อินโดนีเซียกำลังหารือถึงความเป็นไปได้ในการลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อที่จะกระตุ้นให้มีการส่งออกไปยังต่างประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลกได้ประกาศหยุดส่งออกชั่วคราว เนื่องจากปริมาณน้ำมันปาล์มในประเทศมีไม่เพียงพอ
ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียได้ประกาศงดส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นเวลา 3 อาทิตย์ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากปัญหาสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศมีไม่เพียงพอ และอาจทำให้ราคาขายในประเทศนั้นสูงขึ้น ส่งผลทำให้กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ปกติแล้วอินโดนีเซียจะมีการส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังต่างประเทศอยู่ราวๆ 2.5 ถึง 3 ล้านตันต่อเดือน มาตรการดังกล่าวของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มในเดือนพฤษภาคมทำให้เกิดความกังวลว่าปัญหาสต็อกน้ำมันปาล์มอาจขาดแคลนทั่วโลก ราคาอาหารนั้นอาจเพิ่มขึ้นได้ และอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไปอีก
Luhut Pandjaitan รัฐมนตรีอาวุโสของรัฐบาลอินโดนีเซียที่ดูแลด้านการลงทุนได้กล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการลดสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศอย่างรวดเร็ว และเขาจะทำงานร่วมกันกับ Sri Mulyani Indrawati ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซียในเรื่องดังกล่าวนี้
มาตรการที่อินโดนีเซียจะนำมาใช้ก็คือการลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ 200 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งจากเดิมนั้นอยู่ที่ 375 ดอลลาร์ต่อตัน ก่อนที่กลับมาขึ้นภาษีส่งออกอีกเล็กน้อยในเดือนสิงหาคมซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 240 ดอลลาร์ต่อตัน
รัฐมนตรีอาวุโสของรัฐบาลอินโดนีเซียยังคาดว่าการส่งออกน้ำมันปาล์มจะกลับมาราบรื่นมากยิ่งขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศลดภาษี และคาดว่าหลังจากนี้อินโดนีเซียจะส่งออกน้ำมันปาล์มได้อย่างน้อย
ที่มา – Reuters