อินเทรนด์ ไม่เว้นวรรค

เป็นเวลากว่าพันปีนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของอารยธรรมสุวรรณภูมิที่กระแส “เห่อของนอก” เกิดขึ้นและตกเทรนด์ไปอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น เห่อแขก เห่อฝรั่ง และเห่อของจีน ดังนั้น มิวเซียมสยาม จึงจัดนิทรรศการชั่วคราว “ปรากฏการณ์อินเทรนด์ไม่เว้นวรรค” เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าไม่ต้องตื่นเต้นกับเทรนด์ของนอกหรือสินค้าเกาหลี เพราะกระแสพวกนี้ฝั่งอยู่ในวัฒนธรรมไทยทุกยุคทุกสมัยอยู่แล้ว และกระบวการความฮิต มีบทสรุปของจุดเริ่มไปจนถึงจุดจบที่คล้ายคลึงกันทั้งนั้น

ภายในงานนิทรรศการชั่นคราวแห่งนี้ แบ่งการจัดแสดงเป็น 2 โซน คือ “โก้” กับ “เก๋” ของโก้ในที่นี้ก็เช่น กระเป๋าแอร์เมส ตัวแทนของแพง แสดงความเป็นไฮโซด้วยสินค้าแบรนด์เนมราคาสูง นาฬิกาพก แก็ดเจ็ตสุดหรูสมัย ร.4 ส่วนของเก๋ ที่น่าจะนำมาขยายใน Positioning เพราะโปรดักต์หรือกระแสเหล่านี้ผสมอยู่ในแวดวงการตลาดในวงกว้างค่อนข้างมา เช่น ความบันเทิงจอตู้ ที่ปี 2517 เกิดกระแสคลั่ง ละครชุด เปา บุ้น จิ้น จนบริษัท สหพัฒนพิบูล นำเอาชื่อ เปา บุ้น จิ้น มาตั้งเป็นชื่อสินค้า ก่อนตัดเหลือแค่คำ ว่า “เปา” โชว์ความขาวสะอาด ซื่อสัตย์ ราคายุติธรรม ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งยุคต่อมา ปี 2520-2525 หนังชุดกำลังภายในจากฮ่องกงก็บุกหน้าจอด้วย 5 พยัคฆ์ทีวีบี ซุปตาร์ของเอเชียในเวลานั้น สินค้าดังก็เช่น กระบี่พลาสติค สนองนี้ดเด็กๆ ที่อยากท่องยุทธภพ พร้อมๆ กับหนังสือบันเทิงฮ่องกง ที่ตอนนี้ก็ต้องเป็นหนังสือที่พูดเรื่องเกาหลี ญี่ปุ่นแทน

พัฒนาการความฮิตทางวัฒนธรรมที่แพร่กระจาย เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาพร้อมกับความเข้มแข็งชองชาติในยุคนั้นๆ ในโลกปัจจุบัน ประเทศที่มีความแข็งแรงทางเศรษฐกิจมักนำเอาวัฒนธรรมของตัวเองพ่วงติดกับสินค้ามาด้วย จึงไม่น่าแปลกใจว่า K-Pop จึงเป็นเทรนด์ ที่วัยรุ่นไทยกำลังคลั่งไคล้ และนักการตลาดหยิบยกเอามาเป็นเครื่องมือทำมาร์เก็ตติ้ง เมื่อซัมซุง แอลจีก็เป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมได้เช่นเดียวกัน อาหารปิ้งย่างสไตล์เกาหลีก็เป็นร้านอาหารที่ห้างสรรพสินค้าเทรนด์ดี้ต้องมีไว้อย่างน้อย 1 ร้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อกระแสทางเศรษฐกิจจากประเทศที่แข็งแรงกว่าเข้ามา