมไปสู่ระบบปฏิบัติการ Ready 4.0 Anything operations ซึ่งสนับสนุนโดยภารกิจ ธุรกิจ และเครือข่ายที่สำคัญทางสังคมของโนเกีย

โนเกียยังเผยด้วยว่าการเชื่อมต่อไร้สายในเครือข่ายแบบส่วนตัวได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งสําคัญในการขับเคลื่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ทั้งยังช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถหลอมรวมเข้ากับกระบวนการดิจิทัลโดยการเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ทั้งเครื่องจักรเซ็นเซอร์และพนักงานเคลื่อนที่ด้วยวิธีที่มีความยืดหยุ่น เข้าถึงได้ ปลอดภัยและน่าเชื่อถือที่สุด ด้วยการให้บริการโซลูชันสำหรับภารกิจสำคัญให้แก่ลูกค้าองค์กร

ฐิติพันธุ์ วรกุลลัฎฐานีย์ ผู้บริหารฝ่ายขายองค์กร (Enterprise Sales Leader) บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

“เทคโนโลยีที่มีความแข็งแกร่งที่พิสูจน์แล้วอย่าง 5G และการเชื่อมต่อในเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวช่วยในการสร้างระบบต้นแบบเมืองที่มีความอัจฉริยะ และมีบูรณาการที่ช่วยวางรากฐานสำหรับเมืองแห่งอนาคตได้ เมื่อประเทศไทยยังคงเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่องค์กรในประเทศไทยจะเร่งผลักดันการยอมรับเทคโนโลยีเหล่านี้ รวมถึงการเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นดิจิทัลและกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย”

โนเกียได้ดำเนินการจัดการเครือข่ายสำหรับภารกิจสำคัญให้แก่ลูกค้าองค์กรกว่า 2,000 ราย ที่อยู่ในธุรกิจการขนส่ง, พลังงาน, องค์กรขนาดใหญ่, ภาคการผลิต, ระบบ Webscale และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ความเชี่ยวชาญไปสู่ลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ด้านการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายแบบส่วนตัวอีกกว่า 450 แห่งทั่วโลกในหลากหลายภาคส่วน และได้รับการอ้างอิงโดยนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจํานวนมากในฐานะผู้ให้บริการการเชื่อมต่อไร้สายแบบส่วนตัว ชั้นนําของโลก

ระบบขนส่งรางกับระบบ 5G

GSM-R คือระบบเครือข่าย 2G เดิม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางรางในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังนั้นเหตุที่ 5G คืออนาคตของอุตสาหกรรมนี้เป็นเพราะมันจะช่วยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของการนำไปใช้งาน อุปสงค์ที่ต้องการใช้งานในอุตสาหกรรมการขนส่งทางราง อาทิ เทคโนโลยีออโตเมชั่นโรโบติกส์ และปัญญาประดิษฐ์ ที่จำเป็นต้องอาศัยแบนด์วิดท์ที่เร็วขึ้น และกว้างขึ้นเพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล

โนเกียได้ให้การสนับสนุนลูกค้าเสมอด้วยการให้ข้อมูล องค์ความรู้ และการสนับสนุนด้านเทคนิค สนับสนุนด้วยการเป็นที่ปรึกษาในการวางแผนเครือข่ายการขนส่งทางรางที่สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับของภาครัฐและยังเป็นมาตรฐานสากล

ในประเทศไทยการสนับสนุน และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางส่วนใหญ่จะมาจากรัฐบาล ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลมีการลงทุนมากกว่า 4 ล้านล้านบาทในโครงการระบบขนส่งทางราง อากาศ และทะเล นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนที่จะพัฒนาการเดินรถไฟในจังหวัดหนองคายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างประเทศไทย และลาวที่สามารถต่อขยายไปสู่ประเทศจีนได้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทางการค้าให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งหน่วยงานภาคเอกชนยังร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางรางในประเทศไทยอีกด้วย

ความท้าทายส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่โนเกียก็พร้อมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีใช้สำหรับระบบขนส่งทางรางเท่านั้น แต่ยังสามารถให้บริการระบบขนส่งอื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นใน สนามบิน ท่าเรือ โรงงานอัจฉริยะ ที่รวมถึงการทำเหมืองแร่ และหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐ มีโซลูชันที่รองรับการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าธุรกิจใดก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น รถไฟความเร็วสูง เพราะเป็นระบบขนส่งที่มีความรวดเร็ว สะดวกสบาย และมีความปลอดภัย หากประเทศไทยมีโครงข่ายระบบขนส่งทางรางความเร็วสูง คนก็จะขับรถยนต์ส่วนตัวน้อยลงซึ่งจะช่วยลดการปล่อยพลังงานได้ด้วย มีหลายแง่มุมทีเดียวที่โนเกียยินดีจะให้การสนับสนุนรัฐบาล