มุมมองเศรษฐกิจไทยโดย KKP Research นั้นมองว่าไทยกำลังพบกับความเสี่ยงของเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น 4 ประเด็น ขณะเดียวกันในระยะยาวไทยก็พบกับปัญหาด้วยเช่นกัน ซึ่งทางออกสำคัญของเศรษฐกิ
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์แวดล้อมด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เปลี่ยนไปอย่างมาก จนอาจเปรียบเทียบได้กับการเข้าไปในอีกจักรวาลคู่ขนาน ซึ่งประกอบไปด้วย
- กระแสโลกาภิวัตน์ที่
กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากปัจจุบันเราจะเห็นว่าหลายประเทศเริ่มนำภาคการผลิต กลับมาผลิตที่ประเทศนั้นๆ หรือใกล้ประเทศตัวเองมากที่สุด แตกต่างกับในอดีตที่การผลิตนั้นประเทศแต่ละแห่งจะผลิตสินค้าที่ดีที่สุด แต่ใช้กลไกลการค้าระหว่างประเทศ - ปัญหาของเงินเฟ้อ ราคาสินค้าและพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก หลายคนได้รับผลกระทบ จากเดิมที่เราอยู่ในโลกอัตราดอกเบี้ยต่ำ ของมีราคาถูกมาโดยตลอด
- ปัจจุบันโลกมีความขัดแย้งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นรัสเซียบุกยูเครน หรือแม้แต่แนนซี่ เปโลซี่ไปเยือนไต้หวัน ที่อาจเพิ่มความขัดแย้งมากขึ้น
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของ KKP Research มองว่าปัจจัยข้างต้นนั้นนับเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจโลกและไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
เขายังกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยกำลังพบความเสี่ยงของเศรษฐกิจระยะสั้นใน 4 ประเด็น ไม่ว่าจะเป็น
- เงินเฟ้อ โดย KKP Research มองว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ได้รับผลกระทบคืออัตราส่วนกำไรที่ลดลง เพราะส่งผ่านต้นทุนให้กับผู้บริโภคไม่ได้
- อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น จากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากต้องการลดผลกระทบของเงินเฟ้อ
- เศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วอาจเข้าสู่สภาวะชะลอตัว ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกาที่เจอปัญหาเงินเฟ้อ จีนเจอปัญหาเศรษฐกิจจากผลของการล็อกดาวน์ ยุโรปเจอปัญหาพลังงาน ญี่ปุ่นก็ยังฟื้นไม่ดี ถ้าหาก 4 ประเทศเจอปัญหา ไทยอาจส่งออกไม่ได้
- ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลทำให้ราคาพลังงานหรือปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น
แต่ปัญหาสำคัญที่ พิพัฒน์ มองนั้นคือเรื่องปัญหาระยะยาว เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้
เขามองว่า ทางออกสำคัญของเศรษฐกิ
สำหรับปีนี้ KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจของไทยค่อยๆ ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ และคาดว่า GDP จะเติบโตได้ 3.3% จากการฟื้นตัวของการบริ