อย่างที่เราทราบกันดีว่าสตาร์ทอัพหลายรายในช่วงที่ผ่านมาได้ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ หรือแม้แต่ภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก และสตาร์ทอัพเองก็ได้เติบใหญ่จนกลายเป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่มีจำนวนไม่น้อย
แน่นอนว่าสตาร์ทอัพไทยเองก็อยากจะก้าวไปสู่จุดนั้น แต่สตาร์ทอัพของไทยหลายรายเองก็ประสบปัญหากับความเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจัยเศรษฐกิจกับเทรนด์ของลูกค้าที่เปลี่ยนไป หรือแม้แต่กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ ปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้สตาร์ทอัพไทยพบกับทางตันได้
วันนี้ Positioning จะพาไปคุยกับ คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ Beacon VC ซึ่งเป็นบริษัทเงินร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทย ที่ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพมากมายมาแล้วหลายโครงการด้วยกัน ว่าสตาร์ทอัพไทยนั้นเป็นอย่างไรบ้างในช่วงนี้ และโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD ของทางธนาคารกสิกรไทย จะช่วยสตาร์ทอัพของไทยให้เข้มแข็งได้อย่างไร
โลกของสตาร์ทอัพเปลี่ยนไปอย่างมาก
กรรมการผู้จัดการ Beacon VC ได้กล่าวถึงเรื่องของในปี 2022 นี้อาจเป็นปีที่สตาร์ทอัพทั่วโลกจะต้องปรับตัวอย่างมาก เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกซบเซา ที่มาจากผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ ขณะเดียวกันตลาดหุ้นสหรัฐมีความผันผวน รวมถึงสงครามที่รัสเซียได้บุกประเทศยูเครน ทำให้คาดว่าเม็ดเงินลงทุนในสตาร์ทอัพในปี 2022 นี้น่าจะลดลง เนื่องจากนักลงทุนให้ความระมัดระวัง
ทางด้านสตาร์ทอัพของไทยนั้น คุณธนพงษ์ มองว่าอาจเห็นผลกระทบดังกล่าวไม่เท่ากับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสตาร์ทอัพในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในขั้นให้เงินลงทุนเริ่มต้น (Seed) แต่อาจได้เห็นนักลงทุนจากต่างประเทศลดลงบ้าง แต่ในช่วงที่ผ่านมาสตาร์ทอัพไทยในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในไทยได้เปลี่ยนไปหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของการหานักพัฒนาโปรแกรม (Developer) ที่มีการแข่งขันสูงกับบริษัทที่ไม่ใช่สตาร์ทอัพ เนื่องจากบริษัทเหล่านี้กำลังปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัลมากขึ้น ส่งผลทำให้มีการแย่ง Developer คุณธนพงษ์ยังมองว่ารูปแบบตลาดที่เปลี่ยนไป ยังทำให้สตาร์ทอัพไทยจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจอีกด้วย
ความร่วมมือกับ Thailand Research Consortium สนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
คุณธนพงษ์ เล่าถึงทางธนาคารกสิกรไทยนั้นได้เข้าร่วมโครงการ Thailand Research Consortium เป็นปีที่ 3 แล้ว และได้ร่วมมือกับภาคเอกชนอีกหลายบริษัท ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเองก็เป็นหนึ่งในสมาชิกในองค์กรดังกล่าว
ในส่วนประเด็นหัวข้อวิจัยของธนาคารกสิกรไทยที่กำลังทำอยู่นั้นมีหลายเรื่อง หนึ่งในหัวข้อที่ทาง Beacon VC ช่วยดูแลอยู่นั้นคือเรื่องของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสตาร์ทอัพเป็นหลัก ซึ่งในประเทศไทยเองนั้นไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของสตาร์ทอัพหรือ SME ยังคงต้องการการสนับสนุนทั้งในด้านองค์ความรู้ของการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการและวิธีการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
โดยเนื้อหานั้นจะเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลักสูตรแบบ E-Learning ซึ่งผ่านการออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และในระหว่างช่วงการเรียน ยังมีกลุ่ม Mentor ทั้งในและต่างประเทศ เข้ามาช่วยให้คำแนะนำอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยภายใต้ The Stanford Thailand Research Consortium
มารู้จักโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD คร่าวๆ
สำหรับโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD นั้นจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยใช้ Concept Jumpstart your idea through entrepreneurial mindset ผ่านการเรียนรู้ด้วย e-Learning Program และการทำ Project พร้อมทั้งมี Mentor ที่ช่วย Coaching ตลอดโครงการ
คุณธนพงษ์ เล่าว่าโครงการในปีแรกถือว่าลองผิดลองถูกกับทางคนที่สมัครในโครงการ และคนที่อยู่รอดมาถึงตอนสุดท้ายมีอยู่ไม่มาก แต่คุณธนพงษ์ชี้ว่าคนที่อยู่รอดมาได้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพจริงๆ และหลายคนได้สร้างธุรกิจที่อยู่จนถึงทุกวันนี้ ขณะที่โครงการในปีที่ 2 ก็ได้มีการปรับจูนมากขึ้น
เขายังมองว่า ในประเทศไทยเอง ตอนนี้ขาดองค์กรที่จะเข้ามาดูแลเหล่าสตาร์ทอัพในกลุ่ม Early Stage ทำให้ธนาคารกสิกรไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลสตาร์ทอัพกลุ่มนี้ด้วย โดยเป้าหมายของเราคือช่วยสร้างสตาร์ทอัพใหม่ๆ โดยการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นการสร้าง Mindset ที่ดีเพื่อให้บริหารธุรกิจได้ดีขึ้น
ฉะนั้นแล้วในเองจะมีการฝึกฝนอย่างเข้มข้นภายใต้ระยะเวลา 2 เดือน ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนธุรกิจ
หรือหาความต้องการของลูกค้า การวาง Business Model ไปจนถึงเรื่องของ Financial ของธุรกิจ
ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรระดับโลก
นอกจากนี้ ในโครงการยังมีการพูดคุยและได้รับคำแนะนำจาก Mentor และสตาร์ทอัพที่มีชื่อเสียงจากทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงทีมงานจากและ Beacon VC เอง ที่จะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ ซึมซับประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในประเทศไทย รวมถึงได้รับองค์ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้
ดังนั้นแล้วผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้ความรู้อย่างอัดแน่นในการทำธุรกิจรอบด้านอย่างแท้จริง
สิ่งดีๆ ที่เกิดในโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD
ในโครงการที่ผ่านมา 2 ปีแล้วนั้น คุณธนพงษ์ ได้ชี้ให้เห็นว่าสตาร์ทอัพไทยที่เข้าร่วมโครงการนี้จะต้องมีวินัย และระเบียบในการทำงานอย่างไร เนื่องจากคอร์สนี้ให้ความรู้อย่างเต็มเปี่ยมและเข้มข้นมากเมื่อเทียบกับโครงการอื่นๆ ในไทย เช่น ต้องมีความรับผิดชอบในการส่งการบ้านให้ตรงเวลา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้สตาร์ทอัพไทยเห็นว่าสตาร์ทอัพในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จนั้นมีกระบวนการคิด รวมถึงความมีวินัย และความรับผิดชอบอย่างไร
เขายังได้เสริมว่าในปี 2022 นี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกของสตาร์ทอัพ หากสตาร์ทอัพไทยยังอยู่แบบเดิมๆ ก็แล้วอาจไม่เป็นผลดีในระยะยาว เช่น มุมมองที่ว่าสตาร์ทอัพจะต้องเน้นหาลูกค้าเยอะๆ ไว้ก่อน เป็นต้น แต่ปัจจุบันสตาร์ทอัพหลายบริษัทก็เริ่มที่จะคำนึงถึงคิดถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดหรือทำอย่างไรให้ขาดทุนน้อยลง การที่มี Mentor ต่างประเทศเข้ามาช่วยให้ความรู้ แชร์ประสบการณ์ที่เจอก็อาจทำให้สตาร์ทอัพในไทยเปลี่ยนมุมมองได้เช่นกัน
นอกจากการเข้าร่วมโครงการนี้จะมีการเรียนออนไลน์แล้ว ในปีนี้โครงการ KATALYST ก็จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อที่จะให้สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงและรุ่นพี่ในโครงการปีที่ 1-2 และบริษัทที่ Beacon VC ได้ลงทุนมาพบเจอกันด้วย
เราจะเห็นว่าโครงการ KATALYST นั้นเป็นโครงการที่คอยช่วยเหลือสตาร์ทอัพไทยในด้านต่างๆ เพื่อมุ่งหวังให้บริษัทเหล่านี้สามารถโตได้อย่างมั่นคงในอนาคต ขณะเดียวกันทางธนาคารกสิกรไทยเองก็ต้องการสร้างคอมมิวนิตี้ของสตาร์ทอัพไทยเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อต่างๆ ในด้านธุรกิจในอนาคตด้วย
มุมมองจากผู้เข้าร่วมโครงการ KATALYST ครั้งที่ผ่านมา
หลังจากที่เราได้เห็นภาพรวมของโครงการ KATALYST ไปแล้วนั้น คราวนี้เราจะมาดูว่าผู้เข้าร่วมโครงการในปีที่ผ่านมากล่าวถึงประสบการณ์ในการเข้าร่วมโครงการดีๆ แบบนี้อย่างไรบ้าง
คุณธนพงศ์ อินทระ Co-Founder บริษัท TinyEpicBrains ซึ่งทำ QR Code ล่องหน ได้กล่าวว่าที่เข้าร่วมโครงการนี้เพราะว่าต้องการที่จะขยายธุรกิจ และต้องการที่จะขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทแต่ประสบปัญหาว่าจะเข้าถึงลูกค้าเหล่านี้อย่างไร จึงทำให้ทาง TinyEpicBrains เข้าร่วมโครงการ KATALYST
ประสบการณ์ที่ได้รับหลังจากผ่านโครงการนี้ก็คือ ถ้าหากเรารู้ว่าธุรกิจของเราไปในทิศทางนี้ไม่ได้ แล้วจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปอีกทิศทาง เราจะต้องทำอย่างไร จะต้องทดลองกับตลาดอย่างไร นอกจากนี้เรื่องของ Mentor ที่เลือกนั้น สามารถคุยติดต่อได้ตลอดเวลา ปรึกษาได้เสมอ แม้ว่าจะจบโครงการนี้ไปแล้ว รวมถึงเพื่อนๆ ที่ร่วมโครงการ และทีมงาน KATALYST ที่ยังสามารถติดต่อกันได้จนถึงทุกวันนี้
คุณวีร์ สิรสุนทร ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท พรีโมเวิร์ล จำกัด ซึ่งทำ Solution ด้านการตลาดให้กับลูกค้า ได้กล่าวว่าที่เข้าร่วมโครงการ KATALYST เพราะมีไม่บ่อยนักที่หลักสูตรที่เกี่ยวกับสตาร์ทอัพจะมาจากสถาบันการศึกษา การได้เข้าร่วมโครงการนี้ถือว่าได้เรียนรู้ว่าสตาร์ทอัพระดับโลกนั้นเป็นอย่างไร
ประสบการณ์ที่ได้รับคือ การนำองค์ความรู้มาใช้ แม้ว่าจะจบโครงการนี้ แต่ความรู้ที่ได้จากโครงการ เช่น เมื่อบริษัทกำลังจะขึ้นโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ ก็จะมาดูว่าความต้องการของลูกค้าคืออะไร การจัดเรียงลำดับความสำคัญของฟังก์ชั่นโปรแกรมแต่ละเวอร์ชันต้องทำอย่างไร รวมถึงการจัดการแนวทางที่มีระบบมากขึ้น ซึ่งมีประโยชน์มาก
กรรมการผู้จัดการ Beacon VC ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากให้สตาร์ทอัพที่มีแนวคิด หรือมีบริการให้กับลูกค้าในระดับหนึ่งแล้วเข้ามาร่วมโครงการนี้ เนื่องจากหลักสูตรนี้จะช่วยพัฒนาธุรกิจของตัวเองให้ดีขึ้น รวมถึงอยากมาเข้าใจรูปแบบธุรกิจของสตาร์ทอัพในต่างประเทศนั้นเป็นอย่างไร
ท้ายที่สุดแล้วเราจะเห็นว่ามีไม่บ่อยนักที่หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสตาร์ทอัพที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจะมาเปิดสอนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฟรีๆ นอกจากนี้ยังมี Mentor ทั่วโลกรวมถึงของ Beacon VC ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนของทางธนาคารกสิกรไทยนั้นให้คำแนะนำอีกด้วย นอกจากจะเข้าเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายแล้ว เรายังมีเงินรางวัลและสิทธิประโยชน์มูลค่ารวมกว่า 8 แสนบาท ถ้าหากผ่านเข้ารอบในสัปดาห์สุดท้าย
หากสตาร์ทอัพไทยรายใดที่ต้องการจะเพิ่มศักยภาพ อยากที่จะเติบโตเหมือนสตาร์ทอัพระดับโลก สามารถสมัครโครงการนี้ได้ผ่านทาง https://katalyst.kasikornbank.com/th/Pages/startup_launchpad2022.html ซึ่งโครงการจะหมดเขตรับสมัครในวันที่ 31 กรกฏาคมที่จะถึงนี้แล้ว
#KATALYSTbyKBank
#เพื่อนสนิทของชาวสตาร์ทอัพ
#KATALYSTSTARTUPLAUNCHPAD2022